6 ก.ค. 2021 เวลา 00:25 • การศึกษา
10 เรื่องน่ารู้ เพราะโลกเราอยู่ในอวกาศ ตอนที่ 2
1. จักรวาลสว่างกว่าที่เรารู้
ในยามค่ำคืน หากเรามองไปบนท้องฟ้า คงเจอเพียงดวงดาวที่ส่องแสงระยิบระยับ ดุจหิ่งห้อยในความมืด แต่ในความเป็นจริง จักรวาลสว่างไสวกว่านี้มาก และบางทีมันอาจสว่างกว่าที่เรากำลังเข้าใจกันอยู่
ข้อเท็จจริงคือ จักวาลนั้นขยายตัวอยู่ตลอดเวลา แสงจากดาวฤกษ์ที่มีอยู่ทุกทิศทาง ไม่ว่าเราจะหันหน้าไปด้านใด มันจะส่องสว่างเข้ามาทุกด้าน แต่ทว่าเมื่อจักรวาลขยายตัว แสงย่อมเดินทางตามจักรวาลที่กำลังขยาย นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า คลื่นแสง
ดาวฤกษ์บางดวง เคลื่อนที่ห่างออกจากเราไปอย่างรวดเร็ว คลื่นแสงจากดาวฤกษ์จึงถูกยืดออกจนเราไม่สามารถมองเห็นมันได้ด้วยตาเปล่า แต่ถ้าหากว่าเราสามารถมองเห็นได้ คาดว่าท้องฟ้ายามค่ำคืน คงสว่างไสวขึ้นอีกหลายเท่าตัว
2. กฎฟิสิกซ์ ไม่มีในจักรวาล
เรารู้กันดีว่าจักรวาลเกิดจากบิ๊กแบง การระเบิดครั้งแรกที่ใหญ่ที่สุดเมื่อ 13,820 ล้านปีที่แล้ว และจากนั้นทั้งสะสาร อวกาศ และพลังงานก็การขยายตัวออกอย่างรวดเร็ว จากจุดเล็ก ๆ ที่ร้อนระดับมหาศาล จนวัดค่าไม่ได้ บวกกับความหนาแน่น ที่อัดอยู่ภายใต้จุดเล็ก ๆ ซึ่งคาดว่าเล็กกว่าอะตอม
1
เมื่อเวลาผ่านไปจากจุดขนาดเล็กกว่าอะตอม กลายมาเป็น บั๊กส้มโอ บั๊กแตงโม เท่ารถยนต์ เท่าบ้าน และขยายใหญ่ออกไปเรื่อย ๆ จนเป็นจักรวาล แม้แต่ในปัจจุบัน จักรวาลก็ยังขยายตัวออกไปอย่างไม่หยุด เราเรียกสิ่งนี้ว่า ภาวะเอกฐาน
นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงวินาทีแรก แต่เกิดอะไรขึ้นกับ วินาที ที่ 0.0000....000000.1 (เลขศูนย์ 42 ตัว ตามด้วยจุดทศนิยม) ก่อนการระเบิด ซึ่งในเวลานั้น จักรวาลยังคงเล็กมาก และร้อนระดับ 100,000 ล้านองศา รวมถึงหนาแน่นสุด ๆ ในช่วงจังหวะที่ยังไม่มีทั้งกาแลคซี่ ดวงดาว อวกาศ เวลา แรงดึงดูด หรือแม้แต่แสง ก็ยังไม่มีปรากฎขึ้น มันช่างเป็นปริศนาที่ไม่มีกฎฟิสิกซ์ข้อไหนไขออก
1
3. ครั้งหนึ่ง จันทรุปราคาเคยพลิกหน้าประวัติศาสตร์
จันทรุปราคา คือการเรียงตัวของดวงดาวสามดวง อันได้แก่ ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ การเรียงในแนวเดียวกัน ทำให้เงาของโลก ไปทาบอยู่บนดวงจันทร์พอดี เรื่องนี้คงไม่ต้องลงลึกไปกว่านี้
ครั้งหนึ่งราว 412 ปี ก่อนคริสต์ศักราช กองทัพจากเอเธนส์(กรีก) ยกกำลังพลทำศึกกับซีราคิวส์(ซิซิลี) แต่จนแล้วจนรอด ก็เผด็จศึกไม่ได้ จึงถอนตัวกลับที่มั่น ทว่าในคืนที่คิดจะแล่นเรือกลับ ดันมีจันทรุปราคาเกิดขึ้น ด้วยความเชื่อของชาวกรีกโบราณ เชื่อว่าปรากฎการณ์นี้ จะนำมาซึ่งหายะนะ พวกเข้าจึงไม่กล้าแล่นเรือออกทะเลไป
แล้วหายนะก็เกิดขึ้นจริง ๆ เมื่อทหารซิซิลีฉวยโอกาสนี้ ส่งกองเรือเข้าโอบล้อม และตีทัพจากกรีกผู้งมงาย จนพังไม่เป็นท่า และปราชัยไปในที่สุด
1
4. ขอบระบบสุริยะอยู่ตรงไหน
เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวน นักดาราศาสตร์จึงกำหนดหน่วยวัดทางดาราศาสตร์ใหม่ ครั้นจะนับเป็นกิโลเมตร คงต้องใส่เลขศูนย์จนตาลาย จึงเกิดเป็นหน่วยวัดที่เรียกว่า หน่วยดาราศาสตร์ มันคือระยะทางเท่ากับ จากโลกถึงดวงอาทิตย์ หรือ AU วัดเป็นกิโลเมตรได้ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร
นั่นแปลว่า โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 1 AU และดาวเคราะห์ดวงสุดท้ายของระบบสุริยะหรือดาวเนปจูน อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 30 AU ส่วนดาวพลูโต ดาวที่พึ่งถูกลดสถานะ อยู่ห่างจากศูนย์กลางระบบ 50 AU
ยังมียานต์สำรวจของมนุษย์ชื่อ วอยเอเจอร์ 1 ซึ่งทะยานห่างออกไปเรื่อย ๆ นับได้ตอนนี้ก็ประมาณ 130 AU สำหรับเมฆออร์ตที่อยู่บริเวณสุดขอบระบบสุริยะอันมีชั้นก้อนน้ำแข็ง อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกไปประมาณ 63,000 AU
1
5. ขอบจักรวาลอยู่ตรงไหน
สำหรับจักรวาลเราคงต้องเปลี่ยนหน่วยวัดใหม่อีกครั้ง เป็นปีแสง เนื่องจากแสงคือพลังงานที่สามารถคลื่นที่ได้เร็วที่สุด 1 ปีแสง จึงหมายถึงระยะทางที่แสงเดินทางไปถึงในเวลา 1 ปี
สำหรับบริเวณเมฆออร์ต คือระยะ 63,000 AU (หน่วยดาราศาสตร์) หรือเท่ากับ 1 ly (ปีแสง) พร็อกซิมาเซ็นทอรี คือดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด มันอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของเราประมาณ 4.2 ly
บริเวณขอบของกาแลคซี่ทางช้างเผือก อยู่ห่างจากศูนย์กลางระบบสุริยะ 30,000 ly ส่วนกาแลคซี่อันโดรเมดา กาแลคซี่ที่อยู่ใกล้กับกาแลคซี่ทางช้างเผือก อยู่ห่างออกไป 2,900,000 ly สุดท้ายคือขอบของจักรวาลที่เรารู้จักนี้ อยู่ห่างออกไปอีกประมาณ สี่หมื่นหกพันล้านปีแสง
2
6. นักบินอวกาศยุคแรก ไม่ใช่คน
1
เมื่อเราต้องการจะออกสู่อวกาศ แต่เราก็ยังคงกังวลถึงความปลอดภัย ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ จึงต้องส่งสิ่งมีชีวิตอย่างอื่นออกไปก่อน ซึ่งสัตว์ประเภทแรก ที่ถูกส่งออกไป คือแมลงวันผลไม้ ในปี ค.ศ. 1947 พวกมันถูกส่งออกไปด้วยจรวด V-2 ที่ความสูง 109 กม. และเดินทางกลับมาอย่างสวัสดิภาพทุกตัว
2
ถัดมาในปี ค.ศ. 1949 อัลเบิร์ตที่ 2 ลิงวอกจอมซน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็กลายเป็นสัตว์ตัวแรกที่ไม่เสียชีวิตจากการเดินทางในอวกาศ แต่มันกลับตายด้วยสาเหตุจากการลงจอดของยาน
1
ในปี ค.ศ. 1951 สุนัขจรจัดชื่อ เดซิกและไซแกน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มแรก ที่ออกไปท่องอวกาศ แล้วได้กลับมาอย่างปลอดภัย อย่างไรก็ดี ไซแกนตายจากการเดินทางรอบต่อมา
1
กระต่ายชื่อ มาร์ฟูซา กลายเป็นกระต่ายตัวแรกที่ถูกส่งไปพร้อมกับสุนัขอีก 2 ตัว ในปี ค.ศ. 1959 และการเดินทางก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หลังจากทุกอย่างประสบความสำเร็จ ปี ค.ศ. 1961 ลิงแชมแปนซี ชื่อ แฮม ก็ถูกปลดประจำการ มาอาศัยอยู่ในสวนสัตว์แห่งชาติ ในกรุงวอชิงตัน ดีซี
และมนุษย์ก็ได้ทะยานขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก หลังจากที่ใช้บริการจากสัตว์ต่าง ๆ หลายสิบตัว โดยมนุษย์อวกาศคนแรก ชื่อ ยูริ
1
7. นักบินอวกาศ เวลาคันจมูกทำยังไง
ฟังดูอาจเป็นคำถามที่ตลก แต่ในความเป็นจริงมันไม่ตลกเลย วิศวะกรจำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมไว้ สำหรับทุกสิ่ง และสำหรับอาการคันจมูก นักบินสามารถใช้แผ่นเวลโคร หรือแถบตีนตุ๊กแกที่อยู่ในหมวก เพื่อใช้สำหรับเกาอาการคัน
1
นอกจากนี้ชุดอนักบินยังมีฟังชั่นเจ๋ง ๆ อีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็นกระจกด้านหน้าซึ่งฉาบด้วยทอง เพื่อป้องกันแสงจ้าจากดวงอาทิตย์ เครื่องพ่นชนิดกระทัดรัดใช้ในยามฉุกเฉิน หากสายเชื่อมต่อขาด หรืออุบัติเหตุไม่คาดคิดใดๆ นักบินก็จะมีไอพ่นขนาดเล็ก เพื่อพุ่งตัวกลับเข้าหายาน
ถุงมือให้ความร้อนแบบเต็มนิ้ว ให้ความอบอุ่นแก่มือ กระจกติดข้อมือสำหรับใช้ส่องบริเวณที่เอื้อมไม่ถึง ตัวหนังสือกลับด้านบนชุดอวกาศ ใช้ร่วมกันกับกระจกบนข้อมือ เพื่ออ่านค่าต่าง ๆ สายแถบที่คาดช่วงขาของนักบิน ก็ออกแบบมาเพื่อให้ทราบได้ว่า ใครเป็นใคร จะได้ไม่งง อ่ะนะ
2
8 ไดโนเสาร์กับภูเขาไฟบนดวงจันทร์
จากการสำรวจดวงจันทร์ นักวิทยาศาสตร์พบพื้นที่ราบแห่งหนึ่ง ซึ่งแสดงถึงการเคยมีอยู่ของลาวา พื้นที่แถบนั้นมีชื่อเรียกว่า "มาเรีย" นี่จึงเป็นที่มาของทฤษฎีภูเขาไปบนดวงจันทร์ ว่ากันว่า มันต้องเคยมีอยู่จริงแน่ ๆ ในช่วง พันล้านปีที่ผ่านมา
1
อย่างไรก็ดีเมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบพื้นที่ราบเล็ก ๆ บริเวณใหม่อีกหลายแห่ง ที่บ่งบอกถึงการเคยมีอยู่ของภูเขาไฟ บางพื้นที่มันน่าจะพึ่งมอดดับลงไปเมื่อราว 50 - 100 ล้านปีที่แล้วนี่เอง
1
ฉะนั้นเราจึงสามารถสรุปได้ง่าย ๆ ว่า ครั้งหนึ่งในยุคที่โลกเคยเต็มไปด้วยฝูงไดโนเสาร์ หากพวกมันมีกล้องโทรทรรศน์ บางทีพวกมันอาจเคยเห็นภูเขาไฟบนดวงจันทร์ กำลังปะทุก็เป็นได้
1
9 เมฆรสชาติราสป์เบอร์รี่
ห่างออกไปเกือบถึงใจกลางกาแลคซี่ มีกลุ่มเมฆให้แสงสว่างขนาดใหญ่ เมฆที่รวมตัวก่อเป็นดวงดาวเกิดใหม่ ความใหญ่โตของมันมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 150 ปีแสง ฝุ่นละอองดวงดาวและก๊าซเหล่านั้นถูกเรียกว่า แซจิตเทเรียสบี2
นักวิทยาศาสตร์พยายามประเมิณคุณลักษณของมัน ก็พบว่าก๊าซและฝุ่นละอองเหล่านั้น มักจะทำปฎิกิริยากัน จนกลายเป็นโมเลกุลชนิดต่าง ๆ มากมาย โมเลกุลที่น่าสนใจที่สุดคือ เอธิลฟอร์เมต บนโลกเรารู้จักโมเลกุลชนิดนี้ดี เพราะมันคือสารที่ทำให้ผลราสป์เบอร์รี่ มีรสชาติอย่างที่เราคุ้นเคย
แต่ช้าก่อน อย่าพึ่งนึกอยากลิ้มลองรสราสป์เบอร์รี่เหล่านี้เลย เพราะเหล่าโมเลกุลที่หลากหลายนั้น ยังมีสะสารที่อาจคร่าชีวิตมนุษย์อย่างเราในชั่วพริบตา อย่างน้อย ๆ ก็ โพรพิลไซยาไนด์ ชนิดหนึ่งล่ะ ที่ไม่ควรไปข้องเกี่ยวกับมัน
1
10 8วัน บนดวงจันทร์กับ 21วัน บนโลกมนุษย์
หลังจากนักบินอวกาศเดินทางกลับสู่พื้นโลก พวกเขาจะยังไม่ได้รับสิทธิเสรีภาพ นั่นก็เพราะกระบวนการป้องกันเชื้อโรคจากดวงจันทร์ ซึ่งอาจติดมากับนักบิน สิ่งนี้เองที่ทำให้ นักบินอวกาศในโครงการ อพอลโล่ 11 ต้องถูกจองจำเป็นเวลา 21 วัน
ไม่นานหลังจากแคปซูลของนักบินตกลงในมหาสมุทรแปซิฟิก พวกเขาก็ถูกพาตัวไปยังเรือฟื้นฟูในทันที จากนั้นนักบินจะต้องขึ้นเรือ ทั้งที่ร่างกายยังคงสวมชุดนักบินอวกาศ ไม่ต่างจากตอนที่อยู่บนดวงจันทร์
บนเรือมีตู้ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อการนี้ มีการตรวจเชื้ออย่างเข้มงวด ห้ามนำอะไรเข้า หรือออกโดยไม่ผ่านการตรวจเชื้อ แม้แต่การเข้าพบประธานาธิปดี พวกเขาก็ยังคงต้องอยู่แต่ภายในตู้
1
ตู้กักกันนี้ถูกขนส่งผ่านเครื่องบิน ไปยังสถานที่ทดลองพิเศษในรัฐเท็กซัส ซึ่งหากรวมเวลาทั้งหมดที่ต้องอยู่ในตู้ก็คือ 21 วัน โดยนักบินใช้เวลาอยู่ในห้วงอวกาศเพียง 8 วัน หลังจากนั้นหลายปี บัซซ์ ออลดริน เปิดเผยว่า เขาเห็นขบวนมดอยู่ในตู้กักกันชนิดพิเศษที่เขาอาศัยอยู่ด้วย ดังนั้นหากจะมีเชื้อโรคหลุดลอดออกมา คาดว่าคงเกิดขึ้นไปแล้ว
1
อ้างอิง
หนังสือ 100 เรื่องต้องรู้ก่อนโต อวกาศ
กดไลค์ถ้าถูกใจ
แชร์หากเห็นว่ามีประโยชน์
คอมเมนท์เพื่อแนะนำติชม
โฆษณา