10 ก.ค. 2021 เวลา 12:38 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Leverage Ratio กับการลงทุน
สถานการณ์ช่วงนี้ จะเห็นได้ว่าอัตราการก่อหนี้ของคนไทยมีจำนวนมากขึ้นๆ ยิ่งมีโควิดมาเป็นตัวเร่ง ยิ่งทำให้ความสามารถในการทำมาหากินของประชาชนรวมถึงผู้ประกอบการทั้งรายเล็กรายใหญ่ต่างก็ฝืดหนักขึ้นไปอีก และเกิดการก่อหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก แล้ว Leverage Ratio มีความเกี่ยวข้องยังไง
Leverage Ratio หรือ อัตราส่วนวัดภาระหนี้ อัตราส่วนนี้จะแสดงถึงโครงสร้างเงินทุนของธุรกิจว่าประกอบไปด้วยหนี้สินและส่วนของเจ้าของทุนเป็นเท่าไร
ซึ่งถ้าหากสัดส่วนหนี้สินมีสูงเท่าไร ก็แสดงว่า ธุรกิจมีความเสี่ยงสูงในการดำเนินธุรกิจและความสามารถในการกู้ยืมเงินใหม่เพื่อรักษาสภาพคล่องจะต่ำ
โอกาสที่ธุรกิจจะเกิดปัญหาถูกฟ้องล้มละลายก็อาจจะเป็นไปได้ หากไม่สามารถจัดหาเงินทุนหมุนเวียนหรือเพิ่มทุนในส่วนของเจ้าของได้
จุดเริ่มต้นของ Leverage ก็คือการที่เราอยากจะลงทุนซื้ออะไรสักอย่างเพื่อทำธุรกิจบางอย่าง แต่ไม่มีเงินทุนเพียงพอจึงต้องไปกู้ยืมเงินมา
ต้นทุนของการกู้ยืมเงินก็คือดอกเบี้ยเงินกู้ ถ้าเงินที่เรากู้มานำไปลงทุนทำธุรกิจ หรือไปซื้ออะไรที่ให้กำไรมากกว่าดอกเบี้ยที่กู้ไปเรื่อยๆ ในระยะยาว คนที่กู้มาก็จะร่ำรวยขึ้นเรื่อยๆ จากกำไรที่เหลือจากการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้
1
ส่วนการกู้เงินที่ทำให้เราจนลง คือการกู้เงินไปใช้ในสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และกำไร หรือกำไรน้อยกว่าดอกเบี้ยที่จ่ายออกไป
เช่น การที่เรากู้เงินธนาคารไปผ่อนรถยนต์ส่วนตัว เพราะเราจ่ายดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ ในขณะที่รถยนต์ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ แถมมูลค่ารถยนต์เองก็เสื่อมลงไปเรื่อยๆ
 
💥 การใช้ Leverage จึงควรกระทำควบคู่กับการบริหารจัดการที่ดีอย่างระมัดระวัง จะมีประโยชน์อย่างมากและสามารถสร้างผลกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ
2
ตัวอย่าง
สมมุติ คํานวนค่า Leverage Ratio ได้ค่าเท่ากับ 21.29 เท่า ต่อ 1
แปลความหมายจากตัวเลขที่คำนวณได้ คือ ถ้าเราลงทุนโดยใช้เงินตัวเอง 1 ส่วน และกู้ยืมมาอีก 21.29 ส่วน กิจการจะต้องเป็นกิจการที่มีความเสี่ยงสูงมาก และผลตอบแทนที่สูงมากเช่นกันค่ะ
กรณีนักลงทุนที่ซื้อหุ้นธนาคาร ก็เป็นการลงทุนกับธุรกิจที่ใช้ Leverage อย่างมหาศาลควบคู่กับการบริหารจัดการที่ดี
เมื่อธนาคารกู้เงินจากผู้ฝากเงินและนำเงินกู้ที่ได้ไปปล่อยกู้ให้กับประชาชนหรือธุรกิจต่างๆ โดยได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่ามาจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝากเงิน และเหลือเป็นกำไรให้กับผู้ถือหุ้นนั่นเอง
ตัวเลขตรงนี้สะท้อนผ่านงบการเงินของธนาคารเองที่มีค่า Leverage สูงถึง 7-8 เท่า (ดูจากค่า D/E ratio) การทำธุรกิจ Leverage ขนาดนี้จึงไม่ง่าย จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ดีด้วยความระมัดระวังควบคู่กันไปค่ะ
1
นักลงทุนเองก็สามารถใช้ Leverage ในการลงทุนได้ แต่ Leverage ที่ดีต้องควบคู่กับการบริหารจัดการที่ดี เพราะการใช้ Leverage ที่ไม่ได้บริหารดีๆ จะสร้างความเสียหายได้อย่างรุนแรง
1
เช่น การซื้อหุ้นผ่านบัญชี Credit Balance ก็เป็น Leverage อย่างหนึ่ง ถ้านักลงทุนที่บริหารจัดการดีๆ กู้เงินมาซื้อหุ้นในสภาวะตลาดที่เอื้ออำนวย ลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดีสนับสนุนราคาหุ้น กำหนดจุดคัทลอท พฤติกรรมการลงทุนแบบนี้เรียกว่าการใช้ Leverage ที่ดี
1
ในทางกลับกันถ้านักลงทุนซื้อหุ้นตามข่าวลือ ไม่ยอมคัทลอท และไม่ติดตามพื้นฐานหุ้นและสภาวะตลาดเลย นิสัยการลงทุนแบบนี้การใช้ Leverage จะอันตรายมาก เพราะการลงทุนด้วย Leverage คือการลงทุนที่เกินตัวเรา ถ้าลงทุนได้กำไรก็จะกำไรมาก แต่ถ้าผิดทางก็จะขาดทุนมากเช่นเดียวกัน
1
สำหรับตลาดหุ้นไทยเราเครื่องมือในการ Leverage ที่ได้รับความนิยมก็คือตราสารอนุพันธ์ ได้แก่
-Derivative Warrant (DW)
-สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures)
โดยอัตรา Leverage ของเครื่องมือเหล่านี้เรียกอีกอย่างว่า อัตราทด (Effective Gearing) ด้วยกลไกการซื้อขายและลักษณะของตราสารเองทำให้เครื่องมือพวกนี้จะมี Leverage ผ่านราคาที่มันเคลื่อนในกระดาน โดยไม่ได้เป็นการ Leverage แบบที่ไปกู้ยืมเงินกันโดยตรง
1
ตัวอย่างเช่น DW ที่อ้างอิงกับหุ้น AA มีอัตราทด 3 เท่า เมื่อราคาหุ้น AA ขยับ 1% ราคา DW ตัวนี้ก็จะขยับ 3 เท่าหรือ 3% นักลงทุนที่ลงทุนบน DW ตัวนี้ก็เสมือนใช้ Leverage อยู่ 3 เท่า เป็นต้น
เครื่องมือที่ยกตัวอย่างมานี้เหมาะสำหรับนักลงทุนในกลุ่มที่มีนิสัยการใช้ Leverage ที่ถูกต้อง แต่จะไม่เหมาะกับนักลงทุนอีกกลุ่มที่ยังไม่พร้อมและขาดวินัยในการใช้ Leverage ที่ดี
 
💦.....ทั้งนี้ Leverage เป็นได้ทั้งโอกาสและความเสี่ยง เป็นสิ่งที่นักธุรกิจหรือนักลงทุนสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง จะเลือกใช้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของบุคคลมากกว่าค่ะ
2
Cr.stock2morrow
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
สามารถเยี่ยมชมเราผ่านช่องทางอื่นตามลิ้งข้างล่างนี้ค่ะ :
ขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มีให้กันเสมอค่ะ
🌷🌷❤❤🙏🙏🙏🙏❤❤🌷🌷

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา