7 ก.ค. 2021 เวลา 12:42 • หนังสือ
วันนี้ผมจะมารีวิวและสรุปหนังสือที่มีชื่อว่า
‘Resilience ยืนหยัดได้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น’
หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณคิมจูฮวัน
อาจารย์คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยยอนเช
แปลโดยคุณอาสยา อภิชนางกูร
สรุปโดยย่อ
หนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับการที่เราจะสามารถเอาชนะอุปสรรคได้อย่างเหมาะสม
ผ่านการฝึกทักษะที่จะมีบอกในเล่ม
2
ความรู้สึกหลังอ่าน
เป็นหนังสือที่ผมชอบเลยนะ
มีการแบ่งแต่ละพาร์ทดีมาก ไม่เชิงว่าบอกให้ทำอะไรทันที
แต่ยืนยันด้วยงานวิจัยก่อนบอกว่า จะเพิ่มพลังการฟื้นตัวได้เป็นอย่างไร
แม้คนเขียนจะเป็นเกาหลี แต่สิ่งที่อาจารย์คิมจูฮวันได้พูดบางส่วน เหมือนกับในไทยเลยครับ
เช่น การเรียนที่เคร่งเครียดของคนเกาหลีที่เหมือนกับไทยครับ
6
ผมชอบที่หนังสือเริ่มด้วยการวัดค่าความฟื้นตัว(RQ)
อาจารย์คิมจูฮวันบอกว่าสามารถฝึกได้
มีการยกตัวอย่างมากมายในเล่มครับ
และจากการลองอ่านทั้งเล่มดู มันน่าที่จะลองไปทำตามมากครับ
มันอย่างที่ผมสงสัยว่าทำแล้วดีขึ้นก็ยืนยันได้เหมือนกัน
เป็น 1 ในหนังสือที่แนะนำในปีนี้ของผมเลยครับ
เหมาะกับสถานการณ์ในช่วงนี้เลยครับ
เล่มไม่หนา 220 หน้า
2
ลองไปหาอ่านกันได้ครับ
Resilience
คำๆนี้ในความหมายของคุณคิมจูฮวันนั้น
ให้ความหมายว่า 'พลังแห่งการฟื้นตัว'
หรือก็คือ ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคที่เผชิญ
พร้อมรับมืออย่างยืดหยุ่นและเหมาะสม
มีค่าการประเมินพลังการฟื้นตัวด้วยนะครับ
ใครอยากให้ผมนำมาลงคอมเมนท์บอกกันได้ครับ
พลังแห่งการฟื้นตัวนี้แท้จริงแล้วมันคือทักษะ ซี่งหมายความว่ามันฝึกได้นั่นเองครับ
7
ทักษะการปรับตัว
เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของพลังแห่งการฟื้นตัว
และรากฐานของทักษะการปรับตัวนี้คือ
1 ทักษะการปรับอารมณ์
มันคือการที่เราข่มอารมณ์ลบและกระตุ้นอารมณ์บวกของเรา
เมื่อเรามีอารมณ์บวก เราจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้มากกว่าเดิมครับ
5
2 ยับยั้งชั่งใจ
คือการสร้างแรงจูงใจให้ตัวเองและปรับตัวเองได้
แต่ความยับยั้งชั่งใจนี้ต้องมีความสมดุลกับอารมณ์เชิงบวก
และความมีอิสระในตนเองด้วยครับ(หรือคือทำตามที่ตนเองต้องการ)
เมื่อทำได้ความสุขจะมาหาเราครับ
3
3 ทักษะการวิเคราะห์ปัญหา
เป็นความสามารถในการมองปัญหาเชิงบวกและ
หาสาเหตุของปัญหาได้ถูกต้อง
และการวิเคราะห์ปัญหานี้มีผลมาจากการเล่าเรื่องใส่หัวของเราครับ
คนที่มีพลังการฟื้นตัวเยอะและน้อยจะรับเรื่องใส่หัวไม่เหมือนกัน
ดังนั้นเราจึงควรรับแบบนี้ครับ เพื่อที่จะสร้างอารมณ์เชิงบวก
โดยแบ่งออกเป็นมิติ 3 ด้านแยกเป็นเรื่องดีกับเรื่องแย่
3
ตอนเกิดเรื่องไม่ดี
ตัวอย่างเหตุการณ์ ทำผิดพลาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรมองเป็น
ความไม่ส่วนตัว เช่น ไม่ใช่เราคนเดียวที่ผิดพลาด คนอื่นก็ผิดพลาดได้เหมือนกัน
ความไม่ถาวร เช่น เราไม่ได้ผิดพลาดไปตลอด ครั้งนี้เราเพียงดวงไม่ดี
ความเฉพาะ เช่น ทำไมครั้งนี้เราถึงผิดพลาด
2
ตอนเกิดเรื่องดี
ตัวอย่างเหตุการณ์ ได้รับคัดเลือกเข้าทำงาน ควรมองเป็น
ความส่วนตัว เช่น เขาเลือกฉัน ค่อยภูมิใจกับที่พยายามมาหน่อย
ความถาวร เช่น เรื่องที่ฉันตั้งใจจริงๆจะทำได้ดีเสมอ
ความทั่วไป เช่น ทุกเรื่องในชีวิตฉันกำลังเป็นไปด้วยดี
3
ทักษะมนุษยสัมพันธ์
ประกอบด้วยรากฐานของทักษะนี้ 3 อย่าง
1 ทักษะการสื่อสาร
เป็นทักษะที่เกี่ยวกับการโน้มน้าวและมีสัมพันธภาพที่ดี
โดยสิ่งที่ควรทำตามคือ
+ เข้าใจมิติด้านเนื้อหาและความสัมพันธ์
พูดง่ายๆคือ การสื่อสารให้ถูกต้องตามที่เราต้องการ
และเนื้อหาการพูดนั้นต้องเหมาะสมกับระดับความสัมพันธ์ด้วย
เช่น เวลาพูดกับเพื่อนหรืออาจารย์ ก็ใช้คำพูดไม่เหมือนกันนั่นเองครับ
+ มั่นใจและไม่กังวลถึงคนอื่น
เพียงแค่เราแสดงตัวตนที่เป็นเราออกมาก็พอครับ
+ เหมาะสมในการยกตนและตน
โดยเราจะต้องหาความสมดุลระหว่าง
การยกตน(แสร้งว่าเก่งเกินจริง) และการลดตน(การถ่อมตน) นั่นเองครับ
3
ทักษะการเข้าใจผู้อื่น
ทำได้ด้วยการตั้งใจฟังและมีอีกอย่างที่ผมพึ่งรู้เลยคือการยิ้มครับ
เพราะการยิ้มจะเพิ่มทักษะอารมณ์เชิงบวก
เราจะมองคนอื่นในแง่ดีและเข้าใจผู้อื่นมากขึ้นครับ
มีวิธีฝึกยิ้มซึ่งผมคิดว่าโอเคเลยนะครับ
คือการนำปากกามาคาบโดยที่ไม่ให้โดนริมฝีปากนะครับ
จะสังเกตว่ามุมปากเราจะยกขึ้นนั่นเองครับ
2
การขยายตัวตน
เป็นการรวมอีกฝ่ายเข้ามาในมโนภาพเรา
โดยจะมีความเคารพ เมตตากรุณาผู้อื่น ผ่านความสัมพันธ์ของบุคลลครับ
ทัศนคติเชิงบวก
การมีทัศนคติเชิงบวกนั้นจะช่วยพัฒนาใน 2 ทักษะที่กล่าวมาในหน้าก่อนหน้า
คือทักษะการปรับตัวและทักษะมนุษยสัมพันธ์ครับ
โดยจะแยกออกเป็น
1 พื้นฐานความสุข
เมื่อเรามีความสุขมากๆสุดท้ายแล้ว ความสุขนั้นจะหายไป
เราจึงควรเพิ่มฐานความสุขของเรามากขึ้น
จากการมองโลกในแง่บวกครับ ในช่วงแรกๆจะยากครับ แต่เมื่อฝึกฝนไปเรื่อยๆจะทำได้ดีขึ้นแน่นอนครับ
2
2 มองจุดแข็งทางบวก
พัฒนาจุดแข็งของเรา ผ่านการค้นพบและแสดงออกมาเรื่อยๆ
วิธีนี้จะเป็นวิธีฝึกที่แน่นอนและเร็วที่สุดในการค้นหาความสุขที่แท้จริงครับ
2
มีนิสัย 2 อย่างที่ช่วยเพิ่มพลังการฟื้นตัวคือ
1 ฝึกการขอบคุณ ซึ่งผมคิดว่าง่ายกว่าวิธีที่ 2 อยู่ครับ
เพราะคุณคิมจูฮวันบอกว่า เพียงเราเขียนขอบคุณเรื่องอะไรก้ได้ในวันนั้นวันละ 5 เรื่องก่อนนอน
เท่านี้ก็ช่วยได้แล้วครับ เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ
มันจะช่วยให้เรามองหาอารมณืเชิงบวกในแต่ละวันได้ขึ้นครับ เราจะมีความสุขมากขึ้นครับ
3
2 ออกกำลังกาย
มันดีแน่นอนอยู่แล้วครับ มันจะทำให้เรามีสมาธิ
สร้างอารมณ์เชิงบวกและทำให้คนอื่นประทับใจได้ด้วยครับ
3
ขอบคุณสำหรับการรับชมครับ
โฆษณา