10 ก.ค. 2021 เวลา 03:45 • สุขภาพ
เหนื่อยใจกันไหมคะคนไทย !! เหนื่อยใจไหมที่ต้องตื่นมาในแต่ละวันต้องพบเจอยอดจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน และความไร้ประสิทธิภาพกับการบริหารจัดการโรคระบาดและการจัดการหาวัคซีนของการบริหารงานของรัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ พล.อ ประยุทธ จันทร์โอชา
Learning Never Ends
ในวันที่ทั้งโลกเค้าต่างรู้กันหมดแล้วนะคะว่า " วัคซีนประเภทเชื้อตาย " มีดี " แต่อาจจะดีไม่พอ " เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของวัคซีนประเภท mRNA
1
ในวันที่คนไทยเกือบ 10 ล้านคน ต่างแสดงความต้องการที่จะเลิกฝันลมๆแล้งๆ ฝากความหวังในการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดไว้กับรัฐบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะควักเงินในกระเป๋าของตนเองในการจ่ายค่าวัคซีน ทั้งๆที่สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47 ก็บอกไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า
" บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับกการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย "
แต่ถึงอย่างนั้นเถอะ คนไทยใจดีมากๆ ยอมและพร้อมที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายตรงนี้เอง เพื่อให้ได้มาซึ่งวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการรับมือกับการกลายพันธุ์ของโควิด 19 อันจะนำไปสู่การสร้าง herd immunity หรือภูมิคุ้มกันหมู่ในที่สุดค่ะ
ไม่ใช่เพราะว่าเราร่ำรวย หรือว่าเงินเหลือนะคะแต่เป็นเพราะว่าเราต้องการกลับมาทำมาหากินและกลับไปใช้ชีวิตในแบบที่ควรจะเป็นได้แล้ว ก่อนที่ทุกอย่างมันจะล่มสลายไปมากกว่านี้ แต่ก็ใช่ว่าเมื่อเรามีเงินแล้ว เราจะสามารถฝ่าด่านอันพิศวงของรัฐบาลไทยไปได้ในการเข้าถึงวัคซีนที่เราต้องการ
freepik
จนตอนนี้หลายคนก็ตั้งคำถามกันแล้วนะคะว่า " บนโลกใบนี้มันมีประเทศไหนที่ประชาชนหรือภาคเอกชนต้องควักเงินในกระเป๋าจ่ายค่าวัคซีนเอง " หรือว่ามันจะมีแแค่คนในประเทศนี้ประเทศเดียว
คำตอบคือ มันมีค่ะ และมันมีทั้งหมด 6 ประเทศ ซึ่งถ้ารวมกับประเทศไทยแล้วจะเป็น 7 ประเทศ ซึ่ง 6 ประเทศนี้สามารถทำได้แบบในประเทศไทยเลยและมีจุดร่วมที่น่าสนใจมากๆ คล้ายคลึงกันสุดๆ แต่จุดร่วมนั้นคืออะไร ? และมีส่วนร่วมที่คล้ายคลึงกับอีก 6 ประเทศแบบไหน และ 6 ประเทศนี้เค้ามีข้อจำกัดในการซื้อวัคซีนแบบเราหรือไม่ ? มาดูกันเลยค่ะ
โลกใบนี้มีประเทศอยู่เกือบ 200 ประเทศ มีแค่เรามั้ยที่ตกอยู่ในสภาพแบบนี้ อย่างที่บอกไปตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้วนะคะว่า มันมีอีก 6 ประเทศ รวมไทยก็จะเป็น 7 ประเทศด้วยกัน มีประเทศอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ
พอดีไปเจอข้อมูลที่น่าสนใจมากๆ จาก Market Research Telecast เค้าได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ซึ่งมันน่าสนใจมากๆค่ะ ว่า อีก 6 ประเทศที่ว่าเนี่ย ที่สามารถซื้อวัคซีนเองได้โดยที่ไม่ต้องการพึ่งการจัดสรรของรัฐ ประกอบไปด้วยประเทศ
อินโดนีเซีย , ปากีสถาน , อินเดีย , ฮอนดูรัส , โคลอมเบีย และ เม็กซิโก
นี่คือกลุ่ม 6 ประเทศ ที่มีลักษณะความคล้ายคลึงกับประเทศไทยมากๆในบางมิติ ซึ่งเดี๋ยวในตอนท้ายแอดจะสรุปให้ฟังนะคะว่า ว่าเรามีจุดร่วมหรือความคล้ายคลึงกันยังไงบ้าง ?
freepik
คือจริงๆแล้วประเทศเหล่านี้ ตอนแรกที่รัฐบาลของเค้าได้รับอนุญาตให้ ประชาชนหรือว่าเอกชนสามารถซื้อวัคซีนเองได้ ความตั้งใจแรกก็คือ จะให้มาช่วยรัฐในการกระจายวัคซีนให้มันเร็วขึ้น เพราะการทำงานของภาครัฐนั้นมันล่าช้าเหลือเกิน
แต่ปรากฏว่ามันก็สร้างปัญหาต่างๆตามมามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการบริหารจัดการและการนำไปสู่สถานการณ์ของความเหลื่อมล้ำนั้น มันทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากบางประเทศเมื่อเสนอราคาให้เอกชนหรือว่าประชาชนมาซื้อได้แล้ว กลับกลายเป็นราคาที่สูงมากๆ ทำให้เรื่องของความเหลื่อมล้ำนั้นยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นไปเมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนการมีโควิด 19
ทีนี้ 6 ประเทศที่แอดจะพูดถึงนี้ แอดขอเริ่มที่ประเทศนี้ก่อนค่ะ คือ
อินโดนีเซีย
freepik
ประเทศนี้ต้องบอกเลยว่าน่าสนใจมากๆ เพราะว่าเอกชนซื้อ แต่ประชาชนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อวัคซีน ประเทศอินโดนีเซียมาจากบทสัมภาษณ์ที่น่าสนใจ เค้ามีการตีพิมพ์กับสื่อท้องถิ่น คนที่ให้สัมภาษณ์ไว้เป็นเอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศ อาร์เจนตินา มีชื่อว่า Niniek Kun Naryatie
Niniek เค้าได้บอกไว้ว่า รัฐบาลของประเทศที่มีประชากรอันดับ 4 ของโลก อันดับ 1 อาเซียน อย่างอินโดนีเซียเนี่ย เขาต้องการมีเป้าหมายในการฉีดวัคซีนให้คลอบคลุมประชากรทั้งหมด 276 ล้านคน ต้องการฉีดให้ได้ทั้งสิ้น 70% ภายในเดือนมีนาคม 2565 นั่นคืออัตราที่สูงมาก เพราะคิดเป็นจำนวนประชากรมากถึง 190 ล้านคนค่ะ
ปรากฏว่าเป้าหมายที่มากกว่า 190 ล้านคน ที่ตั้งไว้แบบนี้ ทำให้ผู้นำของอินเดียอย่าง Joko Widodo มีการเปิดทางให้เอกชนสามารถถือครองและนำเข้าวัคซีนที่ไม่ได้อยู่ในกรอบของการจัดสรรวัคซีนของทางรัฐบาลอินโดนีเซียได้
ย้ำด้วยว่า " เอกชนไม่มีสิทธิขายวัคซีนนำเข้าเหล่านี้ให้กับสาธารณะ " สิ่งนี้เป็นการย้ำเตือนว่าประชาชนในประเทศอินโดนีเซียไม่จำเป็นต้องเสียเงินแม้แต่บาทเดียวในการซื้อวัคซีนที่ประชาชนต้องการ แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในรายชื่อของการจัดสรรของทางภาครัฐ แม้ว่าจะเป็นการจัดหาของเอกชนก็ตาม แต่ท้ายที่สุดแล้วประชาชนคนที่จะได้ฉีด " ไม่ต้องเสียเงิน "
bbc.com
รัฐบาลอินโดนีเซียต้องบอกว่าในตอนนี้ ภาพรวมของเค้าในการจัดการบริหารวัคซีน 68.5 ล้านโดส เป็นการสั่งซื้อวัคซีน Sinovac จากประเทศจีน อันนี้คล้ายๆกับบ้านเรา ซึ่งจำนวนสูงมาก และทำให้เกิดปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงประชาชนคนทั่วไปที่ฉีด Sinovac ครบ 2 เข็มแล้วในตอนนี้ ทำให้ระบบกำลังจะกลับมาพังอีกครั้งในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยว ที่ดูเป็นความหวังอย่าง บาหลี ของอินโดนีเซีย ประกาศล็อคดาวน์อีกครั้งแล้ว
การฉีด Sinovac มากขนาดนี้ 68.5 ล้านโดสที่มีการสั่งซื้อนี้ถือว่าเยอะจริงๆ ขณะที่ Shinopham ที่หลายคนบอกว่าประสิทธิภาพนั้นสูงกว่าในประเทศจีนก็มีการใช้มากกว่า Sinovac มีการสั่งซื้อ Shinopham ในอินโดนีเซียเพียง 1 ล้านโดสเท่านั้นค่ะ น้อยมากๆ แล้วยังมีอีก 6.4 ล้านโดส อันนี้จะมาจาก Covax เค้าสั่ง Astrazeneca จะเป็นการได้รับจากโครงการ Covax เป็นโครงการที่ประเทศไทยเป็นเพียง 1 ประเทศในอาเซียนที่เลือกจะไม่เข้าร่วม แม้กระทั่งในปัจจุบันก็ยังไม่เข้าร่วมค่ะ
bangkoknews.com
ขณะที่ประมาณการตัวเลขซื้อขายและราคาที่เอกชนต้องจ่าย ราคาของ Astrazeneca 1 โดสจะอยู่ที่ 160 บาท เหมือนจะถูกกว่านิดนึงนะคะ ประมาณ 20-30 บาท Novavax 1 โดส ราคาจะอยู่ที่ 225 บาท Sinovac 427 บาท Pfizer 642 บาท ขณะที่ Shinopham อยู่ที่ 706 บาท และในขณะที่ Moderna อันนี้จะราคาสูงที่สุดในอัตราของการประเมินที่อินโดนีเซีย ก็คือ 803 บาท อันนี้ต่อ 1 โดสเท่านั้นค่ะ
แต่ข้อจำกัดสำคัญที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซีย คือ เอกชนสามารถนำเข้าวัคซีนที่รัฐบาลอนุญาตได้เท่านั้น และต้องหลังจากที่รัฐบาลเสร็จสิ้นการแจกจ่ายวัคซีนให้กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดแล้วเท่านั้น อันนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลของอินโดนีเซียเค้าได้กำหนด
ซึ่งหลังจากที่มีการเปิดออกมาแบบนี้ เปิดโอกกาสให้เอกชนสามารถจัดหาซื้อวัคซีนเองได้ ปรากฏว่ามีบริษัทเอกชนสนใจมากถึง 22,000 บริษัทที่ลงทะเบียน ในโครงการนี้ซึ่งจะครอบคลุมคิดเป็นจำนวนคน พนักงานและครอบครัวของพนักงานที่จะได้รับการฉีดจากการซื้อเองของเอกชน ประมาณ 7 ล้านคน ซึ่งดูเหมือนจะเยอะแต่ถ้าเทียบกับประชากรทั้งหมด 276 ล้านคน ก็ถือว่าไม่ได้เยอะอะไรมากมาย
bbc.com
สถิติที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา เขาสามารถฉีดวัคซีนไปได้แล้วถึง 45.5 ล้านโดส ประชากร 276 ล้านคน ตอนนี้มีคนที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม เพียงแค่ 13.9 ล้านคนเท่านั้น
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อจำนวนประชากรทั้งหมด คนที่ได้รับวัคซีนครบทั้งหมด 2 เข็ม มีเพียงแค่ 5% เท่านั้นค่ะ ขณะที่ Deal ที่ทำให้คนไทยต้องตกตะลึงก็คือ รัฐบาลอินโดนีเซียประสบความสำเร็จทำ Deal ข้อตกลงสั่งซื้อวัคซีน Pfizer ทั้งหมด 50 ล้านโดส ได้สำเร็จค่ะ ใน 50 ล้านโดสนี้เค้าจะทยอยเข้ามาเริ่มต้นก็คือ เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป แต่ละเดือนจะมี Pfizer เข้ามาสู่อินโดนีเซีย ประมาณ 7.5 - 12 ล้านโดสด้วยกันค่ะ
และทางกระทรวงสาธารณสุขของอินเดีย ก็ย้ำด้วยนะคะว่า ความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลมาจากการเจรจาแล้วก็สั่งซื้อโดยตรงจากรัฐบาลของอินโดนีเซีย 50 ล้านโดส Pfizer 25 ล้านคน ถือว่าเป็นจำนวนที่มากพอสมควร ซึ่งในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีการสั่งซื้อเพิ่มอีกนะคะ
ประเทศ อินเดีย
freepik
ประเทศอินเดีย มีนโยบายที่ค่อนข้างเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาพอสมควรตามสถานการณ์ คือ ย้อนไปสมัยก่อนที่อินเดียเค้าจะเจอกับวิกฤติจากการติดเชื้อรายวันมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ทะลุ 4 แสนคนต่อวัน
ก่อนหน้านั้นถือว่าเป็นประเทศที่มีสถานการณ์ที่ดีมากๆ รัฐบาลหรือผู้นำของอินเดีย คือ Narendra Damodardas สามารถที่จะผลิตวัคซีนและบริจาควัคซีนไปยัง 95 ประเทศทั่วโลกอีกด้วย คิดเป็นจำนวนโดสก็คือ 66 ล้านโดสเลยทีเดียวค่ะ
แถมประเทศอินเดียเนี่ย เค้ายังเป็นฐานการผลิตวัคซีนที่สำคัญของโลกอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการผลิตวัคซีนโปลิโอ คอตีบ และอีกหลายๆโรค อันนี้สามารถที่จะผลิตได้สูงสุดเป็นอันดับต้นๆของโลกมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตามพอแผนมีปัญหาขึ้นมา รัฐบาลกลางก็เลยมีการประกาศให้รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐต่างๆสามารถที่จะสั่งซื้อวัคซีนเองได้ จะเป็นการสั่งซื้อวัคซีนจากฐานการผลิตที่อยู่ในประเทศอินเดียเองก็ได้ หรือจะสั่งวัคซีนมาจากต่างประเทศก็ได้เช่นเดียวกัน
bbc.com
แต่ทีนี้ปรากฏการณ์ที่มันเกิดขึ้นหลายคนก็บอกว่า นี่มันเป็นการลอยแพ นี่มันเป็นการทิ้งภาระหนักให้แต่ละรัฐต้องไปแข่งขันกันเองในการได้มาซึ่งวัคซีนไม่ว่านะเป็นวัคซีนที่ผลิตในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม นี่เป็นการผลักภาระไปให้รัฐบาลท้องถิ่นไปหาวัคซีนมาให้คนในรัฐของตนเอง และเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นเยอะมากๆ จนท้ายที่สุดแล้ว Narendra Damodardas ต้านไม่ไหวจนต้องออกมาเปลี่ยนแผนกระทันหันและออกมาประกาศว่า
" วัคซีนที่ผลิตในประเทศจาก 100% ราว 75% รัฐบาลจะเป็นผู้ดูแลแจกจ่ายให้แต่ละรัฐและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปโดยไม่คิดเงิน " ขณะที่ 25% ที่เหลือจะแบ่งไปขายให้กับเอกชน และประชาชนชาวอินเดียคนไหนที่ไม่ต้องการไปต่อคิวยาวสู้กับคนอื่นๆคุณอาจจะเลือกมาซื้อใน 25 % จากโรงพยาบาลเอกชนนี้ได้ ซึ่งตรงนี้จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง และมีราคาสูงสุดของวัคซีนมีการกำหนดไว้ประมาณนี้ค่ะ
คือวัคซีน Covaxin ไม่เกิน 600 บาท วัคซีน covid chile ประมาณ 330 บาทและ Sputnik V จะประมาณ 500 บาท ดูเหมือนจะไม่แพงนะคะ แต่เชื่อไหมคะว่าในค่าบริการทางการแพทย์ที่ถูกตั้งไว้สูงถึง 65 บาทค่ะ ทำไมต้องสูงถึง 65 บาทก็เพราะว่าเมื่อเทียบกับราคาของค่าแรงขั้นต่ำของประเทศอินเดีย 1 วัน ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 75 บาท เพราะฉะนั้นการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์สูงถึง 65 บาท มันเป็นราคาที่สูงมากๆค่ะ
ประเทศปากีสถาน
freepik
ประเทศปากีสถาน ต้องบอกว่า " วัคซีนไม่เหลือ เหลือแต่ความเหลื่อมล้ำให้กับให้กับประชาชนทั้งประเทศค่ะ " ประเทศนี้จริงๆแล้วมีการบริหารจัดการเรื่องของวัคซีนไม่ได้ต่างจากเพื่อนบ้านอย่างอินเดียเท่าไหร่นัก แต่ว่าความต่างหนึ่งที่มันชัดเจนมากๆก็คือ รัฐบาลของปากีสถานอนุญาตให้มีการซื้อวัคซีนเข้ามาก็จริง แต่ไม่มีเกณฑ์ตั้งราคาจำหน่ายสูงสุดไว้เลยแม้แต่ข้อเดียวค่ะ
คือไม่มีการออกกฏเกณฑ์ใดๆที่จะเป็นการปกป้องผู้บริโภคหรือประชาชนในปากีสถานเลยค่ะ อย่างตัวอย่างสำคัญก็คือ การนำเข้าวัคซีน Sputnik V ล็อตแรกจากประเทศรัสเซีย เชื่อไหมคะว่า เค้ามีการขายให้กับประชาชนในประเทศสูงถึง 2 โดส ราคา 2,400 บาท ตกโดสนึงก็ประมาณ 1,200 บาท
ดูเหมือนจะไม่แพงใช่มั้ยคะ แต่ว่าถ้าเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำของเค้าค่อนข้างที่จะน่าตกใจพอสมควรเลยค่ะ เพราะว่าค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนของประชาชนในปากีสถานอยู่ที่ 3,000 บาทเท่านั้นค่ะ ถ้าคิดเป็นรายวัน ก็อยู่ที่วันละประมาณ 100 บาท แต่ Sputnik V ขายอยู่ที่โดสละ 1,200 บาทหรือว่า 2,400 บาทต่อ 2 โดส อันนี้ถือว่าเป็นราคาที่สูงมากๆ ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของปากีสถาน เค้าเคยลั่นวาจาไว้ว่า
http://www.xinhuathai.com/hight/186669_20210319
" การแข่งขันจะเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาเอง " เพราะฉะนั้นยิ่งแข่งขันก็อาจจะมีราคาที่ถูกลง ก็เหมาะกับประชาชนมากขึ้น แต่ท้ายที่สุดแล้วสถานการณ์ก็ไม่ดีขึ้น เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็หนักขึ้นเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดแม้ว่าจะมีการนำเข้าวัคซีนมาซึ่งแพงขนาดนี้ ปรากฏว่าก็ไม่เพียงพอสำหรับประชาชนที่มีความต้องการอยู่ดี
ท้ายที่สุดแล้วรัฐบาลปากีสถานก็เลยต้องกลับลำออกมาประกาศยกเลิกคำสั่งไม่มีเพดานราคาสำหรับการจำหน่ายวัคซีนนำเข้า แล้วก็มีการตั้งราคาไว้สูงที่สุดก็จะมีการระบุไว้อย่างชัดเจน แต่การประกาศยกเลิกการไม่มีเพดานสำหรับการจำหน่ายวัคซีนนำเข้าแบบนี้ คนที่ไม่พอใจอย่างหนักก็คือ ผู้นำเข้าวัคซีนเข้าวัคซีนเกิดความไม่พอใจมาก 1 บริษัทก็คือ  AGP Pharma ซึ่งตอนนั้นสั่งซื้อ Sputnik V จากรัสเซียไปทั้งสิ้นอย่างต่ำก็คือ 50,000 โดส แสดงความไม่พอใจอย่างมาก
http://mgronline.com/around/de5ail/9640000014000
หลังจากนั้นเค้าก็เลยไปยื่นศาลฟ้องร้องถึงเรื่องนี้และท้ายที่สุดก็ ได้รับคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้สามารถขายวัคซีนต่อได้ในราคาที่บริษัทเป็นผู้กำหนดราคาเอง ไม่ต้องขึ้นอยู่กับราคาใหม่ที่รัฐบาลเป็นการกำหนดเพดานไว้ ขณะที่อีกหลายบริษัท ผู้นำเข้ารายอื่นก็กำลังทยอยเข้าสู่กระบวนการเดียวกันเช่นเดียวกันค่ะ
มาดูข้อมูลของวันที่ 6 ก.ค ที่ผ่านมาบ้างนะคะ อัตราการฉีดวัคซีน ต้องบอกว่า คนที่มีการฉีดวัคซีนครบ 2 โดสอยู่ในระดับเพียง 1.16% ของประชากรปากีสถานเท่านั้น ถือว่าเป็นอันดับที่ต่ำมากๆเลยนะคะ และเพิ่งจะมีการเพิ่มอัตราการฉีดแบบรวดเร็วมากยิ่งขึ้น หลังจากมีการระบาดระลอก 2 เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้เองค่ะ
ประเทศฮอนดูรัส
freepik
ประเทศที่อยู่ในละตินอเมริกา ประเทศนี้ต้องบอกว่า " รัฐบาลเชื่องช้า เอกชนต้องกู้ชาติ " กู้ชาติถึงขั้นที่ว่า เอกชนเป็นคนจัดหาวัคซีนให้กับรัฐบาลเลยทีเดียว
ประเทศฮอนดูรัสมีประชากรเพียงแค่ 10 ล้านคนเท่านั้น ถึงกระนั้นก็ตามรัฐบาลยังไม่สามารถมีประสิทธภาพในการจัดหาวัคซีนให้กับประชาชนของเขาได้ จริงๆแล้วประเทศนี้ประสบปัญหาอย่างหนักในเรื่องของการล่าช้ามากๆในการจัดหาวัคซีน ช้าขนาดไหน คือ การฉีดวัคซีนโดสแรกของเขาเกิดขึ้นในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมานี้เองค่ะ อ่านดูแล้วก็ตกใจนิดนึง ว่ามันเป็นช่วงเวลาเดียวกัน ไกล้ๆกันเลยกับที่ประเทศไทยได้รับการฉีดวัคซีน โดสแรกให้กับบุคคลสำคัญของประเทศไปเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
และที่สำคัญที่สุด คนที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส มีเพียงแค่ 4% ของจำนวนประชากรเท่านั้นค่ะ กระแสวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องของการไร้ศักยภาพของรัฐบาลมันนำไปสู่การลงนามที่สำคัญมากๆค่ะ ระหว่างสภาบริษัทเอกชนแห่งฮอนดูรัสหรือเรียกว่า COHEP เป็นการลงนามระหว่าง COHEP และรัฐบาลของฮอนดูรัส อนุญาตให้บริษัทเอกชนสามารถติดต่อนำเข้าวัคซีนมาเพื่อฉีดให้กับพนักงานของตนเองได้ ภายใต้โครงการที่ชื่อว่า Honduvac นั่นเองค่ะ
มีการพูดของคุณ ฮวน คาร์ลอส ซิกาฟฟี ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอพีว่า "เราต้องขึ้นมาสวมบทบาทที่เลี่ยงไม่ได้นี้เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศ...เรารู้สึกว่า(รัฐบาล)ไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะตอบสนองต่อปัญหาร้ายแรงครั้งนี้อย่างรวดเร็ว" นี่คือสิ่งที่ประธาน COHEP ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ค่ะ และเป็นการออกหน้าไปยังรัฐบาลที่ไร้ซึ่งประสิทธิภาพอย่างหนักมากๆค่ะ
voathai.com
นอกจากจะขึ้นมาสวมบทบาทจัดหาวัคซีนให้กับพนักงานของบริษัทเอกชนอย่างต่ำ 800 บริษัทในฮอนดูรัสแล้วนะคะ ล่าสุดคุณ ซิกาฟฟี ก็ยังมีการตั้งเป้าว่าจะจัดหาวัคซีนให้มากถึง 1.5 ล้านโดสให้กับรัฐบาลของประเทศเค้าเพื่อนำไปบริหารจัดการต่ออีกด้วย
แต่ว่าหลายฝ่ายก็ออกมาแสดงความกังวลอย่างหนักค่ะว่า การที่เค้าให้เอกชนมาจัดหาวัคซีนกับภาครัฐแบบนี้ เงื่อนไขที่เอกชนจะซื้อวัคซีนให้กับรัฐบาลนั้นจะเป็นอย่างไร และมันจะสุ่มเสี่ยงหรือเปล่าที่จะทำให้กลุ่มประชากรกลุ่มเปราะบางที่สุดของประเทศต้องถูกทิ้งไว้ข้างหลังหรือไม่
กลุ่มคนที่ได้วัคซีนเนี่ยจะเป็นกลุ่มคนที่คนที่เป็นชนชั้นนำ ชนชั้นกลาง หรือชนชั้นสูงรึเปล่า แล้วคนชั้นล่าง คนที่ได้รับความทุกข์ยากมากที่สุดของปนะเทศมันจะเป็นยังไง ถ้าหากให้อำนาจกับเอกชนในการบริหารจัดการวัคซีนแบบนี้
แต่เนื่องจากว่าไม่ได้การเปิดเผยรายละเอียดมากนัก โดยรวมแล้วจริงๆแล้วรัฐบาลของฮอนดูรัสมีความตั้งใจจะแจกจ่ายวัคซีนให้กับประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ว่าความไม่สามารถในการจัดหาวัคซีนได้
ขณะที่ฝั่งเอกชนผู้นำเข้าวัคซีน ก็ย้ำด้วยนะคะว่าเป้าหมายของเค้า คือ การนำเข้ามาเพื่อให้พนักงานของตนเองและครอบครัวของพนักงานของตนเอง ไม่ได้มีเป้าหมายสำคัญในการนำวัคซีนเข้ามาเพื่อจัดจำหน่ายแงะทำกำไร
ขณะที่วัคซีนที่เอกชนบอกว่าจะจัดหามาให้รัฐบาลบริหหารต่อไปนั้น อันนี้ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนออกมาค่ะ
เม็กซิโก-โคลัมเบีย
2 ประเทศนี้ปรากฏว่า อนุญาตแล้วแต่ยังไม่มีการสั่งซื้อวัคซีนเข้ามาโดยเอกชน 2 ประเทศนี้มีการบริหารจัดวัคซีนที่ค่อนข้างที่จะคล้ายคลึงกันค่ะและอนุญาตให้เอกชนรวมถึงรัฐบาลท้องถิ่นสั่งซื้อวัคซีนโดยตรงจากผู้ผลิตได้เลยค่ะ แต่แต่นับจนถึงปัจจุบันยังไม่มีเอกชนรายใดลงนามสั่งซื้อวัคซีนแม้แต่เจ้าเดียว
mexico / freepik
ไปดูที่เม็กซิโกกันก่อน ปัจจุบันนี้นะคะอันนี้ก็อาจจะเป็นเหตุผลก็ได้ค่ะ เพราะว่าเม็กซิโกเค้าสั่งซื้อวัคซีนจาก Pfizer มาแล้ว 100% ไม่มียี่ห้ออื่นมาผสม ทั้งหมดเป็น Pfizer อย่างเดียวเลย อันนี้ก็อาจจะเป็นหนึ่งเหตุผลหรือปล่าวที่ภาคเอกชนไม่จำเป็นจะต้องไปสั่งซื้อหรือไขว่คว้าหาวัคซีน mRNA เหมือนกับประเทศไทย
แต่ในขณะเดียวกันเดือนเมษายนที่ผ่านมาก็มีการประท้วงเกิดขึ้น บุคลากรทางการแพทย์ทีอยู่ในกลุ่มของโรงพยาบาลเอกชน ได้ออกมาประท้วงรัฐบาลว่า พวกคุณทิ้งเราไว้ข้างหลัง ไม่ดูแลพวกเรา อันนี้คือสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์จากภาคโรงพยาบาลเอกชนของประเทศเม็กซิโกเค้าออกมาบอก เนื่องจากว่ารัฐบาลเค้าออกมาโต้ว่า การจัดการ การจัดลำดับในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในเม็กซิโก เค้าเรียงลำดับไม่ได้ต้องการที่จะฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มบุคลากรการแพทย์ที่เป็นด่านหน้าและมีความเสี่ยงสูงอันดับ 1
อันดับ 1 ของเขา คือ กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อันนี้คือธงหลักที่ทางรัฐบาลของเม็กซิโกเค้าตั้งไว้ ก็คือ ฉีดให้คนที่มีออายุ 60 ปีขึ้นไปก่อนนั่นเองค่ะ
colombia / freepik
ขณะที่โคลอมเบีย ภาคเอกชนจะสามารถแจกจ่ายวัคซีนได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลดำเนินแผนวัคซีนแห่งชาติเข้าสู่ขั้นที่ 3 เป็นที่เรียบร้อยแล้วเท่านั้นค่ะ โดยขั้นต่างๆของประเทศโคลอมเบียเค้าก็มีการแบ่งลำดับเป็นอายุเช่นเดียวกัน ไม่ได้แบบมีความเสี่ยงสูงหรือว่าต่ำ
อันดับที่ 1 คือ กลุ่มที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป อันดับที่ 2 ผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นของลำดับที่ 2 อยู่ ส่วนลำดับที่ 3 ที่กำบังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันไกล้นี้ กลุ่มที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปนั่นเองค่ะ
จุดร่วมของทุกชาติที่น่าสนใจ
เมื่อเรามาลองวิเคราะห์กันดูแล้วเนี่ย 7 ประเทศ จุดร่วมที่น่าสนใจมากๆ มีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน อย่างแรกก็คือ ไม่ใช่ประเทศที่มีรายได้สูง และอย่างที่สองก็คือ เป็นกลุ่มประเทศที่มีปัญหาการบริหารการจัดการวัคซีนที่ซับซ้อน วุ่นวาย
และพอมองภาพรวมทั้งหมดในกลุ่ม 7 ประเทศของเรา เราจะเห็นได้ชัดเลยนะคะว่า รัฐบาลมีการบริหารงานที่ค่อนข้างต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศโลกที่หนึ่ง ที่เราชื่นชม และเราอิจฉาพวกเค้ามาโดยตลอด
สิ่งหนึ่งที่เรามีเหมือนกัน คล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการติดกระดุมเม็ดแรกผิด ไปจนถึงการล็อคเป้าซื้อวัคซีนแบรนด์เดียว ไม่มีแผนสำรองสำหรับการระบาดระลอกต่อไป
และที่สำคัญก็คือ Deal วัคซีนที่มีความคลุมเครือ ไม่ได้มีกการเปิดออกมาอย่างชัดเจนและโปร่งใสสู่สายตาประชาชนผู้เสียภาษี ผู้เสียเงินซื้อวัคซีนเหล่านี้ด้วยตัวเราเอง
และเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น แอดจะพาไปดูกราฟนี้ค่ะ จะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนระหว่างกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วกับกลุ่มประเทศ 7 ประเทศ ที่รัฐบาลอนุญาตให้เอกชนและประชาชนสามารถซื้อวัคซีนเองได้ เนื่องจากการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลค่ะ
http://voicetv.co.th/read/eJ2qx_qbE
นี่คือกราฟแสดงเปรียบเทียบจำนวนกการฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 1 โดสค่ะ  7 ประเทศของเราจะอยู่ด้านล่างสุด เทียบกับค่าเฉลี่ยของโลกค่ะ มองขึ้นไปด้านบนเราจะเห็นเส้นของสหภาพยุโรป เส้นของสหรัฐอเมริกา และก็เส้นของสหราชอาณาจักร ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเทศรายได้สูงทั้งนั้น
มีความแตกต่างในเรื่องของกระบวนการฉีดวัคซีน อันมาจากการบริหารงานของรัฐบาลอย่างชัดเจน ถ้านับตัวเลขมาจนถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2564  ค่าเฉลี่ยที่ประชากรโลกได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส ต่อประชากรทั้งหมดจะอยู่ที่ 20.65%
7 ประเทศของเราในการเปรียบเทียบครั้งนี้โคลอมเบีย ทำได้สูงสุดอยู่ที่ 20% เท่านั้น ซึ่งทุกประเทศเนี่ยน้อยกกว่า 20% หมดเลย แต่ทีนี้ถ้าเราบองลากสายตามองขึ้นไปด้านบนของกราฟ เราจะเห็นระดับการแจกจ่ายวัคซีนของประเทศพัฒนาแล้ว
สหภาพยุโรป อยู่ที่ 44% สหรัฐอเมริกามาเป็นอันดับสองด้วย 51% และสหราชอาณาจักรครองอันดับ 1 ที่สัดส่วนมากถึง 60% เลยทีเดียว
มองลงมาด้านล่างสุดนี่คือจักรวาลคู่ขนานที่แท้จริงนะคะ ประเทศอย่างอินโดนีเซีย ประเทศไทย ฮอนดูรัส แล้วก็ ปากีสถาน เรายังไม่สามารถที่จะแจกจ่ายได้ถึงระดับตัวเลข 2 หลักของจำนวน % ต่อประชากรด้วยซ้ำไปค่ะ นี่อความพังมากๆ ของกลุ่มประเทศใน 7 ประเทศที่เราพูดถึงกันวันนี้ค่ะ
ท้ายที่สุดที่อยากจะบอกนะคะก็คือ ทั้ง 7 ประเทศที่รัฐบาลเปิดโอกาสให้กับเอกชนเข้ามาช่วยกู้ชาติในเรื่องของการจัดแจงวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศ คือ ทุกประเทศมีความหวังว่าการตัดสินใจครั้งนี้มันจะนำไปสู่ความสำเร็จและเป็นผลดี เป็นผลประโยชน์ต่อประชาชนอย่างมากที่สุด
แต่ว่าในความเป็นจริงแล้วจะเป็นแบบนั้นหรือเปล่าเนี่ยก็เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนในแต่ละประเทศที่ต้องร่วมกันหาคำตอบผ่านกัน ไม่ว่าจะเป็นตรวจสอบ และก็การตั้งคำถามไปยังรัฐบาลให้ได้มากที่สุด
👇🏻👇🏻👇🏻👇🏻👇🏻👇🏻
และขอย้ำตรงนี้อีกครั้งนึงนะคะว่า " เราจ้างรัฐบาลมาทำงานให้เรา รัฐบาลใช้เงินทุกบาทที่มาจากภาษีของประชาชนอย่างเรา เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องตอบทุกคำถามของประชาชนและทำงานให้กับประชาชนอย่างโปร่งใส และตรงไปตรงมา " และที่สำคัญที่สุดต้องตรวจสอบได้ค่ะ
1
Referrence
โฆษณา