10 ก.ค. 2021 เวลา 01:52 • สุขภาพ
อาการบาดเจ็บสะสม <Cumulative Trauma Disorder>
ปัจจุบันประเด็นปัญหาเกี่ยวกบโรคจากการประกอบอาชีพสำหรับคนวัยทำงาน ํ ซึ่งเกิดจากสภาพแวดลอมในที่ทำงานที่่ไม่เหมาะสมหรือจากการทำงานแบบเดิมซ้ําซากโดยไม่มีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นระยะเวลานาน ๆ จะส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดอาการบาดเจ็บสะสม (Cumulative trauma disorder)
อาการบาดเจ็บสะสม
อาการปวดจากการบาดเจ็บสะสม (Cumulative trauma disorder)
อาการปวดจากการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานนั้นมี 2 แบบ ได้แก่ การบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน (AcuteTrauma Disorder --ATD) และ
การบาดเจ็บแบบสะสม(Cumulative Trauma Disorder -- CTD) โดยการบาดเจ็บสะสมนั้นสามารถเรียกได้หลายแบบอาทิ office syndrome เป็นกลุ่มอาการปวดจากการทำงานสำนักงาน หรือ computer syndrome เป็นกลุ่มอาการปวดจากการทางานโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ๆ
อาการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานที่พบบ่อย
• อาการปวดหลัง
• ปวดต้นคอ
• ปวดข้อมือ
• นิ้วล็อค
สาเหตุเกิดจาก
ทำงานอยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานาน เช่น นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หลาย ๆ ชั่วโมง ั่ และอื่น ๆ อาการบาดเจ็บสะสมเป็นอาการบาดเจ็บแบบเรื้อรังเกิดจากความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน โดยมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้
1
1. การใช้แป้นกดคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีแผนรองรับข้อมือ
2. การนั่งไขว่ห้างน้ำหนักตัวจะถูกกดทับลงข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อกดทับเป็นเวลานานสามารถทําให้กระดูกสันหลังบิดคดได้เกิดเป็น spinal stenosis
3. การนั่งกอดอกจะทำให้หลังช่วงบนสะบักและหัวไหล่ถูกยืดยาวออกหลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้าทําให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้ามีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มีอาการมือและแขนชาและอาจมีอาการอ่อนแรงได้
4. การนั่งหลังงอ หรือหลังค่อม เช่น การนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ เป็นชั่วโมง ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้างเกิดการคั่งของกรดแลกติคทำให้มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูป (scoliosis) ตามมา
5. การนั่งเบาะเก้าอี้ีไม่เต็มก็จะทำให้กล้ามเนื้อหลังทํางานหนักเพราะฐานในการรับน้ําหนักตัวไม่สมดุล
6. การยืนพักลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียวนานเกินไป ทำให้ร่างกายเกืดความไม่สมดุล
7. การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม ควรยืนหลังตรงแขม่วท้องเล็กน้อย เพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่นและไม่ทำให้ปวดหลัง
8. การใส่รองเท้าส้นสูงเกินกว่านิ้วครึ่งจะทําให้กระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติซึ่งนําไปสู่อาการปวดหลังได้
9. การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว ไม่ควรสะพายกระเป๋าหนักขัางใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้
10. การหิ้วของหนัก ๆ ด้วยนิ้วบ่อย ๆ จะมีผลทำให้เกิดพังผืดตามข้อนั้วมือ ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้
11. การนอนขดตัวหรือนอนตัวเอียง
การรักษาและป้องกัน
1. การรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น การใช้ยาแก้ปวด ลดการอักเสบ ั ยาคลายกล้ามเนื้อ การทำกายภาพบำบัด
2. การรักษาตามสาเหตุเนื่องจากภาวะดังกล่าวเกิดจากสิ่งแวดล้อมในที่ทํางานและการปฏิบัติตัวที่ไม่เหมาะสม จึงควรจัดสถานที่ให้เหมาะสม เช่น ความสว่างภายในที่ทำงาน ํ หน้าจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ในระดับเดียวกับสายตาหรือต่ำกว่าเล็กน้อย
3. การประยุกต์ใช้แพทย์แผนจีนในการบํารุงสุขภาพและชะลอความแก่ เรียกว่า integrative medicine เพื่อให้เกิดการไหลเวียนของลมปราณและเลือดอย่างคล่องไม่ติดขัดตามแนวของเส้นลมปราณ
#สาระจี๊ดจี๊ด
การทำงานมีความสําคัญต่อชีวิต เพราะการทำงานเป็นการใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงชีวิตมากกว่าช่วงเวลาอื่น แต่ต้องไม่ลืมที่จะทำงานด้วยหัวใจและสมองที่มีสติ การทำงานแบบไม่มีการพักผ่อนเลย ย่อมไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสําหรับชีวิต เพราะนั่นหมายถึง การทำร้ายตนเอง จนในที่สุดโรคภัยไข้เจ็บจะมารุมเร้าจึงจะเห็นได้ว่าอาการจากการบาดเจ็บสะสมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในคนทํางาน ที่ทํางานในลักษณะท่าทางซ้ํา ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน การบาดเจ็บสะสม เป็นภาวะที่สามารถป้องกันได้หากได้ทำการป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่มีในการทำงาน โดยการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหานี้ให้มากขึ้น จะช่วยทำให้เกิดประโยชน์ในแง่การป้องกันโรคลดวันลาที่เกิดจากความเจ็บป่วย ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทํางานได้
1
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา