11 ก.ค. 2021 เวลา 11:02 • สัตว์เลี้ยง
EP.1 การดูแลสุนัขป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
อยากมาอวดรูปปีโป้เฉยๆแต่ปีโป้ไม่ได้ไตวายนะฮ้ะ 5555+
1
ปีโป้นอนในกล้วย
หลังจาก โควท เรื่องอายุไปแล้ว มาต่อกันด้วยเรื่อง การจัดการในสุนัขโรคไตกันค่ะ จากพี่ Live in Hokkaido ค่ะ
โรคไต เป็นภาวะที่เจอได้บ่อยในสุนัข เกิดจากหน่วยไตทำงานบกพร่อง การกรองอาจทำได้น้อยลง ของเสียที่ปกติจะออกไปกับฉี่ บางส่วนก็จะออกไปกับฉี่ บางส่วนก็จะถูกกักไว้ ในร่างกายและเข้าสู่กระแสเลือด เช่น metabolic acidosis(ภาวะความไม่สมดุลของกรด-เบสในร่างกาย)
 
โดยอาการคร่าวๆ จะมี อาเจียน ถ่ายเหลวเป็นสีดำ กลิ่นปากเหม็นแอมโมเนีย มีแผลในช่องปาก กินน้ำเยอะ ฉี่เยอะ แต่ไม่สามารถรู้หรือ มองได้ด้วยตาเปล่า ต้องมี การตรวจเลือดมาช่วยวินิจฉัยร่วมด้วย
โรคไต แบ่ง หยาบๆออกได้เป็น ไตวายเฉียบพลัน และไตวายเรื้อรัง ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกเป็น แต่ละระยะออกไป ได้อีก วันนี้ขอยังไม่ลงลึกเกี่ยวกับตรงนี้ เพราะวันนี้จะเน้นสรุปรวบก่อน นะคะ
criteria สำหรับการจัดการโรคไตจริงๆก็เหมือนจะง่าย แต่ก็แอบยากนะคะ เพราะถ้าจะทำ homemade cook สำหรับโรคไต ถามว่าทำได้ไหม ทำได้ แต่ไม่ได้ง่ายเลย
โดย criteria การจัดการ
1.ควบคุมปริมาณโซเดียม-ฟอสฟอรัสในอาหาร (อันนี้หลักๆขึ้นอยู่กับการจัดการของเจ้าของเลย ว่าควรให้อะไรและไม่ควรให้อะไร โดยถ้าไม่ทราบถึงตรงนี้สามารถถามสัตวแพทย์เจ้าของเคสได้เลย)
2.ควบคุมปริมาณโปรตีนในอาหาร (อันนี้ก็ถ้าดูแลอยู่ที่บ้านก็หน้าที่เจ้าของอีกนั่นแหละ โดยเจ้าของส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า โอเคไม่ใส่ความเค็มลงไปในอาหารก็คือจบ แต่จริงๆมันมีมากกว่านั้น)
3.การควบคุมสมดุลกรดเบสในร่างกาย การจัดการให้สารน้ำเข้าเส้นหรือใต้หนัง (หน้าที่หมอโดยตรง แต่บางบ้านอยากประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อ maintain ให้สุนัขกลับมาเกือบปกติได้แล้ว ก็มีเจ้าของขอให้น้ำเกลือใต้หนังเอง ซึ่งหมอจะ Educate ให้เจ้าของว่าควรทำยังไง)
4.การจัดการโภชนาการที่ถูกต้อง และ เหมาะสมเพื่อชะลอ ความเป็นไปของโรคไต
1
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ไตวายมีทั้งเรื้อรัง และไตวายเฉียบพลัน
จากประสบการณ์ที่เจอ ไตวายเฉียบพลัน ล้วนแล้วแต่มาจากติดเชื้อ เช่นพยาธิเม็ดเลือด พยาธิหนอนหัวใจ พยาธิในต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเจ้าวายร้ายพวกนี้ เมื่อติดเชื้อเข้ากระแสเลือดแล้ว แบคทีเรียจะไปทำลายเซลล์ไต-ตับ ทำให้การทำงานบกพร่อง ซึ่งถ้าจัดการแก้ไข ได้รวดเร็ว ไตก็จะกลับมาปกติได้แต่เซลล์ที่วายไปแล้ว จะไม่ได้กลับมาร้อยเปอร์เซ็นได้ ฉะนั้นตัวไหนที่เคยไตวายแบบเฉียบพลัน ก็ต้องจัดการอาหารให้ดีในอนาคต
 
ไตวายเรื้อรัง ต้องจัดการกันไปยาวๆ หลังจากควบคุมโภชนาการแล้ว ก็ต้องมีการควบคุมภาวะแห้งน้ำด้วย (dehydrate) เนื่องจากกลไกของร่างกาย การเป็นโรคไต จะทำให้กินน้ำเยอะมาก แต่ก็ฉี่เยอะออกไปมากเช่นกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นสุนัขกินน้ำเข้า 500 ml แต่อาจจะขับออกมากับฉี่ 800 ml ทำให้เกิดภาวะแห้งน้ำเกิดขึ้นได้ ฉะนั้น การจัดการสารน้ำก็เป็นสิ่งที่จำเป็น
2
เริ่มซีรีย์แรก แบบสรุปก่อน ซีรีย์ต่อๆไปจะค่อยๆลงทีละอย่างนะคะ
การจัดการอาหาร
การจัดการดูแลสุขภาพ
เล่าประสบการณ์ตอนอยู่คลินิก เจอสุนัขโรคไตแบบหลากหลาย
ไว้มาเล่าเป็นฉากๆต่อนะคะ :) อดใจรอหน่อยน้า

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา