12 ก.ค. 2021 เวลา 03:19 • ความคิดเห็น
ผมขอเริ่มจากประโยคนี้นะครับ ^^
"ให้อยู่ในที่วุ่นวายด้วยใจที่สงบ ไม่อยู่ในที่สงบด้วยใจที่วุ่นวาย"
1
สภาวะของการมีสมาธินั้น
มักจะเกี่ยวข้องกับ
-การนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาไว้ในความสนใจ (สติ/ความรู้ตัว)
-การจดจ่อในสิ่งนั้น (สมาธิ/ความสงบ)
ดังนั้น
หากเราอยู่ท่ามกลางสิ่งรอบข้างที่วุ่นวาย
เราก็สามารถนำความวุ่นวายเหล่านั้น
"มาไว้ในความสนใจได้เลย"
*แต่หากเราไม่ให้ความสนใจ แล้วพยายามต่อสู้ขัดขืด
หรือคาดหวังให้ความวุ่นวายเหล่านั้นหายไป
มันก็จะเป็นตัวเร่งให้เรายิ่งคาดหวัง และ ยิ่งเสียสมาธิครับ
(แปลว่า ในเมื่อห้ามให้มันหยุดวุ่นวายไม่ได้
เราก็ใช้ประโยชน์จากมันเพื่อมาสร้างสมาธิ/ความสงบทางใจซะเลย)
"การนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาไว้ในความสนใจ และ การจดจ่อในสิ่งนั้น"
มันก็เหมือนกับการเอาใจใส่ในเวลาที่เราทำสิ่งต่าง ๆ ครับ
เช่น
-การกินอาหาร
-การแปรงฟัน
-การเดิน
-การขับรถ/การเดินทาง
-การพักผ่อน/การท่องเที่ยว
-การพูดคุย
-การสะสางงาน/ภารกิจ
-การรอคิว/การรอตอนติดไฟแดง
-การอยู่กับผู้อื่น/การดูแลผู้อื่น
-การดูแลต้นไม้/สัตว์เลี้ยง
"การมองดูและรับรู้ทุกสิ่งรอบตัว"
ฯลฯ
จุดนี้จะเกื้อหนุนให้ใจของเราเกิดความรู้ตัว
และเกิดความรู้สึกอ่อนโยน
(ทำให้เรารู้สึกมีความสุขอยู่ลึก ๆ โดยธรรมชาติ)
แล้วก็จะทำให้เรามอบหัวใจให้สิ่งที่กำลังทำอยู่อย่างเต็มที่ครับ
"สิ่งที่จะตามมาก็คือ สมาธิ-ความสงบ-ความสุข"
จิตใจของเราก็จะเป็นภาวะของ
-ความสุข
-ความสงบมั่นคง
-ความยืดหยุ่นอ่อนโยน
ซึ่งจะช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างรู้ตัว
ยอมรับความเปลี่ยนแปลง
ตัดสินใจและปรับตัวได้อย่างยืดหยุ่นครับ
โดยสมรรถนะแห่งสมาธิเหล่านี้
ล้วนอยู่ในชีวิตจิตใจของเราเลยครับ
เราจึงสามารถขัดเกลาตนเอง
"ให้เข้าถึงสภาวะของสมาธิจากทุกกิจกรรมในชีวิต"
แล้วเมื่อเราดำเนินชีวิตด้วยความรู้ตัวเช่นนี้อย่างสม่ำเสมอ
ย่อมทำให้เราสามารถมีสมาธิได้อย่างต่อเนื่องและเป็นธรรมชาติครับ ^^
1
โฆษณา