17 ก.ค. 2021 เวลา 12:30 • สุขภาพ
รู้จักวัคซีน Protein subunit อย่าง Novavax และ ใบยา ของไทย
1
นอกจากวัคซีนเชื้อตายอย่าง Sinovac/Sinopharm, วัคซีน Viral vector อย่าง AstraZeneca, และ วัคซีน mRNA อย่าง Pfizer/Moderna/Chula-Cov19 ยังมีอีกหนึ่งประเภทของวัคซีนที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย นั่นก็คือวัคซีน Protein Sununit อย่าง Novavax และ ใบยา จากบริษัท ใบยา โฟโตฟาร์ม จำกัด
1
sciencemag.org
ถ้าให้อธิบายแบบง่ายๆคือ
💉 เชื้อตาย : ใช้ไวรัสโควิดทั้งตัว ที่ทำให้ตายแล้วฉีดเข้าร่างกาย
>> ระบบภูมิคุ้มกันจับกับไวรัสที่ตายแล้ว
💉 Viral vector : ใช้ DNA (vector) ใส่ในไวรัสที่ไม่ก่อโรคในมนุษย์ ส่งเข้าสู่เซลล์ในร่างกายเพื่อให้ถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนหนามของไวรัส
>> ระบบภูมิคุ้มกันจับกับโปรตีนหนาม
💉 mRNA : ใช้ mRNA ใส่ในตัวห่อหุ้มไขมัน (Lipid coat) ส่งเข้าสู่เซลล์ในร่างกายเพื่อให้ถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนหนามของไวรัส
>> ระบบภูมิคุ้มกันจับกับโปรตีนหนาม
💉 Protein subunit : ใช้โปรตีนหนามของไวรัส ที่ให้เซลล์ชนิดอื่นผลิตขึ้นมา (Novavax ใช้เซลล์ผีเสื้อกลางคืน, ใบยาใช้เซลล์ใบยาสูบ) เมื่อได้โปรตีนหนามของไวรัสในปริมาณมาก จึงนำมาจัดเรียงให้อยู่ในโครงสร้างที่แข็งแรง แล้วฉีดเข้าสู่ร่างกาย
4
>> ระบบภูมิคุ้มกันจับกับโครงสร้างโปรตีนหนามของไวรัสโควิด
🔺 [ หลักการของวัคซีน Protein subunit ]
1
doi:10.1126/science.abf5474
1. Baculovirus ซึ่งก็คือไวรัสชนิดหนึ่งที่ก่อโรคในแมลง ถูกใส่ DNA ส่วนที่จะถอดรหัสเป็นโปรตีนหนามของไวรัสโควิดไว้ข้างใน หลังจากนั้นจึงให้ Baculovirus ไปก่อโรค (infect) เซลล์ของผีเสื้อกลางคืน [วงสีเหลือง] เพื่อให้ DNA ส่วนหนามของไวรัสเข้าไปอยู่ในเซลล์ของผีเสื้อกลางคืน
1
2. เมื่อ DNA ส่วนหนามของไวรัสโควิด [เส้นเกลียวสีฟ้า] ถูกปลดปล่อยออกมา เซลล์ของผีเสื้อกลางคืนจึงทำการถอดรหัส และ ผลิตโปรตีนหนามของไวรัสโควิดออกมา
1
เนื่องจากโดยปกติ โปรตีนหนามของไวรัสโควิดจะยื่นอยู่ที่ผิวด้านนอก ดังนั้นโปรตีนหนามที่ผลิตได้จึงเคลื่อนที่ไปอยู่บริเวณผิวเซลล์
1
3. โปรตีนหนามของไวรัสโควิดที่อยู่บนผิวเซลล์ของผีเสื้อกลางคืน ถูกเก็บเกี่ยวมาจัดเรียงลงบนโครงสร้างที่เตรียมไว้ ซึ่งมีขนาดประมาณ 30-40 นาโนเมตร หนึ่งโครงสร้างจะมีโปรตีนหนามแทรกอยู่ประมาณ 14 หนาม เมื่อจัดเรียงสมบูรณ์แบบ ขนาดที่ได้จะเล็กกว่าขนาดจริงของไวรัสโควิดเล็กน้อย สามารถทำหน้าที่เป็นศัตรูหลอกแทนไวรัสจริงได้
1
4. โครงสร้างโปรตีนหนามของไวรัสโควิดถูกผสมเข้ากับสารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (adjuvant) เพื่อผลิตวัคซีน โดย Novavax เลือกใช้ Saponin [วงสีชมพู] ซึ่งเป็นสารที่ได้จากพืช
เมื่อฉีดวีคซีนเข้าร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะคิดว่าโครงสร้างโปรตีนหนามของไวรัสโควิดเป็นศัตรู จึงส่งกองทัพต่างๆมาจัดการและจดจำหน้าตาของเชื้อเอาไว้
5. เมื่อไวรัสโควิดตัวจริงมาบุกรุก [วงสีส้ม] ร่างกายที่มีระบบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนแล้วจะสามารถส่งกองทัพ Antibody [วงสีม่วง] มาจัดการได้โดยเร็ว ซึ่ง Antibody ถือเป็นกองทัพหน้าเท่านั้น ร่างกายยังมีระบบภูมิคุ้มกันแบบอื่นที่มาช่วยกำจัดไวรัสอีก
1
▪️ เนื่องจากวัคซีน Protein subunit สร้างโปรตีนหนามมาเรียบร้อยแล้วก่อนฉีดเข้าสู่ร่างกาย จึงไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับภายในเซลล์ของมนุษย์ เพราะไม่ต้องใช้เซลล์มนุษย์ในการผลิตโปรตีนหนามอย่าง วัคซีน Viral vector และ mRNA
1
▪️ อีกทั้งโปรตีนหนามที่ผลิตได้ จะถูกทำให้บริสุทธิ์ก่อนนำมาทำวัคซีน จึงมีโอกาสเกิดอาการแพ้ภายในร่างกายน้อย รวมถึงไม่มีไวรัสจริงอยู่ในวัคซีน แค่มีโครงสร้างโปรตีนหนามเท่านั้น วัคซีน Protein subunit จึงเป็นอีกวัคซีนนึงที่ถูกมองว่าค่อนข้างปลอดภัย สามารถฉีดให้ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้
3
▪️ เทคโนโลยี Protein subunit ถูกนำมาใช้ผลิตวัคซีนนานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ที่ถูกนำมาฉีดให้เด็กตั้งแต่ปี 1986, วัคซีนป้องกันไวรัส HPV ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก, วัคซีนป้องกันไอกรน
▪️ ข้อดีอีกข้อคือโครงสร้างโปรตีนหนามของไวรัสในวัคซีนค่อนข้างเสถียร สามารถเก็บในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียสได้หลายอาทิตย์ ไม่เหมือนกับวัคซีน mRNA ที่ต้องเก็บในอุณหภูมิเย็นจัด
2
▪️ แต่ถ้าเทียบกับวัคซีน mRNA ถือว่าขั้นตอนการผลิตวัคซีน Protein subunit นั้นมีความยุ่งยาก ซับซ้อนหลายขั้นตอนมากกว่า ทำให้ผลิตได้ช้าและมีต้นทุนสูง ต่างกับเทคโนโลยี mRNA ที่ใช้แค่สาย mRNA ห่อด้วยตัวห่อหุ้มไขมัน ขั้นตอนน้อยกว่า และสามารถเปลี่ยนส่วนของ mRNA ให้รับมือกับเชื้อกลายพันธุ์ได้ง่าย ดังนั้น mRNA ถึงถูกมองว่าจะกลายมาเป็น platform ใหม่ของการผลิตวัคซีนในอนาคต
2
sciencemag.org
🔺 [ Novavax ]
- เป็นวัคซีนสัญชาติอเมริกา ภายใต้ชื่อการทดลอง NVX-CoV2373
- ฉีดทั้งหมด 2 เข็มจึงจะครบโดส ห่างกัน 21 วัน
- กำลังรออนุมัติจาก FDA หรือ องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ให้เป็นวัคซีนขึ้นทะเบียนภายในประเทศ
- ผลการทดลองเฟส 3 จากอังกฤษออกมาว่าสามารถป้องกันไวรัสโควิดสายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิมได้ 96%, สายพันธุ์แอลฟ่าได้ 86% และ สายพันธุ์เบต้าได้ 49%
- อาการข้างเคียงโดยทั่วไป คือ ปวดบริเวณที่ฉีด, เมื่อยล้า, ปวดหัว, ปวดกล้ามเนื้อ ส่วนอาการข้างเคียงร้ายแรงมีรายงานการพบน้อย ไม่แตกต่างกันในกลุ่มตัวอย่างที่ฉีด/ไม่ฉีดวัคซีน
🔺 [ ใบยา ]
- วัคซีนสัญชาติไทย ภายใต้ชื่อการทดลอง Baiya SARS-CoV-2 VAX1
1
- ผ่านการทดลองเฟส 2 ในหนูและลิงมาแล้ว โดยการฉีด 2 เข็มห่างกัน 3 สัปดาห์ พบว่าผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี มีความปลอดภัย ไม่พบอาการข้างเคียงใดๆ
4
- จะเริ่มทำการทดลองเฟส 3 คือฉีดให้กับมนุษย์ในเดือนกันยายน โดยจะเปิดรับอาสาสมัครประมาณ 100 คน ภายในเดือนสิงหาคม
References >>
1
doi:10.1126/science.abf5474

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา