18 ก.ค. 2021 เวลา 09:31 • ความคิดเห็น
ต้นทุนของการโกหก
1
วันนี้เรากำลังเผชิญกับการจ่ายหนี้ก้อนโตของคำโกหก และนี่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีว่า เราควรจะพูดความจริง และยอมรับความจริง มากกว่าที่จะมาโกหกกัน
ผมขออนุญาตนำตัวอย่างจากอุบัติเหตุโรงไฟฟ้าเชอโนบิลในวันที่ 26 เม.ย. ค.ศ. 1986 จากการทดลองความปลอดภัยของโรงงานไฟฟ้าเชอโนบิลหมายเลข 4 โดยจำลองสถานการณ์เมื่อโรงไฟฟ้าเกิดภาวะไฟดับจนระบบน้ำหล่อเย็นไม่ทำงาน ซึ่งได้มีการทดลองมาก่อนหน้านี้สามครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 แต่ก็หาทางแก้ไขไม่ได้ และในครั้งที่ 4 ก็เกิดปัญหาความล่าช้าในการวางแผน จนทำให้แผนการทดสอบล่าช้าไป 10 ชั่วโมง และความผิดพลาดจุดแรกของวันนั้นก็เกิดขึ้น นั่นคือทำให้พนักงานชุดที่มีความรู้มากที่สุดไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการทดสอบ
4
พอถึงเวลาทำการทดสอบจริง การตัดกระแสไฟฟ้าก็เกิดขึ้น แต่ Toptunov นักวิศวกรที่เพิ่งทำงานที่นั่นได้เพียงสามปี และทำงานในกะนั้น ได้ดำเนินการผิดพลาดจนทำให้สูญเสียกระแสไฟฟ้าเกือบทั้งหมด แต่ในที่สุดก็สามารถทำให้ระบบบางส่วนกลับมาได้ แต่ก็ช้าไปเสียแล้ว เตาปฏิกรณ์ปรมาณูเข้าสู่ภาวะที่ไม่เสถียรอีกต่อไป
7
แทนที่จะหยุดทำการทดสอบ Anatoly Dyatlov ผู้จัดการโรงงานที่เหนื่อยล้าจากความล่าช้ามาทั้งวัน และมีอารมณ์เสีย ก็สั่งเจ้าหน้าที่ก็ยังเดินหน้าทดสอบต่อไป เพราะอ้างว่าไม่มีระบุไว้ในคู่มือการทดสอบ นับเป็นความบกพร่องและการโกหกตัวเองเริ่มต้น
5
เขาสั่งให้ Toptunov เร่งพลังเตาปฏิกรณ์ไปถึงจุดตามแผนทดสอบ ซึ่งเป็นระดับที่อันตรายอยู่แล้วในภาวะปกติ ซึ่งอาจจะทำให้เกิด nuclear meltdown ได้ เป็นเวลาทั้งสิ้น 36 วินาที
7
และแล้ว หลังการทดลองเสร็จ Toptunov ก็กดปุ่ม AZ5 เพื่อหยุดการทำงานของเตาปฏิกรณ์ แต่ในระยะเวลาสั้นไป เตาปฏิกรณ์ก็เพิ่มพลังจนกระทั่งเตาปฏิกรณ์ระเบิดออก และที่เหลือก็คือประวัติศาสตร์ที่ทุกคนรู้กัน
4
นี่เป็นที่มาของคำโกหกที่สอง ซึ่งปุ่ม AZ-5 ที่ควรจะหยุดการทำงานของเตาปฏิกรณ์ กลับสามารถเพิ่มการทำงานของเตาปฏิกรณ์ในช่วงสั้นจนถึงระดับที่เป็นอันตรายได้ แต่ก็มีการเก็บความลับนี้ไว้ เพราะกลัวที่จะเสียหน้าว่าไม่สามารถออกแบบระบบความปลอดภัยได้ปลอดภัยจริงๆ จึงใช้การทดสอบนี้
5
คำโกหกที่สาม คือ การไม่บอกผู้ที่เข้าไปกู้สถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นนักดับเพลิง และวิศวกรว่า โรงไฟฟ้ามีปัญหากัมมันตภาพรังสีรั่วไหลอย่างแรง จึงทำให้ผู้เกี่ยวข้องเสียชีวิตนับร้อยจากการเข้าไปจัดการเก็บกู้ และมีชาวบ้านรอบๆ โรงไฟฟ้าที่เสียชีวิตในภายหลังอีกนับเป็นหมื่นคน จากการได้รับรังสีเกินขนาดเป็นเวลานานๆ เพราะการอพยพเกิดขึ้นไม่เร็วพอ และไม่ครอบคลุมอาณาบริเวณที่กว้างพอ
6
นอกจากนี้ ยังมีการพยายามปิดข่าวไม่ให้ต่างชาติทราบ ก็เลยไม่ได้มีการส่งทีมงานผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วย และกอบกู้สถานการณ์
ประเทศไทยวันนี้ก็เช่นกัน เราเหลิงตัวเองกับการควมคุมสถานการณ์ได้รอบแรกของการแพร่ระบาด จนกระทั่งเราละเลยการเตรียมความพร้อมกับการรับมือสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมทรัพยากรทางการแพทย์เพื่อรองรับผู้ป่วย การเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจโรค การเตรียมมาตรการเยียวยา และกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเตรียมจัดหาวัคซีนที่มากพอ และเร็วพอให้กับประชาชน
13
แทนที่ผู้บริหารประเทศจะยอมรับความผิดพลาดเหล่านั้น กลับพยายามปิดบังปัญหา เริ่มต้นจากการปิดบังข้อมูลประชาชน จนเผลอหลอกแม้กระทั่งตัวเองว่า สถานการณ์ยังดีอยู่
16
การโกหกตัวเองนี้เอง ทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในที่นั่งลำบาก ปัญหาแทนที่จะได้รับการแก้ไข กลับถูกฝังกลบไว้ และมีการใช้ทรัพยากรจำนวนมากที่ไม่จำเป็นในการฝังกลบปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการเอาผิดกับผู้ปล่อยข่าวในทางลบ การจัดการกับสื่อโซเชียลผ่านทาง IO เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการพยายามทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อน้อย โดยการออกมาตรการแบบไม่ตั้งใจ ที่ส่งผลให้เกิดการจำกัดปริมาณการตรวจเชื้อต่อวัน
8
และแทนที่จะออกมายอมรับว่าการระบาดเกินความสามารถที่จะควบคุม กลับคิดว่า "เอาอยู่" และไม่เตรียมความพร้อมล่วงหน้า เพราะอาจจะดูเหมือนว่ารัฐบาลล้มเหลวในการจัดการ
ส่วนการจัดหาวัคซีน พอเจอความล้มเหลวของการจัดหาวัคซีนที่ดี มาในปริมาณที่มาก และเร็ว จึงเกิดสิ่งแปลกไป ที่หลายๆ คนอนุมานว่าเป็นการขัดขาไม่ให้คนอื่นนำเข้าวัคซีนที่ดีมาได้เร็ว เพราะกลัวว่าจะเสียหน้า
2
วันนี้เรากำลังเจอกับระเบิดลูกโตที่เป็นผลกระทบจากคำโกหกเหล่านั้น ซึ่งผมขออนุญาตนำประโยคบางส่วนจากหนังมาสะท้อนสถานการณ์ตามรูปครับ
3
โฆษณา