23 ก.ค. 2021 เวลา 12:30 • หนังสือ
สรุปหนังสือ “พลิกคำถาม เปลี่ยนชีวิต”
คำถามที่ดีมีค่ากว่าคำตอบที่ถูกต้อง
คุณต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไร
ให้เกิดขึ้นในชีวิตคุณ
ผู้เขียน: แมรี่ลี จี อดัมส์
สรุปโดย นักเรียน สรุปให้ รุ่นที่ 5 คุณ Kusuma Sanderson เจ้าของเพจ Feel Joy Farm
=====================
ไม่พลาดสรุปหนังสือดี ๆ กดติดตาม เพจสรุปให้
#ไม่พลาดโปรดีๆติดตามที่ Line: @saroophai
<1>การคิดเป็นคำถาม เพื่อตระหนักรู้ถึงคำถามที่ใช้ถามตัวเราเองและผู้อื่น เรียนรู้การพัฒนาคำถามทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ ถามตัวเองและผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรอบคอบ และสร้างผลลัพธ์ที่ดีได้มากขึ้น มี 2ส่วน 1. คำถามที่ใช้ถามตัวเอง โดยการฝึก 2 อย่างนี้ คือ 1.1 รู้จักคำถามที่เราถามตัวเอง “ทุกการกระทำของเรา คือการตอบคำถามที่เราใช้ถามตัวเราเอง” - จดบันทึกคำถามที่ใช้ถามตัวเอง - ถามตัวเองว่า “คำถามอะไรที่อยู่เบื้องหลังการกระทำของคุณ?” - ใช้ความอดทนค้นหาสักนิด เพื่อตระหนักถึงคำถามที่เป็นต้นตอของการกระทำต่างๆ และ ตระหนักถึงอิทธิพลของคำถามที่คุณใช้ถามตัวคุณเองว่า “มีผลต่อชีวิตคุณอย่างไร?” 1.2 สังเกตการตอบสนองที่มีต่อสถานการณ์ต่างๆ สังเกตการตอบสนองที่มีต่อสถานการณ์ต่างๆ ความคิดแวบแรก เป็นประโยคคำพูด หรือประโยคคำถาม ถ้าเป็น “ประโยคคำพูด” ลองเปลี่ยนเป็น “ประโยคคำถาม” สังเกตว่า - มันไปเปลี่ยนอารมณ์ การกระทำ และปฏิสัมพันธ์ที่คุณมีต่อผู้อื่นอย่างไร? - คำถามชนิดไหนก่อให้เกิดผลลัพธ์แบบไหน? 2. คำถามที่ใช้ถามผู้อื่น (คำถามในการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น) โดยการฝึก 3 อย่างนี้ คือ 2.1 สัดส่วนการคิดเป็นคำถาม - ตรวจสอบว่า ในระหว่างวัน อัตราส่วน คำถาม 80% : คำพูด/คำตอบ 20% หรือกลับกัน? - ฝึกการถามคำถาม 80% และพูดหรือตอบ 20% ในการสนทนา 2.2 คำถามที่ทำให้ชีวิตเปลี่ยน - นึกย้อนไปถึงช่วงเวลาที่คุณเจอคำถามที่ทำให้ชีวิตของคุณหรือผู้อื่นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น คำถามนั้นคือคำถามอะไร? ผลลัพธ์ของมันคืออะไร? คำถามนั้นมีบทบาทอะไรต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น? 2.3 กล้าที่จะสงสัย จงสงสัยใคร่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง - สังเกตว่า เกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณถามคำถาม และ เกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณไม่ถาม
<3>แผนที่ทางเลือก Choice Map “ทุกๆช่วงของชีวิต เราทุกคนต้องเผชิญกับทางเลือก” เราเลือกเดินทางไหนนั้นเริ่มจากการตั้งคำถามของเรา แผนที่ทางเลือกช่วยอะไรได้บ้าง 1. ตั้งคำถามที่ดีและเลือกอย่างชาญฉลาด 2. ตระหนักรู้ว่า กำลังทำอะไรอยู่ตรงไหนในช่วงเวลาหนึ่งๆ 3. พิจารณาว่า จะเปลี่ยนคำถามอย่างไรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต่างออกไป ใช้แผนที่ทางเลือกเป็นข้อสรุปเกี่ยวกับทัศนคติแบบนักเรียนรู้และนักตัดสิน โดยการฝึก 4 อย่างนี้ 1. เมื่อเรายืนอยู่ตรงทางแยก - ถามตัวเองด้วยคำถามแบบนักตัดสินและนักเรียนรู้ - สังเกตว่า คำถามทั้งสองแบบมีผลต่อคุณอย่างไร และมันนำพาคุณไปทางไหนในแผนที่ - ถ้าคุณอยู่บนเส้นทางของนักตัดสิน ให้ไตร่ตรองว่าคำถามแบบไหนที่จะช่วยให้คุณเปลี่ยนเส้นทางไปสู่เส้นทางของนักเรียนรู้ 2. คำถามแบบนักตัดสิน - ค้นหาความผิดพลาดจากการเป็นนักตัดสินที่เป็นสาเหตุให้คุณไม่ประสบความสำเร็จหรือไม่? - ถ้า ใช่ คุณได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้? 3. คำถามแบบนักเรียนรู้ - คำถามแบบนักเรียนรู้อันไหนที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับคุณ? - ถ้าคุณเกิดคิดด้วยวิธีคิดแบบนักตัดสินคำถามใดที่ช่วยเปลี่ยนเส้นทางไปสู่เส้นทางของนักเรียนรู้ - คุณเรียนรู้อะไรจากการสังเกคสิ่งเหล่านี้?
<4-1>เพิ่มศักยภาพความเป็นนักสังเกต มนุษย์มีบางเวลาเป็น “นักตัดสิน” และ บางเวลาเป็น “นักเรียนรู้” จงเป็นผู้สังเกต อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด การกระทำ และพฤติกรรมของตัวเอง (การแสดงออกทางร่างกาย) ขณะถามคำถาม นักตัดสิน ทางกาย : อึดอัด ไหลเกร็ง มือกำแน่น ความรู้สึก : หมดหวัง มองโลกในแง่ร้าย หดหู่ เครียด พ่ายแพ้ ตกต่ำ ไม่มีอะไรเหลือ นักเรียนรู้ ทางกาย : เบาสบาย ไหล่ผ่อนคลาย ร่าเริงแจ่มใส ความรู้สึก : เต็มไปด้วยความหวัง มองโลกในแง่ดี อยากรู้อยากเห็น มีแรงบันดาลใจ
<6> ตรวจสอบสมมติฐาน เพื่อหลีกเลี่ยงการทำผิดพลาด เนื่องมาจาก มีข้อมูลผิดๆ หรือไม่สมบูรณ์ ช่วยขุดค้นสมมติฐานที่อาจจะขัดขวางความสำเร็จของคุณเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด - นำคำถามเหล่านี้มาใช้กับสถานการณ์จริงๆ 1. ฉันกำลังใช้สมมติฐานอะไรกับตัวเอง เช่น ความสามารถของฉันหรืองานของฉัน? 2. ฉันกำลังใช้สมมติฐานอะไรกับคนอื่น เช่น ความสามารถของเขาและความทุ่มเทของเขา? 3. ฉันกำลังใช้สมมติฐานอะไรโดยใช้ประสบการณ์ในอดีตซึ่งอาจไม่เป็นความจริงในปัจจุบัน? 4. ฉันกำลังใช้สมมติฐานอะไรเกี่ยวกับข้อจำกัดของตัวเองและฉันจะพบกับสิ่งที่ไม่คาดคิดอะไรบ้าง? 5. ฉันกำลังใช้สมมติฐานอะไรเกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรที่จะเป็นประโยชน์? 6. ฉันกำลังใช้สมมติฐานอะไรเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมภายนอกหรือความจริง? 7. ฉันกำลังใช้สมมติฐานอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือที่เป็นไปได้? - จดบันทึกสิ่งที่คุณค้นพบ การจดบันทึกจะช่วยกระตุ้นความคิดที่ลึกซึ้งและช่วยค้นพบสิ่งที่อาจนึกไม่ถึง
12 คำถามเพื่อการเปลี่ยนแปลง เราสามารถนำคำถามเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้หลากหลาย โดยใช้คำถามได้ 3วิธี คือ 1. เป็นชุดคำถามที่ช่วยให้คุณจัดการสถานการณ์ใดๆก็ตามที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง หรือต้องการปรับปรุงให้ดีขึ้น 2. อ่านคำถามอย่างพินิจพิเคราะห์ในคำถามที่หลงลืมไป 3. คุณสามารถย้อนกลับไปดูคำถามได้ เมื่อคุณต้องการหาคำถามที่ถูกต้อง
โฆษณา