24 ก.ค. 2021 เวลา 07:12
“วันอาสาฬหบูชา”
คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนกรกฎาคมหรือเดือนสิงหาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน
วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์
บังเกิดพระอริยสงฆ์ คือ พระโกณฑัญญะ โดยพระพุทธเจ้าบวชให้ เรียกว่า เอหิภิกษุอุปสัมปทา ทำให้วันนี้ พระรัตนตรัยครบ 3 ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
มีแสตมป์ที่ออกในวันอาสาฬหบูชา ดังนี้ครับ
ชุดแรก ชุด วันอาสาฬหบูชา 2537
วันแรกจำหน่าย 22 กรกฎาคม 2537
พิมพ์ที่ The Government Printing Bureau, Ministry of Finance, Japan
ขนาดฟันแสตมป์ : 13 1/2
ขนาด : 45x27 มิลลิเมตร
วิธีการพิมพ์ : ลิโธกราฟี่
แสตมป์อาสาฬหบูชา 2537
จัดพิมพ์ชนิดราคา 3 บาท จำนวน 2,000,000 ดวง
ภาพพุทธประวัติในขณะที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ และบังเกิดเอหิภิกขุอุปสัมปทาซึ่งนับเป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัยครบองค์ 3 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (จำลองแบบจากภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดทองธรรมชาติ กรุงเทพฯ)
ชุดที่สอง ชุด อาสาฬหบูชา 2540
วันแรกจำหน่าย 19 กรกฎาคม 2540
พิมพ์ที่ Helio Courvoisier S.A., Switzerland
ขนาดฟันแสตมป์ : 11 1/2
ขนาด : 33x48.5 มิลลิเมตร
วิธีการพิมพ์ : โฟโตกราวูร์
แสตมป์อาสาฬหบูชา 2540
จัดพิมพ์ชนิดราคา 3 บาท, 4 บาท, 6 บาท, 7 บาท จำนวนชนิดราคาละ 3,000,000 ดวง
เป็นภาพวาดที่ชนะการประกวดในงานสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย 2538 หัวข้อ “ทศชาติชาดก”
ชนิดราคา 3 บาท ภาพ มโหสถชาดก
ชนิดราคา 4 บาท ภาพ ภูริทัตชาดก
ชนิดราคา 6 บาท ภาพ จัทรชาดก
ชนิดราคา 7 บาท ภาพ นารถชาดก
นอกจากนี้ยังแสตมป์วันอาสาฬหบูชา มีอีก 2 ชุด ที่เคยนำมาเสนอ คือ
วันอาสาฬหบูชา 2543 เป็นรูปพระพุทธรูปประจำวันอาทิตย์
วันอาสาฬหบูชา 2546 เป็นภาพพระพุทธรูปประจำวันพุธ
ขอบคุณที่ติดตามครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา