24 ก.ค. 2021 เวลา 13:37 • หนังสือ
วันนี้ผมจะมารีวิวและสรุปหนังสือที่มีชื่อว่า ‘Tiny Habits’
หนังสือเล่มนี้เขียนโดยดร. บีเจ ฟ็อกก์
แปลโดยคุณ พอหทัย อภิรัชฎาพร
.
หนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับการสร้างนิสัยใหม่ๆในขีวิต
ตามชื่อเลยครับจะเป็นการเริ่มต้นนิสัยเล็กๆให้กับตนเอง
เพื่อการทำนิสัยที่ใหญ่มากยิ่งขึ้น
ผ่านกระบวนการสร้างนิสัย 7 ขั้นตอน ที่จะเห็นได้ในรูปภาพครับ
1
ความรู้สึกหลังอ่าน
หนังสือเล่มนี้ยอมรับตอนแรกเลยว่า
มันดูหนาสำหรับการอธิบายเรื่องการสร้างนิสัย
แต่พอได้อ่านก็ได้รู้ว่า หนังสือเล่มนี้อธิบายได้ดีมากๆครับ
เริ่มจากการอธิบายว่าพฤติกรรมของเราจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
อธิบายทุกอย่างที่ควรรู้ สิ่งไหนทำแล้วจะทำให้นิสัยอยู่ได้ไม่นาน
เราควรเริ่มอย่างไร ควรทำอย่างไร มีการเน้นการสร้างกำลังใจ
ฉลองความสำเร็จทุกครั้งเมื่อทำได้ซึ่งเป็นส่วนที่ผมชอบมากครับ
ที่ผมคิดว่าน่าทึ่งคือ การทำสิ่งเล็กๆนี้มันสามารถส่งผลถึงคนอื่นได้ครับ
การยกตัวอย่างคนที่เริ่มนิสัยเล็กๆ แต่ทำให้ลูกของเขาเปลี่ยนนิสัยได้
อีกอย่างคือ ใครคิดไม่ออกมีตัวอย่างให้ลองทำเยอะมากๆครับ
แนะนำครับ 👍
ในโพสต่อไปจะมาบอกกันนะครับ
ว่าความเหมือนความต่างของ ‘Tiny Habits’ และ ‘Atomic Habits’
จะเป็นอย่างไร
ใครสนใจพิมพ์ ‘อยากรู้’ ไว้ในคอมเมนท์ได้เลยครับ
โมเดลพฤติกรรมของฟ็อกก์
พฤติกรรมเราจะเกิดได้จาก 3 ปัจจัยครับ
1 Motivation(แรงจูงใจ)
2 Ability(ความสามารถ)
3 Prompt(สัญญาณ)
2
และจากกราฟแสดงให้เห้นถึงปัจจัยของพฤติกรมเลยครับ
ตรงเส้นโค้งจะเป็นส่วนที่แยกระหว่างทำได้และทำไม่ได้
เช่น หากเรามีแรงจูงใจที่ต่ำและทำได้ยาก เราจะสามารถทำได้
แต่ถ้าแรงจูงใจมากและทำได้ง่าย เราจะสามารถทำได้ครับ
1
ขั้นตอนการออกแบบพฤติกรรม
1 ระบุความปรารถนาให้ชัดเจน.
2 มองหาตัวเลือกพฤติกรรม
3 จับคู่ตัวเองกับพฤติกรรม
4 เริ่มต้นจากเล็กๆ.
5 หาสัญญาณที่ดี
6 ฉลองความสำเร็จ
7 แก้ปัญหา ทำซ้ำ และขยายขอบเขต
3
ขั้นตอนที่ 1 ระบุความปรารถนาให้ชัดเจน
ให้คิดถึงสิ่งที่เราต้องการ ผลลัพธ์สิ่งที่เราต้องการ
พอเขียนเสร็จให้ถามอีกทีด้วยว่า
‘นี่คือสิ่งที่เราต้องการใช่หรือไม่’
ขั้นตอนที่ 2 มองหาตัวเลือกพฤติกรรม
เจาะจงมากขึ้นผ่านการระบุพฤติกรรมที่สอดคล้องกับผลลัพธ์
ผ่าน โมเดลฝูงผึ้งพฤติกรรม
เช่น หากต้องการลดความเครียดทำอย่างไร
ยืดเส้นยืดสายหลังประชุม พอเขียนเสร็จหนึ่งอย่างให้บอกว่า ‘เยี่ยม’
ให้เขียนออกมาให้ได้มากที่สุด
เพราะแต่ละคนก็มีวิธีแก้ไขหรือฝึกไม่เหมือนกัน
แล้วเขียนต่อไปเรื่อยๆ ยิ่งเยอะ ยิ่งครอบคลุมและชัดเจน
1
ขั้นตอนที่ 3 จับคู่ตัวเองกับพฤติกรรม
เป็นการจับคู่พฤติกรรมที่เราต้องการ
โดยวิธีการที่ดร.ฟ็อกซ์นะนำเรียกว่า ‘แผนภูมิโฟกัส’
โดยมีวิธีทำคือ
ก่อนจะเริ่มขั้นตอนให้ทำตารางแบบในรูปก่อน
จากนั้นนำพฤติกรรมที่ได้เขียนใส่บัตรคำ
🎯 1 ให้ดูในแนวตั้งก่อนว่าพฤติกรรมนั้นส่งผลมากหรือน้อยกับผลลัพธ์นั้น
หากมีผลน้อยก็ไว้ล่างๆ มีผลมากก็ไว้บนๆ
🎯 2 ให้ดูในแนวนอน คือดูบัตรคำหรือพฤติกรรมในแผนภูมิ ว่าเราสามารถทำได้หรืออยากทำหรือไม่
หากน้อยก็ไว้ด้านซ้ายๆ ถ้ามากก็ไว้ด้านขวาๆ
แต่จุดประสงค์ของแผนภูมิโฟกัส คือ การทำสิ่งที่ง่าย เราสามารถทำได้แม้ในวันที่เราเร่งรีบ
และเรียกสิ่งนั้นว่า ‘พฤติกรรมเหรียญทอง’
เราจะหาพฤติกรรมเหรียญทองอย่างไร
มันคือบริเวณมุมบนขวาของแผนภูมินั่นเองครับ
1
ขั้นตอนที่ 4 เริ่มต้นจากเล็กๆ
คุณฟ็อกก์มีสูตรอยู่ครับในการที่จะเริ่มทำสิ่งใหม่ๆโดยเริ่มจากเล็กๆ
คือ การหากิจกรรมปักหมุด(ขั้นตอนที่ 5 หาสัญญาณที่ดี)
คือการที่เราหากิจกรรมที่เราทำเป็นประจำทุกวัน
ได้หมดเลยนะครับไม่ว่าจะเป็น ลุกจากเตียง เปิดประตู เป็นต้น
จากนั้นให้เรากำหนดจากผลลัพธ์เราย่อยๆครับ
ผมจะยกตัวอย่างกระบนการนี้เลย
เช่น เมื่อผมมานั่งบนโต๊ะ(กิจกรรมปักหมุด)
ผมจะเปิดหนังสือ(นิสัยเล็กๆ)
สายโซ่ความสามารถ เป็นสิ่งที่จะทำให้เราทำพฤติกรรมนั้นได้ยากครับ
ขั้นตอนที่ 5 สัญญาณที่ดี
โดยสัญญาณในที่นี้มี 3 แบบ คือ
1 สัญญาณบุคคล
จะได้ผลดีเฉพาะเรื่องคอขาดบาดตายหรือความอยู่รอดเท่านั้น เช่น การกินและการนอน
1
2 สัญญาณสิ่งแวดล้อม
เป็นสัญญาณที่เหมาะกับการกระทำครั้งเดียว เช่น การลงทะเบียนต่างๆเป็นต้น
1
3 สัญญาณการกระทำ
เป็นสัญญาณที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนนิสัยใหม่ เพราะเป็นการใช้กิจวัตรหรือสิ่งที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว
จากในหน้าที่แล้วที่อธิบายไว้คือ กิจกรรมปักหมุด(หลังจาก ...)
ขั้นตอนที่ 6 ฉลองความสำเร็จ
เป็นตัวที่ต่อจากการทำนิสัยเล็กๆนะครับ
คือเมื่อเราทำนิสัยใดได้ แม้จะเพียงเล็กน้อย แต่ขอให้เราฉลองมันครับ
ฉลองในที่นี้ คือ การฉลองชัยที่ทรงพลัง คือให้นึกถึงตอนที่เราได้อะไรตามที่ต้องการ หรือ ทีมที่เราเชียร์ชนะเป็นอย่างไร
เราดีใจอย่างไร แบบนั้นแหละครับ คือการฉลองชัยที่ทรงพลัง
ถามว่ามันดีอย่างไร
มันดีครงที่จะเป็นประสบการณ์ให้เราติดตัวไปกับนิสัยนั้นๆ
เมื่อเราดีใจ ภูมิใจ เราจะทำสิ่งนั้นได้เรื่อยๆยาวนานครับ
1
ขั้นตอนที่ 7 แก้ปัญหา ทำซ้ำและขยายขอบเขต
เมื่อเราทำแล้วไม่สำเร็จสามารถแก้ไข ทำซ้ำหากมันดี
หรือถ้าทำสิ่งนั้นจนเป็นนิสัยแล้วขยายเปลี่ยนไปทำนิสัยอื่นๆได้ครับ
คลิปรีวิวที่น่าสนใจเพิ่มเติมครับ
ขอบคุณสำหรับการรับชมครับ
โฆษณา