25 ก.ค. 2021 เวลา 04:28 • สุขภาพ
โรคเก๊าท์
4
เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริคสะสมมากเกินไป จนตกตะกอนเป็นผลึกยูเรทตามเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายโดยเฉพาะภายในข้อต่อและพังผืด รอบๆข้อและไต
2
โรคเก๊าท์
ปัจจัยที่กระตุ้นให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงจนตกตะกอนเป็นผลึก ได้แก่
- การรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตส
- อาการเจ็บป่วยที่มีผลต่อการสร้างเซลล์เพิ่มขึ้น เช่น โรคมะเร็ง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) โรคสะเก็ดเงิน
- อาการเจ็บป่วยที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างกรดยูริกขึ้นมามากกว่าปกติ ขณะเดียวกันก็ลดความสามารถในการกำจัดกรดยูริกออกจากร่างกาย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไต
1
- การใช้ยาบางชนิด ที่ส่งผลให้ไตขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้น้อยลง
โรคเก๊าท์สามารถพบได้ตั้งแต่เด็ก แต่ส่วนใหญ่จะพบในเพศชายอายุ 30-40 ปี ขึ้นไปเพราะโรคเก๊าท์จะต้องใช้เวลาในการสะสมกรดยูริกนานเป็น 10 ปีกว่าจะแสดงอาการ และสาเหตุที่ผู้ชายเป็นโรคเก๊าท์มากกว่าผู้หญิงถึง 10 เท่า เพราะผู้ชายดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าผู้หญิง
ในส่วนของผู้หญิง จนกว่าประจำเดือนจะหมด สำหรับผู้หญิงจะต่างกับผู้ชาย ผู้หญิงจะเป็นโรคเก๊าท์ในวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว เพราะช่วงที่มีประจำเดือนอยู่นั้นจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งจะช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกาย ดังนั้นผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือนจะไม่เป็นโรคเก๊าท์ แต่พอหลังประจำเดือนหมดไปประมาณ 5-10 ปี ก็จะเริ่มมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้
อาการของโรคเก๊าท์
สำหรับโรคเก๊าท์ปฐมภูมิ แบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ
- ระยะที่ไม่มีอาการ ตรวจพบกรดยูริคในเลือดสูงเท่านั้นซึ่งในเพศชายจะเริ่มมีกรดยูริคสูงตั้งแต่อายุ 14-15 ปี หรือเริ่มเป็นหนุ่ม ในเพศหญิงจะเริ่มสูงหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว
- ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน โดยมักเริ่มปวดบวมที่ข้อเท้าหรือหัวแม่เท้า อาการปวดข้อรุนแรงมากจนเดินไม่ได้หรือเดินลำบาก หากรับการรักษาอาการจะหายสนิทได้ภายใน 1-3 วัน หากปล่อยไว้ก็อาจหายเองได้ภายใน 4-6 วัน โดยข้ออักเสบจะหายเป็นปกติ
- ระยะเป็นๆ หายๆ อาการข้ออักเสบจะกำเริบเป็นซ้ำที่เดิมเป็นๆหายๆ เริ่มแรกอาจกำเริบปีละ 1-2 ครั้ง ต่อมาถี่ขึ้นเป็นปีละ 4-5 ครั้ง ข้ออักเสบจะเพิ่มจำนวนขึ้นจาก 1-2 ข้อ, 3-4 ข้อ จนเป็นหลายๆข้อ เช่น ที่ข้อเท้า 2 ข้าง, เข่า ช่วงเวลาที่ข้ออักเสบจะยาวขึ้น เช่น เป็นครั้งละ 5-7 วัน, 7-10 วัน เป็นต้น
1
- ระยะข้ออักเสบเรื้อรัง มักมีข้ออักเสบหลายข้อ และเป็นตลอดเวลา ไม่มีช่วงเว้นว่างหายสนิทอีกระยะนี้มักจะมีปุ่มก้อนขึ้นตามข้อต่างๆที่มีอาการอักเสบ เช่น ที่ตาตุ่มของเท้า หัวแม่เท้า ข้อศอก เข่า ข้อมือ เป็นต้น ปุ่มเหล่านี้ คือ ก้อนผลึกยูเรทที่สะสมมากขึ้นๆ บางครั้งจะแตกออกเป็นสารขาวๆ คล้ายยาสีฟันไหลออกมา หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยจะมีข้อพิการผิดรูปปวดทุกข์ทรมานมาก และอาจมีโรคไตวายแทรกซ้อนได้ อาการจากระยะที่ 1 จนถึงระยะที่ 4 อาจใช้เวลาหลายสิบปี แต่ในรายที่รุนแรงอาจใช้เวลาเพียง 5-10 ปี เท่านั้น และหากได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้องจนเกิดภาวะไตวายแทรกซ้อนยิ่งจะทำให้เกิดโรคเก๊าท์เป็นรุนแรงมากขึ้นอีกด้วย
1
รักษา
แนวทางการรักษาโรคเก๊าท์คือการลดกรดยูริกในเลือดให้ต่ำลง ซึ่งทำได้โดยการรับประทานยาละลายผลึกกรดยูริกแล้วให้ร่างกายขับออก เมื่อกรดยูริกลดต่ำลงก็จะเกิดการอักเสบน้อยลง
3
ทั้งนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะเป็นการรักษาอาการอักเสบเฉียบพลันแล้ว ยังเป็นการป้องกันการกลับมาสะสมใหม่และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรค รวมถึงการเกิดปุ่มหรือก้อนผลึกกรดยูริกในเนื้อเยื่อที่เรียกว่าก้อนโทฟัส (tophus) ซึ่งทำให้ดูไม่สวยงาม
1
- อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
เนื่องจากกรดยูริกจะได้จากการเผาผลาญสารพิวรีน ดังนั้นการรักษาโรคเก๊าท์จึงต้องควบคุมสารพิวรีนในอาหาร
2
- อาหารที่มีปริมาณพิวรีนสูง ควรหลีกเลี่ยง
2
เครื่องในสัตว์ทุกชนิด เนื้อสัตว์ปีก ไข่ปลา ปลาดุก ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคโคเรล ปลาอินทรีย์ กุ้ง หอย ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ผักยอดอ่อนบางประเภท เช่น กระถิน ชะอม สะเดา ยอดมะพร้าวอ่อน น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน เห็ด กะปิ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน
3
- อาหารที่มีปริมาณพิวรีน ปานกลาง รับประทานได้บ้าง
ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากระพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ถั่วลันเตา หน่อไม้ ไบขี้เหล็ก สตอ ผักโขม ดอกกะหล่ำ ปลาน้ำจืด (ยกเว้นปลาดุก)
2
- อาหารที่มีพิวรีนน้อยหรือไม่มีเลย รับประทานได้
1
นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ธัญญพืชต่างๆ ผักต่างๆ ผลไม้ต่างๆน้ำตาล ไขมัน ผลไม้เปลืองแข็งทุกชนิด วุ้นข้าว ขนมปังไม่เกิน 2 แผ่นต่อมื้ออาหาร เนยเหลว เนยแข็ง
2
#สาระจี๊ดจี๊ด
ถ้ามีอาการปวดห้ามบีบนวดเด็ดขาด เพราะการบีบนวดจะทำให้กรดยูริกวิ่งเข้ามาในข้อเยอะมากขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบมาก
 
#สาระจี๊ดจี๊ด
ช่วงที่ข้ออักเสบ ปวด บวม ไม่ควรออกกำลังกาย ต้องรักษาให้ดีขึ้นก่อนแล้วค่อยเริ่มออกกำลังกายทีละนิด ควรออกกำลังกายทั่วไปที่ไม่เน้นหนักไปที่ข้อ
1
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา