25 ก.ค. 2021 เวลา 19:16 • ประวัติศาสตร์
พระประวัติของพระนางมารี อ็องตัวเน็ตต์ตอนที่ ๑ จากเจ้าหญิงออสเตรียสู่พระราชินีเเห่งฝรั่งเศส
หลายๆ คนรู้จักการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) ดี เเละบุคคลที่สำคัญมากในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสอย่างเลี่ยงไม่ได้เลยคือ "มารี อ็องตัวเน็ตต์" (Marie Antoinette) พระองค์ทรงเป็นพระอัครมเหสี (Queen Consort) ในพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ เเห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ (Louis XVI,King of France and Navare)
พระนางนั้นเดิมทีเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของราชวงศ์ฮัพส์บวร์ค (House of Habsburg) ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในจักรพรรดิฟรานซิสที่ ๑ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Francis I,Holy Roman Emperor) และพระนางมาเรีย เทเรเซียจักรพรรดินีเเห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Maria Theresa,Holy Roman Empress) โดยเมื่อเเรกประสูตินั้นทรงมีพระนามว่าอาร์คดัชเชสส์มาเรีย อันโทเนีย โยเซฟา (Archduchess Maria Antonia Josepha) เเห่งออสเตรีย ซึ่งในขณะนั้นออสเตรียเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) เเต่ราชวงศ์ของพระองค์นั้น (ราชวงศ์ฮัพส์บวร์ค) ได้ปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เเละรัฐบริวารต่างๆ ด้วย
เมื่อมีพระชันษา ๑๐ ปี ด้านภาษาเยอรมันซึ่งเป็นภาษาที่พูดกันในออสเตรียและทั่วจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นั้นยังทรงไม่เเข็งเเรงดีนัก พระองค์ทรงมีความสนพระทัยในด้านศิลปะมากๆ ทรงเคยพบศิลปินดาวรุ่งอย่างวอล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) มาเเล้วในช่วงที่ทรงมีพระชันษา ๗ ปี
ในปี คริสตศักราช ๑๗๗๐ หรือทางไทยเราคือรัชกาลของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕ เเห่งฝรั่งเศส (Louis XV) ทรงส่งพระราชสาส์นไปยังพระจักรพรรดินีเเห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเเสดงไมตรีที่มีต่อกันระหว่างออสเตรียและฝรั่งเศส ความจริงสองชาตินี้เเทบจะไม่เคยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเลย ในช่วงหลังๆ โดยเฉพาะในช่วงที่ฝรั่งเศสเรืองอำนาจ สงครามใหญ่เกิดขึ้นบ่อยมาก ทั้งปัญหาในราชสมบัติสเปน ราชสมบัติโปเเลนด์ ราชสมบัติออสเตรีย สงครามเจ็ดปีเเละอื่นๆ ซึ่งเเน่นอนว่าเป็นสงครามใหญ่มากเเละชาติต่างๆ พากันเกรงกลัวกับทั้งคิดว่าการที่ฝรั่งเศสเรืองอำนาจมากไปนั้นจะเป็นภัยต่อยุโรป ทางราชวงศ์ฮัพส์บวร์คซึ่งปกครองออสเตรียและเคยปกครองสเปนนั้นเเทบจะไม่เคยมีความสัมพันธ์ที่ดีเท่าไหร่นัก ประกอบกับบริเตนใหญ่ (Great Britain) หรืออังกฤษที่ในช่วงหลังๆ ระเเวงอำนาจของฝรั่งเศส ถึงขนาดเป็นตัวทะเลาะกันเเทบจะเป็นตัวหลักๆ โดยเฉพาะในอาณานิคมซึ่งอยู่ในดินแดนโพ้นทะเล ส่วนศัตรูหลักๆ ของฝรั่งเศสบนยุโรปเเผ่นดินใหญ่หลักๆ เลยคือออสเตรีย เเต่ในช่วงสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย (War of Austrian Succession) ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (อีกชื่อหนึ่งของสหราชอาณาจักรในเวลานั้น) หรืออังกฤษเป็นพันธมิตรกับออสเตรีย เเน่นอนว่าอังกฤษมองว่าราชวงศ์ฮัพส์บวร์คมีอำนาจไม่มากพอที่จะต้านฝรั่งเศสได้ เเละการกระทำของบริเตนใหญ่หลายๆ อย่างเหมือนเป็นการช่วยเเบบไม่จริงใจกับทั้งทำให้ราชวงศ์ฮัพส์บวร์คออสเตรียไม่พอใจหลายต่อหลายครั้ง ทำให้เกิดการปฏิวัติทางการทูตในเวลาต่อมาซึ่งราชวงศ์ฮัพส์บวร์คออสเตรียไม่พอใจกับการกระทำของอังกฤษทั้งมองว่าอังกฤษเป็นศัตรู เเละต้องการเอาฝรั่งเศสซึ่งมีอำนาจมากพอบนยุโรปเเผ่นดินใหญ่มารักษาราชวงศ์ฮัพส์บวร์คเอาไว้ จากเดิมที่อังกฤษหรือบริเตนใหญ่เป็นพันธมิตรกับราชวงศ์ฮัพส์บวร์ค กลับสลับไปอยู่ข้างปรัสเซีย (ในเวลาต่อมาคือเยอรมนี รัฐนี้โดนยุบไปเเล้วเเละไม่มีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกหลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒) ซึ่งเเต่เดิมนั้นปรัสเซียเเละฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรกันเเละต้องการทำลายราชวงศ์ฮัพส์บวร์คอย่างสิ้นอำนาจ เเต่ดันกลายเป็นว่าฝรั่งเศสเตะตัวออกห่างจากปรัสเซียเเล้วมาเป็นพันธมิตรกับออสเตรียเเทน โดยที่ฝรั่งเศสยังมีเจตนารมณ์เดิมคือทำลายอำนาจของอังกฤษ ส่วนเจตนารมณ์ของปรัสเซียคือต้องการทำลายอำนาจราชวังฮัพส์บวร์ค ซึ่งเเน่นอนว่าการที่ฝรั่งเศสดึงราชวงศ์ฮัพส์บวร์คมาเป็นพันธมิตรหรือการที่ปรัสเซียดึงอังกฤษมาเป็นพันธมิตรนั้น ทั้งนี้เพื่อต้องการเพิ่มอำนาจให้กับตัวเองเเละทำลายอำนาจของอีกฝั่ง เพราะฉะนั้นทางออสเตรียจึงต้องการสานสัมพันธ์อันดีระหว่างฝรั่งเศสด้วย ดังที่กล่าวไปคือพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕ นั้นทรงส่งพระราชสาส์นไปยังจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮัพส์บวร์คออสเตรีย และพระนางมาเรีย เทเรซาเองเเห่งออสเตรียก็ทรงยอมรับเเละยอมเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นการยุติความบาดหมางระหว่างทั้งสองที่เกิดขึ้นยาวนานมาตั้งเเต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ เเละเพื่อเเสดงถึงไมตรีอันดีต่อกัน จึงทรงสู่ขอพระสุณิสาหรือลูกสะใภ้จากพระนางมาเรียเทเรซา เพื่อมาอภิเษกสมรสกับเจ้าชายหลุยส์ - ออกัสต์ (Peine Louis Auguste) รัชทายาทของพระองค์ พระนางมาเรีย เทเรซาจึงทรงพระราชทานพระนางมาเรีย อันโทเนียไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕ เพื่อสมรสกับองค์รัชทายาทเเห่งราชอาณาจักรฝรั่งเศส ทั้งนี้ทรงเปลี่ยนพระนามเป็นภาษาฝรั่งเศสเป็น "มารี อ็องตัวเน็ตต์" (Marie Antoinette)
เเน่นอนว่าข้าราชสำนักเก่าหลายคนซึ่งเป็นข้าเก่ามานาน ได้เห็นถึงความบาดหมางระหว่างฝรั่งเศสและออสเตรียและรับไม่ได้ที่ฝรั่งเศสไปมีความสัมพันธ์กับออสเตรียหรือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เเน่นอนว่ามีข้าราชสำนักบางส่วนไม่ชอบพระนางมารี อ็องตัวเน็ตต์ เเต่ถึงอย่างนั้นด้วยพระรูปอันสิริโสภาคย์ จึงทำให้พระนางทรงได้รับความนิยมพอสมควร เเม้จะถูกมองว่าเป็นเจ้านายต่างชาติ การอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายหลุยส์ - ออกัสต์กับพระนางมารี อ็องตัวเน็ตต์เป็นไปอย่างฟุ่มเฟือยเเละมีความยิ่งใหญ่มาก อันเป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕ ซึ่งงานอภิเษกนั้นฟุ่มเฟือยสวนทางกับความเป็นอยู่ของราษฎร
พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕ ทรงเสด็จสวรรคตในปี ๑๗๗๔ ท่ามกลางปัญหาต่างๆ มากมายที่เเก้ไม่หายในราชสำนักฝรั่งเศส ในเวลานั้นเจ้าชายหลุยส์ - ออกัสต์ ทรงเสวยราชย์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เเห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ทรงพระนามว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ (Louis XVI) ซึ่งเรารู้จักพระองค์ดี เนื่องจากทรงเป็นกษัตริย์เเห่งฝรั่งเศสพระองค์สุดท้ายในยุคอองเซียง เรฌีม (Ancien Régime) เเละเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ส่วนมารี อ็องตัวเน็ตต์ ทรงขึ้นเป็นพระอัครมเหสีคอนสอร์ทเเห่งฝรั่งเศส โดยพระองค์ทรงอุปถัมภ์ข้าในพระองค์จากรัชสมัยของหลุยส์ที่ ๑๕ ซึ่งมีอิทธิพลต่อราชสำนักฝรั่งเศสหลายต่อหลายคน จากเดิมที่พื้นเพทรงเป็นชาวออสเตรียเเละมีอิทธิพลในราชสำนักน้อยมาก เเต่เมื่อทรงสร้างเครือข่ายอำนาจของพระองค์เเละอุปถัมภ์ข้าราชสำนักหลายคนทำให้ในเวลาต่อมาพระองค์ทรงมีอิทธิพลค่อนข้างสูงมาก
.
พระนางมารี อ็องตัวเน็ตต์นั้นเมื่อเข้ามาในราชสำนักฝรั่งเศสเเล้วทรงเป็นผู้ที่โปรดเเฟชั่นตามเเนวคิดยุโรปสมัยนั้น (เเฟชั่นในสมัยก่อนนั้นมักเป็นของชนชั้นสูง เพราะบางสิ่งบางอย่างที่เป็นเครื่องตกแต่งสงวนไว้เฉพาะชนชั้นสูงเท่านั้น จนกระทั่งหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีสิ่งพิมพ์มากมายเกิดขึ้นทั่วประเทศ นิตยสารเเฟชั่นต่างๆ ออกทุกสัปดาห์ เเน่นอนว่าเมื่อมีนิตยสารต่างๆ เเฟชั่นก็เริ่มกระจายสู่ชนชั้นล่างจนถึงปัจจุบันที่เเฟชั่นไม่ได้สงวนไว้สำหรับคนกลุ่มหนึ่งอีกต่อไป) ในยุคนั้นการเเต่งกายค่อนข้างฟูมาก ยิ่งมีความฟู่ฟ่าหรูหราเท่าไหร่ก็ย่อมเเสดงถึงอำนาจราชศักดิ์อันใหญ่หลวง ซึ่งขุนนางส่วนใหญ่ก็มักจะทำตามกระเเส เเต่ถึงอย่างนั้นก็มีขุนนางบางส่วนไม่ทำตาม เเน่นอนเลยว่าจะเป็นที่รังเกียจมากทั้งยังถูกมองว่าเป็นพวกล้าหลัง การปฏิวัติฝรั่งเศสนั้นสาเหตุก็เพราะการใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยสวนทางกับราษฎร ราชสำนักฝรั่งเศสในยุคนั้นถือเป็นเเบบอย่างของเเฟชั่นในราชสำนักอื่นๆ ในยุโรป หากราชสำนักฝรั่งเศสนิยมเเบบไหน เกือบทุกที่ก็จะปฏิบัติตามฝรั่งเศสเเทบทั้งหมด นอกจากนี้ตั้งเเต่รัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ (Louis XIV) เป็นต้นมา ฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางสินค้าฟุ่มเฟือยในยุโรปโดยเฉพาะเสื้อผ้าเเฟชั่นเเทนที่รัฐอิตาลีโบราณหลายๆ รัฐ เช่น เวนิส (Venetian Republic) เเละรัฐอิตาลีอื่นๆ เเน่นอนว่าฝรั่งเศสเป็นทั้งเเบบอย่างเเฟชั่นทั่วราชสำนักยุโรปเเละเป็นผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้เองด้วย เเน่นอนว่าพระนางมารีก็ทรงเป็นเเบบอย่างเดียวเช่นกัน พระองค์ทรงทำทรงพระเกศาเเบบ "ปูฟ" (Pouf) เป็นทรงผมที่ตั้งสูงสง่าขึ้นไปนอกจากนี้ประดับด้วยของตกเเต่งราคาเเสนเเพง เเละใช้น้ำหอมเป็นจำนวนมากในการตกเเต่ง เเน่นอนว่ามันมีราคาเเพงมากเเละชนชั้นสูงหลายๆ คนต้องการที่จะเเสดงถึงยศฐาบรรดาศักดิ์ที่มีเเละไม่ต้องการตกเทรนด์ จึงทำทรงผมเเบบเดียวกับพระนางมารี อ็องตัวเน็ตต์กันหมดเเละเป็นที่นิยมกันมากเลยทีเดียว เรียกได้ว่าทั่วราชสำนักยุโรปเลยก็ว่าได้
ทางพระนางมาเรีย เทเรซาซึ่งทรงเป็นพระราชมารดาในพระนางมารี อ็องตัวเน็ตต์เมื่อทรงทราบการกระทำอันฟุ่มเฟือยของพระนางมารี อ็องตัวเน็ตต์ จึงทรงส่งสาส์นตักเตือนการกระทำของพระนาง เพราะพระนางมารี อ็องตัวเน็ตต์ทรงเป็นชาวต่างชาติเเต่ได้ไปอาศัยอยู่ในราชสำนักฝรั่งเศส เพราะฉะนั้นพระนางก็ไม่ควรสร้างปัญหาให้ราชสำนักฝรั่งเศสด้วย เเต่พระนางมารี อ็องตัวเน็ตต์ก็มิได้ใส่พระทัยเเต่อย่างใดเเม้เเต่น้อย
รายการอ้างอิง
The French Revolution ปฏิวัติฝรั่งเศส. -- กรุงเทพฯ : ยิปซี กรุ๊ป, 2562.
Diplomatic Revolution | European history ,https://www.britannica.com/topic/Diplomatic-Revolution
โฆษณา