26 ก.ค. 2021 เวลา 10:25 • หนังสือ
"ขอแค่ขยัน คุณก็สามารถประสบความสำเร็จได้" 😒
"แค่ลงมือทำ เดี๋ยวก็เก่งขึ้นเอง เดี๋ยวก็สำเร็จได้เอง" 😒
.
.
คำ ๆ นี้ก็เป็นเรื่องจริงอย่างเถียงไม่ได้ และเชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยินคำนี้มาไม่น้อย 😏
.
แต่หากคุณมัวแต่ลงมือทำ แล้วทำซ้ำ ๆ เพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจเลยว่าคุณกำลังไปถูกทางอยู่รึเปล่า อย่างนี้ก็คงจะไม่ค่อยเวิร์คสักเท่าไหร่
.
ยกตัวอย่างการซื้อของซ้ำ ๆ ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่มีคุณภาพ แต่ก็ยังซื้ออยู่ สุดท้ายมันก็ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร 💉💉💉
.
สู้ไปทำอะไรที่จะเกิดประโยชน์กว่านี้น่าจะดีกว่า
.
ขยันอย่างเดียวคงจะไม่พอ แต่ต้องขยันอย่างถูกวิธีและถูกที่ด้วย 👍
.
วันนี้เรามีเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้คุณขยันอย่างไรให้มีคุณภาพ ไปกับเครื่องมือ PCDA
.
เครื่องมือ PDCA Cycle หรือ Deming Cycle ที่เป็นหลักการบริหารงานให้มีคุณภาพที่องค์กรทั่วโลกส่วนใหญ่นิยมใช้กัน
โดย PDCA Cycle เป็นวงจรที่พัฒนามาจากวงจรที่คิดค้นโดย Walter Shewhart ที่เป็นผู้บุกเบิกการใช้สถิติในวงการอุตสาหกรรม จากนั้น Edwards Deming ผู้เป็นปรมาจารย์ด้านการบริหารก็ได้นำเทคนิคนี้มาเผยแพร่ต่อจนทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
.
โดย PDCA นี้ย่อมาจาก
P ก็คือ Plan หมายถึง #การวางแผน การกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย และการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง
.
ยกตัวอย่างการที่นักกีฬาจะไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เขาก็ต้องมีการวางแผนและวางเป้าหมายเอาไว้ก่อนว่าจะต้องเตรียมตัวในการฝึกซ้อมอย่างไร นอนวันละกี่ชั่วโมง และกินอะไรบ้าง เพื่อเตรียมให้ร่างกายและจิตใจมีความพร้อมมากที่สุดเป็นต้น
D Do หมายถึง #การลงมือทำตามแผน ที่เราได้วางเอาไว้ เพราะการทำตามแผนจะช่วยให้เราเข้าใจงาน และสามารถดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่นและว่องไวมากกว่าการไม่ตั้งแผนเอาไว้เลย
.
แต่แค่การทำตามแผนที่ตั้งไว้อย่างเดียวคงจะไม่พอ แต่ต้องทำตามแผนได้อย่างสม่ำเสมแและมีวินัยด้วยถึงจะสำเร็จ
C Check หมายถึงการตรวจสอบงานที่เราได้ทำไปแล้วว่าเป็นไปตามที่เราต้องการ หรือได้มาตราฐานของเราหรือไม่ ซึ่งข้อนี้เราก็สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ มาช่วยตรวจสอบได้
.
ยกตัวอย่างกรณีของนักกีฬา ซึ่งเค้าสามารถตรวจสอบได้ โดยการเก็บสถิติที่ทำแต้มได้ ระยะเวลาในการฝึกซ้อมหรือแข่งขัน ซึ่งการตรวจสอบนี้ควรจะมีการจดบันทึกไว้ด้วยเสมอเพื่อให้ง่ายต่อการปรับปรุงและแก้ไขในครั้งต่อไป
A Action หมายถึง #การหาวิธีแก้ไขข้อบกพร่อง ของงานที่ตรวจสอบแล้ว ตามระยะเวลาที่เหมาะสม โดยการหาสาเหตุของความผิดพลาดนั้นและหาทางแก้ไขรวมไปถึงป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นมาอีก
#รู้หรือไม่ ว่าแท้จริงแล้วหลักการ PDCA นั้น มันคล้ายกับ อิทธิบาท 4 เสียมาก ๆ ด้วย ก็คือ
.
1.ฉันทะ ก็คือ การเต็มใจทำหรือการมี passion กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ ซึ่งอันนี้มันก็จะไปตรงกับ P หรือ plan ของเทคนิค PDCA เพราะถ้าเรามี passion เราก็จะพยายามคิดและวางแผนหรือเป้าหมายต่อสิ่งนั้น
.
2.วิริยะ คือ ความเพียรพยามและอดทน จะตรงกับ Do ซึ่งหมายถึงการลงมือทำ อาจจะต้องฝืนทำสักหน่อยในช่วงแรก ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะทุกการเปลี่ยนแปลงก็มีการฝืนทำเมื่อเริ่มต้นทั้งสิ้น
.
3.จิตตะ คือ การตั้งใจทำ หมายถึงการจดจ่อ เอาใจใส่ และรับผิดชอบในสิ่งที่เราทำ ซึ่งข้อนี้จะทำให้เราทำงานนั้น ๆ ได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน
.
4.วิมังสา คือ การเข้าใจทำ หมายถึงการทำอย่างเข้าใจ และนำมาวิเคราะห์ ตกตะกอนทางความคิด เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงงานให้มีคุณภาพมากยิ่งๆ ขึ้นไป
.
.
.
มาร่วมขยันอย่างมีคุณภาพไปด้วยกัน จะได้ไม่ทำอะไรที่ไม่เกิดประโยชน์และเสียเวลา
.
เพราะคนที่มีคุณภาพ จะนำทางไปสู่สังคมที่มีคุณภาพ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา