4 ส.ค. 2021 เวลา 12:30 • หนังสือ
สรุปหนังสือ “ฝึกสมองให้สมองไม่เหนื่อย”
4 เทคนิคง่าย ๆ ตั้งแต่การกิน การทำสมาธิ
ไปจนถึงการนอนหลับเพื่อช่วยลดความเหนื่อยล้าของสมอง
และกลับมาทำงานอย่างกระปรี้กระเปร่า
ผู้เขียน: อิชิกาวะ โยชิกิ
สรุปโดย นักเรียน สรุปให้ รุ่นที่ 5 คุณ Kun KunyaKorn
=====================
ไม่พลาดสรุปหนังสือดี ๆ กดติดตาม เพจสรุปให้
#ไม่พลาดโปรดีๆติดตามที่ Line: @saroophai
ตัวช่วยที่จะทำให้เราหลับได้ดีขึ้น คือ การทำให้อุณหภูมิร่างกายอยู่ในระดับที่เหมาะสม เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดลง สมองจะรู้สึกง่วง ระบบประสาทอัตโนมัติ พาราซิมพาทิติก(parasympathetic nervous system) ทำงานมากขึ้น ทำให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะผ่อนคลาย เช่น การเดินเล่น ยืดกล้ามเนื้อเบาๆ อาบน้ำอุณหภูมิห้อง ตัวขวางการนอนหลับที่ดี ได้แก่ แอลกอฮอล์ เนื่องจากร่างกายต้องขจัดแอลกอฮอลล์ออก สมองตื่นตัวมาก ทำให้สมองล้า และต้องตื่นกลางดึกเข้าห้องน้ำบ่อยๆ คาเฟอีน เป็นสารที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว มีฤทธิ์นาน5-7ชม. ดังนั้นไม่ควรรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนในช่วงบ่าย-เย็น แสงสว่าง แสงสว่างที่จ้า ทำให้การหลั่งฮอร์โมนเซราโทนินลดลง โดยฮอร์โมนนี้จะข่วยทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง ส่งผลให้รู้สึกง่วง หลับง่าบขึ้น นอกจากนี้จะช่วยให้ความดัน และระบบหายใจทำงานได้ตามปกติ
การจัดระเบียบร่างกาย ทำได้ง่าย เพียง 1. ปรับท่าทางขณะนั่งทำงาน โดยยืดตัวตรงขึ้น 2. ปรับสภาพโต๊ะทำงานให้เหมาะกับตัวเรา ให้หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับสายตาเรา วางแป้นพิมพ์ในระดับตัก เพื่อลดการยกแขนหรือไหล่ 3. ไม่นั่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ 30นาที 4. การดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ เป็นวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยทำให้เราลุกเดินไปเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น 5. การหายใจเข้าออกลึก ๆ จะทำให้เราสูดอากาศ เอาออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น ดังนั้นความเหนื่อยหรือง่วงจะลดลง 6. ฝึกแขม่วท้องขมิบก้น เวลาเดิน นอกจากจะทำให้บุคลิกภาพดีขึ้นแล้ว ทำให้เผลอหลังแอ่นลดลงอีกด้วย
การกินอาหารที่เว้นระยะห่างระหว่างมื้อนานเกินไป และกินอาหารในรูปแบบที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงอย่างรวดเร็ว ซึ่งร่างกายต้องลดอย่างรวดเร็วเช่นกัน ส่งผลให้หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิกับการทำงาน ง่วงนอน รู้สึกสมองไม่แล่น ดังนั้น ควรกินให้ครบ3มื้อ ไม่เว้นระหว่างมื้อนานๆ ทานของว่างระหว่างมื้อได้ เช่น ถั่ว โยเกิร์ต เป็นต้น และรูปแบบของคาร์โบไฮเดรต ที่มีกากใยสูง ค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น เปลี่ยนจากข้าวขาว เป็นข้าวกล้อง, เปลี่ยนจากน้ำแอปเปิ้ล เป็น ผลแอปเปิ้ล จะทำให้การย่อย การลำเลียง การดูดซึมเป็นไปอย่างช้า ๆ ระดับน้ำตาลในเลือดจึงค่อย ๆ เพิ่มขึ้นและลดลง ในมื้อเช้า ควรเลือกกินคาร์โบไฮเดรต ควบคู่กับโปรตีน เพราะโปรตีน ช่วยทำให้อิ่มนาน และระดับน้ำตาลไม่พุ่งสูงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับการกินคาร์โบไฮเดรตอย่างเดียว ในมื้อกลางวัน และมื้อเย็น ควรเลือกกินอาหารโดยเรียงลำดับจากค่าดัชนีน้ำตาลต่ำไปสูง คือ ผัก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลไม่สูงแบบกระทันหัน เลือกรับประทานอาหารที่มีค่าGIต่ำ รักษาสมดุลของกากใยอาหาร โปรตีน คาร์โบไฮเดรตให้ดี ไม่ควรกินดึกไป อย่างน้อย ๆ 2-4ชม.ก่อนนอน หากเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ให้เลือกอาหารย่อยและดูดซึมง่าย คืออาหารที่ค่าGIสูง แต่ปริมาณน้อย เช่น ข้าวใส่น้ำชา
ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ หมั่นฝึกสมาธิวันละ 5 นาที เพื่อฝึกการรับรู้ร่างกายและจิตใจ เพื่อให้เราสามารถอยู่กับปัจจุบันได้ง่ายขึ้น แม้งานที่เราทำจะสำคัญกับเราและคนรอบข้างเป้นอย่างมาก แต่ก็อย่าละเลยสุขภาพของตน ทั้งในแง่ของท่าทางในการนั่งทำงาน การหายใจ การกิน เพราะสุขภาพร่างกายที่ดี เป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง เมื่อร่างกายพร้อม สมองแจ่มใส ประสิทธิภาพการทำงานก็จะดียิ่งขึ้น
โฆษณา