28 ก.ค. 2021 เวลา 08:30 • ธุรกิจ
[วันนี้อยากเล่าเรื่อง...] มาสคอตแรกของแมคโดนัลด์ ก่อนจะเป็นโรนัลด์ แมคโดนัลด์ในปัจจุบัน
ถ้าได้แวะไปที่ร้านแมคโดนัลด์ ทุกคนจะรับรู้ได้ถึงการมีอยู่ของหุ่นตัวตลกชุดแดงเหลือง บางสาขาก็ยืนบางสาขาก็นั่งรอต้อนรับลูกค้าที่หน้าร้าน
ตัวตลกนี้มือชื่อว่า 'โรนัลด์ แมคโดนัลด์' ค่ะ
เพราะความเคยชินตัวตลกที่ยืนนิ่งนั่งนิ่งจึงถูกมองข้ามไปบ้าง
แต่ถ้าพูดถึงแมคโดนัลด์สิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องนึกถึงนอกจากเมนูก็คงเป็นตัวตลกตัวนี้แน่ๆ แต่รู้หรือไม่ว่าแมคโดนัลด์เคยใช้มาสคอตอื่นก่อนที่จะเป็น โรนัลด์ แมคโดนัลด์ด้วยนะคะ
วันนี้ผู้เขียนจะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับมาสคอตแรกของแมคโดนัลด์ และที่มาของแบรนด์ดังระดับโลกแบรนด์นี้ กับเรื่องเล็กๆบางเรื่องที่ทุกคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน
เพื่อเพิ่มอรรถรสในการกินแมคฯครั้งถัดไปของทุกคน ไปอ่านกันเลยค่ะ😊👉
(ขอบคุณภาพจาก cdn.winsightmedia.com)
📍เริ่มที่ ที่มาของ'แมคโดนัลด์' 📍ก่อนเลยนะคะ
❕❕รู้หรือไม่...เริ่มแรกแมคโดนัลด์ไม่ได้ขายแฮมเบอร์เกอร์ !!?
ในปี ค.ศ. 1940 สองพี่น้องตระกูล McDonald ชื่อ ริชาร์ดและมัวรีส (Richard and Maurice McDonald) ได้เปิดร้านอาหารแบบไดร์ฟทรู(ขับรถเข้าไปสั่งโดยไม่ต้องลงจากรถ) ที่ซานเบอร์นาดิโนเมืองเล็กๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยใช้นามสกุลและเมนูหลักตั้งเป็นชื่อร้าน คือ 'McDonald’s Bar-B-Que'
✔ใช่แล้วค่ะ เริ่มแรกแมคโดนัลด์ไม่ได้ขายแฮมเบอร์เกอร์ แต่ขายบาร์บีคิวเป็นเมนูหลัก
1
และเพราะพวกเราเคยช่วยพ่อตั้งแผงขายฮอตด็อกมาก่อนเลยไม่อยากทิ้งมันไป เมนูฮอตด็อกจึงเป็นเมนูเสริมของร้าน รวมถึงแฮมเบอร์เกอร์ก็เช่นกัน จากเมนูทั้งหมดที่มี 25 เมนู
📍แมคโดนัลด์กับการพลิกโฉมร้านอาหารสู่วงการฟาสต์ฟู้ด📍
ธุรกิจของทั้งสองพี่น้องดำเนินไปได้ดีเพราะรูปแบบร้านอาหารไดร์ฟทรูกำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป 8 ปี ในปี ค.ศ. 1948 พวกเขาตัดสินใจปิดปรับปรุงร้านเป็นเวลา 3 เดือน เนื่องจากกำไรน้อยเพราะต้นทุนการจ้างพนักงานสูง
สาเหตุมาจากรูปแบบการให้บริการ เมื่อลูกค้ามาจอดรถ พนักงานต้องมารับออเดอร์และกลับไปสั่งที่ครัวก่อนนำมาให้ลูกค้า ต้องเดินไปเดินมาใช้เวลานานและจำนวนพนักงานมาก รวมถึงเมนูอาหารที่มีมากเกินทำให้ต้องเตรียมวัตถุดิบจำนวนมากและลูกค้าใช้เวลาในการเลือกนาน และที่สำคัญเมนูหลักของพวกเขาคือ บาร์บีคิว เป็นเมนูที่ทำไว้ก่อนล่วงหน้าไม่ได้และต้องใช้เวลาในการทำ สองพี่น้องจึงต้องปิดปรับปรุงเพื่อคิดระบบการให้บริการใหม่
(ขอบคุณภาพจาก trueplookpanya.com)
✔เพราะปัญหา มีไว้แก้ไข จึงเป็นที่มาของการพัฒนา
เมื่อกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง ทุกอย่างเปลี่ยนไปจากเดิม ตั้งแต่ชื่อร้านที่ถูกลดลงเหลือเพียง McDonald’s เท่านั้น และใช้สัญลักษณ์ตัวเอ็มขนาดใหญ่จากอักษรตัวแรกของชื่อ สร้างเป็นซุ้มโค้งสีเหลืองติดหลอดไฟส่องสว่างที่เรียกว่า ‘Golden Arc’ เพื่อเป็นจุดดึงดูดให้ผู้ขับรถเลี้ยวจอด จนเป็นที่มาของโลโก้แมคโดนัลด์ในปัจจุบัน
👉 เมนู : จำนวนเมนูลดลงเพื่อให้ลูกค้าใช้เวลาในการเลือกน้อยที่สุดและชูแฮมเบอร์เกอร์ที่ขายดีที่สุดและได้กำไรสูงสุดเป็นเมนูหลัก เมนูของร้านมีแค่แฮมเบอร์เกอร์ ชีสเบอร์เกอร์ มันฝรั่งทอด พาย และเครื่องดื่มมิลค์เชคที่เสิร์ฟในแก้วทรงกรวย ด้วยเหตุผลคือไม่อยากให้ลูกค้าวางแก้ว จะได้รีบดื่มรีบไป (เหมือนไล่เลย 😅) นอกจากนี้ยังเปลี่ยนภาชนะเป็นแบบใช้แล้วทิ้งด้วยค่ะ
(ขอบคุณภาพจาก dailymail.co.uk)
👉 รูปแบบการบริการ : จากเดิมลูกค้าไม่ต้องลงจากรถเลย แต่แบบใหม่ลูกค้าสามารถเดินลงจากรถมาสั่งเองที่เคาเตอร์หน้าครัว รออาหาร และยกไปทานเองโดยไม่ต้องรอพนักงานเดินไปสอบถามที่รถเหมือนเก่า
👉 รูปแบบการทำงาน : ประยุกต์ใช้ระบบสายพานในอุตสาหกรรมโรงงานมาใช้กับการเตรียมวัตถุดิบ พนักงานทุกคนจะรับผิดชอบหน้าที่เพียงอย่างเดียวตรงหน้าให้ตรงตามสูตรที่มีโดยไม่ต้องอาศัยเชฟฝีมือดี เป็นการแบ่งงานกันทำ เช่น นายเอย่างเนื้อ นายบีรับเนื้อมาประกบใส่ผักราดซอส นายซีรับออเดอร์หน้าครัว นายดีทำมิลค์เชค เป็นต้น
โดยสองพี่น้องเรียกระบบที่พวกเขาคิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหานี้ว่า
👉 'Speedee Service System'👈
(ขอบคุณภาพจาก logisticsmgepsupv.files.wordpress.com)
ถ้าใครนึกภาพการทำงานในครัวของแมคโดนัลด์ในยุคนั้นไม่ออก ดูคลิปนี้เลยค่ะ😊🎬👇
คลิปนี้เป็นส่วนหนึ่งจากภาพยนตร์เรื่อง The founder เนื้อเรื่องกล่าวถึงเรย์ คร็อก ผู้ที่อยู่เบื้องหลังทำให้แมคโดนัลด์มีสาขานับไม่ถ้วนค่ะ
📍'สปีดี้แมน' ตัวแทนของระบบว่องไว📍
(ขอบคุณภาพจาก i.pinimg.com)
นอกจากระบบการให้บริการที่เปลี่ยนไปทั้งหมด สิ่งหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาคือมาสคอต ที่ชื่อว่า สปีดี้ (Speedee) เป็นตัวการ์ตูนในชุดพ่อครัวที่ป้ายบอกชื่อของตัวเอง 'I'm Speedee' เอกลักษณ์ของสปีดี้คือหัวที่เป็นรูปแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งเป็นเมนูหลักของร้าน การดำรงตำแหน่งมาสคอตของสปีดี้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1948 จนถึงปี ค.ศ. 1962
1
โดยชื่อของสปีดี้มาจากชื่อระบบการให้บริการดังนั้นสปีดี้จึงเป็นเหมือนตัวแทนของความว่องไวในระบบการให้บริการของแมคโดนัลด์ในสมัยนั้น
เมื่อกิจการถูกเปลี่ยนมือเป็นของเรย์ คร็อก (Raymond Albert ‘Ray’ Kroc) มาสคอตของแบรนด์ถูกเปลี่ยนเป็น 'โรนัลด์ แมคโดนัลด์' ซึ่งเป็นคาแรกเตอร์ของตัวละครในโลกจินตนาการที่ชื่อว่า แมคโดนัลด์แลนด์ ถูกเปิดตัวและถูกใช้เป็นมาสคอตของแมคโดนัลด์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963
ตอนแรกจะใช้ชื่อ Archie McDonald ซึ่ง Archie มีที่มาจาก Arches โลโก้โค้งของแบรนด์ แต่ชื่อนี้ดันไปซ้ำกับนักจัดรายการที่มีชื่อเสียงในชิคาโก จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็น Ronald McDonald แทนและใช้มาจนถึงปัจจุบัน
📍ที่มาของโลโก้📍
ตัวเอ็มสีเหลือง มาจากอักษรตัวแรกของแบรนด์ดังที่กล่าวก่อนหน้านี้ เหตุผลที่ต้องเป็นสีเหลืองเพราะ💛 สีเหลืองทำให้สะดุดตา เริ่มแรกสองพี่น้องจึงสร้างซุ้มไฟเป็นสีเหลืองเพื่อดึงดูดสายตาคนผู้ขับขี่บนท้องถนน
❤พื้นหลังสีแดง มาจากแนวคิดที่เชื่อว่าสีแดงจะช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ และทำให้เกิดความต้องการในบางสิ่ง
❕❕แต่พื้นหลังของโลโก้ไม่ได้มีแค่สีแดงเท่านั้น
เพราะในยุโรปพื้นหลังโลโก้แมคโดนัลด์เป็นสีเขียว !!💚❕❕
โดยประกาศใช้ในปี ค.ศ. 2009 เพื่อแสดงให้เห็นถึงการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมของแบรนด์เมื่อต้องเผชิญกับแรงกดดันจากกลุ่มนักเคลื่อนไหวและองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมในยุโรป
(ขอบคุณภาพจาก turbologo.com)
แต่ที่น่าตกใจคือ ในปี ค.ศ.1960 เป็นปีที่ต้องการเปลี่ยนโลโก้ใหม่แต่ Louis Cheskin ที่ปรึกษาการออกแบบและนักจิตวิทยาให้ความเห็นว่าโค้งของตัว M จะเป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลก เพราะทำให้นึกถึงแม่(Mom) และมีรูปโค้งคล้ายกับหน้าอกของผู้หญิง ด้วยจิตใต้สำนึกของคนจะผูกพันกับหน้าอกของแม่มาตั้งแต่กำเนิดทำให้ถูกจำอยู่ใต้จิตสำนึก จดจำได้รวดเร็วและภักดีต่อแบรนด์
2
(เดี๋ยวๆๆๆ ร้องห้ะ!เลยค่ะ มันเกี่ยวเหรอ? แล้วจากนี้ฉันจะมองเป็นตัวเอ็มเหมือนเดิมได้ยังไงกัน 😱)
1
💬อ่านจบแล้วมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างคะ?
ผู้เขียนชื่นชมความกล้าของสองพี่น้องที่กล้าเปลี่ยนระบบใหม่ทั้งหมด ทั้งๆที่ก็มีความเสี่ยงอยู่นะ และระบบนี้ก็ยังถูกใช้มาจนปัจจุบันด้วย
ขอบคุณผู้อ่านทุกคนนะคะ ขอให้วันนี้และทุกวันเป็นวันที่ดี สุขขีตลอดวันค่ะ 😊🙏🏼
โฆษณา