30 ก.ค. 2021 เวลา 10:03 • สุขภาพ
‘โควิด’ ทำลายระบบ 'สมอง' มากกว่าปอด ระยะยาว
2
การติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลระบบประสาท ตั้งแต่วันแรกๆ การแพร่ระบาดไวรัส พบรายงานภาวะความเครียดโดยไม่รู้ตัวจากการสมองถูกใช้งานอย่างหนัก มีผลต่อระบบความจำ และสร้างความสับสน แสดงให้เห็นว่า ผลกระทบจากไวรัสมากกว่าปอด แล้วจะรู้ว่า โควิด-19 ทำลายสมองได้อย่างไร
12
‘โควิด’ ทำลายระบบ 'สมอง' มากกว่าปอด ระยะยาว
เว็บไซต์ฟอร์บส์ รายงานว่า สมาคมอัลไซเมอร์ได้จัดการประชุมนานาชาติ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ได้มีการนำเสนองานวิจัยที่ให้ความกระจ่างชัดว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง
1
🧠 โควิดทำลายสมองรุนแรง แต่เซลล์สมองสามารถฟื้นตัวได้
2
นักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า การติดเชื้อโควิด-19 สามารถนำไปสู่ความเสียหายของเซลล์สมอง แบบระยะเฉียบพลัน ในช่วงการเจ็บป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยไอซียู แต่ผลการวิจัยใหม่ พบว่า เซลล์สมองเหล่านี้ดูเหมือนจะฟื้นตัว หลังจาก 3 - 6 เดือน
1
'เนลลี แคนเบิร์ก' นักวิจัยจากสถาบันการแพทย์แบบตะวันตกสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์กของสวีเดน กล่าวว่า ได้ตรวจวัดดัชนีชี้วัดทางชีวภาพในสมองของผู้ป่วยบางราย พบว่า เซลล์สมองได้รับความเสียหายระหว่างป่วยโควิด-19 รุนแรง และกลับเข้าสู่ปกติ ไม่กี่เดือนหลังการติดเชื้อ แม้ว่า ผู้ป่วยบางรายจะเกิดปัญหาในเรื่องระบบการรับรู้ในระยะยาว ซึ่งแคนเบิร์ก ไม่ยืนยันว่า โควิด-19 ทำลายสมองนี้ได้อย่างไร แต่อาจเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งเป็นผลจากการอักเสบ รวมถึง "การบาดเจ็บของหลอดเลือด และปัญหาการแข็งตัวของเลือด"
4
🧠 ผู้สูงอายุ มักเกิดปัญหาระบบประสาท หลังติดเชื้อโควิด
1
งานวิจัยของอาร์เจนตินา ระบุว่า ผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปมักเกิดปัญหากลไกการทำงานของสมองไม่สัมพันธ์กัน เช่น ความจำเสื่อม และความจำสับสัน
2
ขณะที่ กาเบรียล อา. เดอ เอรูสเกอะ นักวิจัยด้านประสาทวิทยาของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเท็กซัส เมืองซานอันโตนิโอ ประเทศสหรัฐ เผยงานวิจัยว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เกือบ 60% มีปัญหาด้านความจำและการรับรู้ ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ในกลุ่มคนวัยนี้ที่สูญเสียประสาทการดมกลิ่นระหว่างการติดเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มจะมีปัญหาทางสมองมากกว่า นี่อาจเป็นข้อบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างโรคโควิด-19 กับโรคทางสมองเสื่อม เช่น โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งอาจรวมถึงการสูญเสียการดมกลิ่นได้เช่นกัน
5
🧠 ผู้ป่วยโควิดที่อายุน้อย ก็มีปัญหาทางสมองได้
จอร์จ ดี. วาวูชกัส ผู้ร่วมวิจัยด้านประสาทวิทยาจากโรงพยาบาลกองทัพเรือเอเธนส์ในกรีซ พบว่าไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่ประสบปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจหลังจากติดเชื้อโควิด ในการศึกษาของเขา คนที่อายุน้อยกว่า 40 ปี มีอาการบกพร่องทางสติปัญญา รวมถึงปัญหาความจำระยะสั้นและความบกพร่องในรูปแบบอื่นๆ หลังจากติดเชื้อไวรัส ผู้ที่มีแนวโน้มว่า จะมีปัญหาทางสมองมากที่สุดคือ ผู้ที่มีอาการเมื่อยล้าหลังโควิด-19 และปอดทำงานไม่ดี แม้จะหายจากการติดเชื้อในครั้งแรกแล้วก็ตาม
5
โฆษณา