2 ส.ค. 2021 เวลา 00:07 • ธุรกิจ
ได้คุ้มเสียหรือไม่หากร้านค้าแห่ถอนตัวจากโครงการคนละครึ่งเพราะกลัวต้องเสียภาษี
เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) หนึ่งในบิดาผู้สร้างชาติของสหรัฐอเมริกา กล่าวเอาไว้ว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน นอกจากความตายและภาษี (In this world nothing is certain but death and taxes)” ไม่ว่าจะยากดีมีจนสูงต่ำดำขาวปากเสียปากดี สวยรวยทรัพย์หรือยากคนเข็ญใจ ก็ไม่มีใครหนีพ้นทั้ง 2 เรื่องนี้ได้
3
หากพิจารณาดูดีๆเราจะพบว่าสัจจะธรรมเรื่องนี้เป็นจริง เรื่องความตายมั่นใจว่าคงไม่มีใครสงสัย แต่เรื่องภาษีบางคนอาจจะแย้งว่ายังมีหลายคนในประเทศไทยไม่เคยเสียภาษีเลย จากข้อมูลของกรมสรรพากรพบว่า ในปีพ.ศ. 2563 มีผู้มีเงินได้ทุกประเภทจำนวน 15 ล้านคน อยู่ในระบบภาษี 11 ล้านคน แต่มีผู้เสียภาษีจริงๆเพียง 4 ล้านคน หรือประมาณ 6% ของประชากร
ที่มา Journey Of Wealth - ที่ปรึกษาการเงิน
จึงไม่แปลกที่คนส่วนมากจะคิดว่าไม่ได้จ่ายภาษี แต่ถ้าเอาความน่าจะเป็นมาเป็นที่ตั้ง 4 ล้านคนที่เสียภาษีจะทำให้รัฐบาลมีงบประมาณเพียงพอได้หรือ แล้วทั้ง 4 ล้านคนจะต้องจ่ายเท่าไรจึงจะพอ แต่หลายคนคงยังไม่ได้สังเกตว่าตนเองได้จ่ายภาษีให้รัฐแล้วทางอ้อม ในการซื้อสินค้าและบริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย จึงสรุปได้เลยว่ายังไงก็หนีไม่พ้นการจ่ายภาษีอยู่ดี แม่ว่าจะอยู่ในป่าในเขาก็ไม่มีข้อยกเว้น แต่อาจจะจ่ายน้อยกว่าเท่านั้นเอง
1
จากข่าวที่บรรดาร้านค้าต่างๆที่จะแห่ถอนตัวออกจากโครงการคนละครึ่ง จากกรณีที่กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลังของแม่ค้ารายหนึ่ง จากการเปิดเผยของคุณสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ โฆษกกรมสรรพากร กับสำนักข่าว TNN ในรายการ Business Watch จับกระแสเศรษฐกิจ ได้บอกว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นความจริง เพราะภาษีที่เรียกเก็บเป็นเงินได้ในปีที่ผ่านมา ไม่ได้เกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งแต่อย่างใด และเจ้าตัวก็ได้รับการชี้แจงจนเป็นที่เข้าใจจากกรมสรรพากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
YouTube Channel: TNN Online
จากสถิติของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. พบว่ามีร้านค้าเข้าร่วมโครงการกว่า 1,076,900 ราย โดยมีสัดส่วนของร้านค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม 53% รองลงมาคือร้านค้าทั่วไป 35% และร้านธงฟ้า 6% อื่นๆอีก 6% ลักษณะรูปแบบของร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ มีหน้าร้าน 85% หาบเร่, แผงลอย 11% และ บริการ, ขนส่ง อีก 4% จะสังเกตได้ว่ายังไม่มีร้านค้าออนไลน์เข้าร่วม เพราะยังมีช่องโหว่ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้
นอกจากนี้แล้วยังพบว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ว่าจะมีประชาชนมาลงทะเบียนประมาณ 31 ล้านคน แต่ก็พบว่ามีจำนวนต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ถึง 1.1 ล้านคน ซึ่งต่างจากการโครงการคนละครึ่งในระยะที่ 1 และ 2 อาจจะมาจากสาเหตุที่มีระยะเวลาในการใช้จ่ายขยายไปถึงสิ้นที่ 2564 ประชาชนไม่ต้องรีบลงทะเบียน จึงทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้จึงต่ำกว่าเป้า
1
YouTube Channel: TNN Online
มาดูยอดใช้จ่ายสะสมอยู่ที่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท พบว่าก่อนที่จะมีการปิดเมือง (Lockdown) 13 จังหวัด มีการใช้จ่ายเฉลี่ย 1,826 บาท/วัน แต่หลังจากมีการปิดเมือง (Lockdown) พบว่ามีการใช้จ่ายที่ลดลงเหลือเพียงเฉลี่ยวันละ 1,350 บาท เห็นได้ชัดว่าการปิดเมือง (Lockdown) ทำให้มีการใช้จ่ายลดลงอย่างเห็นได้ชัด
กลับมาดูข้อกังวลของร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งที่กลัวต้องเสียภาษีเงินได้จึงอยากจะถอนตัวออกไป ซึ่งทางกรมสรรพากรก็ได้ชี้แจงแล้วว่าการเสียภาษีไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงการคนละครึ่ง แต่เกิดจากการที่ผู้ประกอบการมีรายได้ตามเกณฑ์จะต้องเสียภาษีอยู่แล้ว
2
YouTube Channel: TNN Online
หากมาพิจารณาดูว่าอัตราการเสียภาษีของผู้ประกอบการที่มีรายได้ 1,000,000 บาท เมื่อเทียบกับคนที่มีรายได้ประจำทั้งปีที่เท่ากัน จะพบว่าผู้ประกอบการเสียภาษีจริงๆเพียง 4-5 พันบาทเท่านั้น ในขณะที่ผู้ที่มีรายได้ประจำหรือมนุษย์เงินเดือนกลับต้องเสียภาษีถึง 1.15 แสนบาท แม้ว่าจะนำค่าลดหย่อนต่างๆมาลดได้แต่ก็ยังสียภาษีมากกว่าหลายเท่าอยู่ดี ทั้งยังต้องมีภาระค่าใช้จ่ายกับรายจ่ายที่นำมาลดหย่อนด้วย
3
แล้วการถอนตัวออกจากโครงการนี้ได้คุ้มเสียหรือไม่ ตอบได้เลยว่าไม่คุ้มเลย ถึงแม้ว่าร้านค้าจะถอนตัวออกไป ร้านค้าที่ยังคงอยู่ก็สามารถรองรับกำลังซื้อส่วนนี้แทนได้จากการใช้จ่ายที่ลดลง ที่สำคัญแม้ว่าจะไม่ได้เข้าร่วมโครงการ กรมสรรพากรก็สามารถติดตามเส้นทางการเงินเพื่อมาคำนวณรายรับของร้านค้าได้อยู่ดี จะถอนตัวหรือยังอยู่ในโครงการยังไงร้านค้าก็ต้องจ่ายภาษีอยู่แล้ว
1
YouTube Channel: TNN Online
ที่สำคัญมากกว่านั้นคือรายได้ที่ลดลงไปจากผู้ที่ใช้จ่ายผ่านโครงการนี้ที่มีเกือบ 30 ล้านคน จะนำรายได้จากส่วนไหนมาชดเชยได้ เพราะการที่ประชาชนได้เข้าร่วมโครงการนี้จำให้กระตุ้นการใช้จ่ายได้มาก เพราะรู้สึกได้ว่าไม่ต้องจ่ายเต็ม เคยซื้ออาหารรับประทาน 150 บาท แต่เปลี่ยนมาซื้อในแบบที่หรูขึ้นเป็น 300 บาท เขาก็ไม่ได้รู้สึกว่าต้องจ่ายเพิ่ม
2
นอกจากนี้แล้วร้านค้าที่ไม่ได้เข้าร่วม จะพบว่ามีลูกค้าเข้าไปอุดหนุนกันน้อยกว่าร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการอย่างชัดเจน
ที่มา http://tdaily.us/89722-20210719.html
แค้เพียงกลัวว่าต้องเสียภาษีล้านละประมาณ 4-5 พันบาท แลกกับจำนวนลูกค้าและเม็ดเงินที่หายไปจากการถอนตัวออกจากโครงการคนละครึ่ง มองยังไงก็ไม่เห็นความคุ้ม
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernizationmarketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
ท่านที่สนใจลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ตู้กาแฟหยอดเหรียญ ที่สามารถขายแฟรนไชส์และมีรายได้จากการขยาย
สามารถสร้างรายได้ทั้งรายวันและรายสัปดาห์และรายเดือนได้
ติดต่อได้ที่
โฆษณา