4 ส.ค. 2021 เวลา 06:30 • สุขภาพ
นกเขาไม่ขัน ฝันร้ายเมื่อน้องชายไม่ให้ความร่วมมือ 🤦‍♂️
หลายคนคงเคยได้ยินหรือประสบปัญหา นกเขาไม่ขัน หรือ หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งสร้างความไม่มั่นใจและส่งผลกระทบต่อชีวิตคู่เป็นอย่างมาก 💔
1
มารู้จักกับอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ สาเหตุ และวิธีการรักษาไปพร้อม ๆ กัน
นกเขาไม่ขัน ฝันร้ายเมื่อน้องชายไม่ให้ความร่วมมือ
การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction)
หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า การตายด้าน นั้นคือ ภาวะที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวได้สมบูรณ์ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
อาการนี้อาจเกิดขึ้นกับผู้ชายในช่วงวัยใดก็ได้ แต่ก็มักจะพบมากขึ้นตามอายุทิ่เพิ่มขึ้น 😱
กลไกในการแข็งตัวของอวัยวะเพศชายค่อนข้างมีความซับซ้อน กล่าวคือ สิ่งเร้าจะกระตุ้นสมองให้ส่งสัญญาณผ่านเส้นประสาทไขสันหลัง สัญญาณเหล่านี้ก็จะกระตุ้นให้เกิดการปล่อยสารเคมีที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปทำให้หลอดเลือดส่งเลือดเข้าสู่อวัยวะเพศชาย จึงทำให้อวัยวะเพศชายขยายใหญ่ขึ้น
เนื้อเยื่อของอวัยวะเพศชายมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ เรียงตัวกันเป็นแท่ง การแข็งตัวของอวัยวะเพศชายจะเกิดขึ้นเมื่อมีเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อนี้และมีการขยายตัวเต็มที่ การขยายตัวดังกล่าวจะไปกดเส้นเลือดดำทำให้เลือดไหลออกจากอวัยวะเพศชายได้น้อย
สาเหตุของการเสื่อสมรรถภาพทางเพศนั้นอาจเกิดจากการสะดุดในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งที่กล่าวมา โดยอาจมีสาเหตุจากปัญหาทางร่างกายหรือจิตใจก็ได้
โดยอาการที่พบได้คือ อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวหรือไม่สามารถคงความแข็งตัวไว้ได้ จนทำให้เกิดความพอใจในขณะปฏิบัติกิจกรรมทางเพศได้ 😔
สาเหตุของการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ 💥
1
🔸 ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ เช่น ความรู้สึกผิดหรือความกังวลต่างๆ โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศ
1
🔸 สภาวะที่มีผลกระทบต่อสมองและการลดลงของแรงขับทางเพศ ได้แก่ อาการซึมเศร้าหรือโรคจิตเภท
🔸 การป่วยเรื้อรัง เช่นโรคหัวใจ ปอด ไต หรือโรคตับ และโรคมะเร็งบางชนิด
🔸 การเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมนที่ทำให้ความต้องการทางเพศลดลง รวมถึงระดับเทสโทสเทอโรนลดลง ระดับโปรแลกตินเพิ่มขึ้น และภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากหรือน้อยเกินไป
🔸 ความผิดปกติต่างๆ ทางสมอง ซึ่งความผิดปกตินี้อาจไม่มีผลต่อเรื่องความต้องการทางเพศ แต่จะมีความเกี่ยวเนื่องทางระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการทำหน้าที่ทางเพศ รวมถึงเนื้องอกในสมองและเส้นเลือดในสมองอุดตันด้วย
1
🔸มีความผิดปกติที่บริเวณไขสันหลัง เช่น ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง (Multiple Sclerosis) หรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง
🔸เส้นประสาทส่วนปลายถูกทำลาย โดยมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน หรือการผ่าตัดกระดูกเชิงกรานเพื่อรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งลำไส้
🔸การใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางและอื่น ๆ ได้แก่ ยาต้านอาการซึมเศร้า Anticholinergics ยากลุ่ม Antihistamine ยาลดความดันโลหิตสูง เบต้า-บล็อกเกอร์ (และยาลดความดันอื่นๆ ในกลุ่ม Antihypertensive) รวมไปถึงแอลกอฮอล์ และการได้รับสารนิโคตินจากการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน ๆ
1
🔸โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดส่วนปลาย (การไหลเวียนของเลือดไม่ถึงอวัยวะส่วนปลายสุดและอวัยวะเพศชาย)
🔸ความอ่อนล้า
1
🔸อายุมากขึ้น
วิธีการรักษา 🩺
🔹 หลีกเลี่ยงการรับสารนิโคตินจากการสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติดอื่นๆ
🔹 ถ้ายาที่ใช้อยู่เป็นสาเหตุของการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ แพทย์ผู้ให้การรักษาอาจเปลี่ยนยาชนิดใหม่ให้
🔹 กรณีที่การหย่อนสมรรถภาพทางเพศมีสาเหตุจากปัญหาด้านอารมณ์หรือจิตใจ แพทย์หรือผู้ให้คำปรึกษาทางจิตเวชจะเป็นผู้ที่สามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมเพื่อรักษาอาการดังกล่าวได้
🔹 ถ้าระดับเทสโทสเทอโรนในเลือดต่ำ สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดเทสโทสเทอโรนเข้าร่างกายหรือแปะที่ผิวหนัง
1
🔹 อาจต้องทำการรักษา ถ้ามีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (Hyperthyroidism) หรือ ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (hypothyroidism) จนเกินไป
🔹 การรักษาด้วยยา เพื่อรักษาระดับของโปรแลคตินที่เพิ่มมากเกินไป
🔹 การรักษาด้วยยารับประทาน ที่มีผลทำให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่อวัยวะเพศชายได้ในระหว่างมีการกระตุ้นทางเพศ โดยยาเหล่านี้จะไม่ได้ก่อให้เกิดการแข็งตัวในช่วงที่ไม่ได้มีการกระตุ้นทางเพศ แต่ยากลุ่มนี้ควรใช้ภายใต้การดูแล และแนะนำโดยแพทย์ เนื่องจากเป็นยาที่มีข้อควรระวังในการใช้ค่อนข้างมาก
1
🔹 การใช้เครื่องปั๊มสูญญากาศเพื่อช่วยให้เกิดการแข็งตัว
🔹 การฉีดยาด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นยาที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เพื่อนำเลือดเข้าสู่อวัยวะเพศชาย จนเกิดการแข็งตัว แพทย์ของคุณจะเป็นผู้แนะนำเทคนิควิธีการฉีดยาที่ถูกต้อง
🔹 การรักษาด้วยการผ่าตัดสอดใส่วัสดุเข้าไปในอวัยวะเพศชาย วิธีการหนึ่งก็คือการสอดใส่วัสดุที่ขยายตัวได้ และมีโพรงสำหรับกักเก็บของเหลวได้ด้วย อีกวิธีการหนึ่งก็คือการฝังแท่งที่ยืดหยุ่นได้ ซึ่งสามารถดัดให้โค้งมาข้างหน้าเมื่อต้องการให้อวัยวะเพศอยู่ในภาวะแข็งตัว หรือเพื่อพับเก็บไว้กับลำตัวได้
🔹 ในบางกรณีซึ่งไม่มากนัก แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดหลอดเลือด เพื่อให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่อวัยวะเพศชายได้ดีขึ้น
แนวทางการป้องกัน ✔
🔸 ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไม่เกินวันละ 2 แก้ว
🔸 งดหรือลดสูบบุหรี่
🔸 ปรึกษานักบำบัดเกี่ยวกับการปรับปรุงการสื่อสารกับคู่ของคุณ
3
🔸 ตรวจสุขภาพ เพื่อหาความเสี่ยง ในการเกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
รายละเอียดเพิ่มเติม >> https://bit.ly/3rRrPwX
ถึงแม้ว่าการไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศชายนั้นจะเป็นเรื่องไม่ปกติ แต่ก็อาจยังไม่ใช่สัญญาณของการเกิดปัญหาเรื้อรัง
 
ดังนั้นสำหรับผู้ที่เป็นกังวล หรือ กำลังประสบปัญหาดังกล่าวก็สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพ และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุและรักษาได้อย่างถูกวิธี
โปรแกรมตรวจสุขภาพเพศชาย (Basic) >> https://bit.ly/3jbjvUU
โปรแกรมตรวจสุขภาพเพศชาย (Complete) >> https://bit.ly/37bMhiP
📞 ติดต่อสอบถามได้ที่
ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ
ชั้น 16 อาคารเอ (A) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
โทร: 061 409 3943 (8:00 - 18:00น.)
โทร: 02 066 8888 หรือ 1378 (18:00 - 8:00น.)
2
โฆษณา