3 ส.ค. 2021 เวลา 14:00 • การศึกษา
การวรรคของ “ไม้ยมก”
✅ ต่าง ๆ นานา‬
‪❎ ต่างๆ นานา‬
‪❎ ต่างๆนานา‬
‪❎ ต่างๆนาๆ
‪ต้องวรรคหน้าและหลังไม้ยมกเสมอ ‬
“ยมก” มาจากภาษาบาลีสันสกฤตว่า ยมก [ยะ-มะ-กะ] แปลว่า คู่, แฝด
คำใดที่บ่งบอกถึงความหมายที่ มากกว่า ๑ เวลาเขียน ก็จะต้องเขียนเป็นคำซ้ำ เช่น ต่างต่าง, เด็กเด็ก, เล็กเล็ก (ยกเว้นคำว่า นานา) มีความหมายมากกว่า ๑ หรือ เป็นการย้ำคำให้แน่ชัดขึ้น
“ไม้ยมก” น่าจะมีใช้ในแผ่นดินสมัยอยุธยา อยู่ในยุคสมัยของพระชัยราชา หนังสือจินดามณีซึ่งถือกันว่าเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก (เรียบเรียงในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ) บ่งบอกไว้ชัดว่า
“...อนึ่ง..แม้หนังสือ ก.กา ถึง กน ฯลฯ จนถึงเกยนั้น เมืองขอมก็แต่งมีอยู่แล้ว
พญาร่วงเจ้า (พ่อขุนรามคำแหง) จึงให้แต่งรูปอักษรไท ต่างต่าง...”
แสดงว่า ไม้ยมกไม่มีใช้ ร้อยกว่าปีต่อมาจึงปรากฏพบเห็นในจารึกหลัก ๑๔ (จารึกวัดเขมา) ความว่า
“...แลกูเกิดมา ชาติใด ๆ ก็ดี ขอกูจุ่งาีปรีชญาณแลสมบัติเกิดมาแต่กู ทุก ๆกำเนิด...”
นัยว่าคงเป็นความขี้เกียจเขียนคำซ้ำของเจ้าพนักงานอาลักษณ์หรือไม่ ไม่ทราบได้ จึงต่อท้ายคำด้วยเลข ๒ กำกับไว้เพื่อให้รู้ว่า คำนี้อ่านสองครั้ง ครั้นเวลาล่วงเลยมาจากเลข ๒ ที่มีหางตวัดขึ้น ก็กลายรูป มาเป็นขีดตรงเหมือน “ไม้ยมก” (ๆ) ในยุคปัจจุบัน
ไม่ควรใช้ไม้ยมก หรือ ยมก ในกรณีดังต่อไปนี้
๑. เมื่อเป็นคำคนละบทคนละความ
✅ ฉันจะไปปทุมวันวันนี้ (ไม่ควรเขียน “❎ ฉันจะไปปทุมวัน ๆ นี้”)
✅ สี ๕ กระป๋อง กระป๋องละ ๕๐ บาท (ไม่ควรเขียน “❎ สี ๕ กระป๋อง ๆ ละ ๕๐ บาท”)
✅ คนคนหนึ่ง (ไม่ควรเขียน “❎ คน ๆ หนึ่ง”)
๒. เมื่อรูปคำเดิมเป็นคำ ๒ พยางค์ ที่มีเสียงซ้ำกัน
✅ นานาชาติ ✅ ต่าง ๆ นานา (ไม่ควรเขียน “❎ นา ๆ ชาติ ❎ ต่าง ๆ นา ๆ”)
✅ มองเห็นจะจะ (ไม่ควรเขียน “❎ มองเห็นจะ ๆ ”)
๓. เมื่อเป็นคำประพันธ์
✅หวั่นหวั่นจิตรคิดคิดหวนครวญครวญหา (ไม่ควรเขียน “หวั่น ๆ จิตรคิด ๆ หวนครวญ ๆ หา”)
ยกเว้น กลบทบางประเภทที่กำหนดให้ใช้กับไม้ยมก
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากเพจ รักษ์ภาษาไทย
สามารถติดตาม #คําไทย ได้ผ่านช่องทางดังนี้
Facebook : คำไทย (facebook.com/kumthai.th)
Twitter : @kumthai_ (twitter.com/kumthai_)
Blockdit : คำไทย (blockdit.com/kumthail.th)
โฆษณา