7 ส.ค. 2021 เวลา 10:00 • ไลฟ์สไตล์
บทเรียนบล็อกเกอร์สาว ปั้น 'คอนเทนท์' จนเกิดดราม่า
4
ความพยายามสร้างจุดขายที่แตกต่าง เพื่อยอดวิว บางทีก็ทำให้'บล็อกเกอร์'หรือผู้ผลิตรายการ (บางส่วน) บิดมุมให้ดูดราม่า และบางทีก็ละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยไม่รู้ตัว จนเป็นที่มาของคำว่า "Human Zoo" (สวนสัตว์มนุษย์)
7
บทความโดย กนกพร โชคจรัสกุล
บทเรียนบล็อกเกอร์สาว ปั้น 'คอนเทนท์' จนเกิดดราม่า
ล่าสุด บล็อกเกอร์สาวชาวไทยมีผู้ติดตามในเฟซบุ๊ค 5.1 ล้านคน ได้เดินทางไปทำรายการท่องเที่ยวในประเทศ อัฟกานิสถาน ณ เวลานี้ ที่หลายๆ ประเทศไม่แนะนำให้เดินทางไป เนื่องจากมีการต่อสู้ระหว่างกองกำลังภาครัฐกับกลุ่มตาลีบัน หลังกองกำลังนานาชาติถอนทหารออกไปเพื่อยุติปฏิบัติการในอัฟกานิสถานที่ดำเนินมานานกว่า 20 ปี
6
เธอให้เหตุผลว่า “อยากไปดูประเทศที่มีความสุขน้อยที่สุดในโลกว่าเค้าอยู่กันยังไง และถ้ากลุ่มตาลีบันยึดประเทศได้แล้วกลัวจะไม่ได้กลับไปอีก” ก่อให้เกิดคำถามและความคิดเห็นมากมาย อาทิ เป็นเรื่องที่อันตรายมากๆ คอนเทนท์ที่ได้กับความเสี่ยงมันคุ้มไหม, กล้าแบบไร้สาระมาก, สถานการณ์ในอัฟกานิสถานน่ากลัวเกินกว่าที่จะเดินทางเพื่อค้นหาความหมายของชีวิตในช่วงนี้, มันไม่ใช่ทุ่งลาเวนเดอร์ที่ให้มาเดินเล่นถ่ายคลิป ถ่ายเซลฟี่, เขาไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน, สิทธิส่วนบุคคลที่จะเดินทาง เสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็น, อาชีพนักสร้างคอนเทนท์, ได้กระแส ได้เงิน ฯลฯ
9
มุมมองหนึ่งที่น่าสนใจคือ A LITTLES STORY TELLER กล่าวใน Blockdit เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ว่า “บล็อกเกอร์สาวมองผู้คนในพื้นที่ที่ลำบากเป็น Human Zoo เพราะประเทศที่ลำบาก มีปัญหาสงคราม ผู้คนอยู่กินอย่างแร้นแค้น
5
ถ้าการเข้าไปไม่ได้สื่อสารเพื่อการพัฒนา (Communication for development) หรือไม่ได้เข้าไปเพิ่มคุณค่า คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คน (Add value)
6
หรือพูดง่ายๆ เธอไม่ได้เข้าไปสร้างประโยชน์ใดๆให้ชีวิตใครเลย แต่เข้าไปเพื่อสร้างคอนเทนท์ตัวเองเท่านั้น มันก็เหมือนกับการเดินเข้าสวนสัตว์แล้วก็เดินออกมานั่นแหละค่ะ...”
13
Human Zoo คืออะไร
คำว่า Human Zoo เป็นคำที่คนมากมาย เข้าใจและตีความแตกต่างกันไป
Human Zoo คือ สวนสัตว์มนุษย์ เป็นการจัดงานแสดงชนเผ่าพื้นเมืองและวัฒนธรรม ให้ชาวยุโรปได้ชม ในศตวรรษที่ 19-20 เรียกว่า นิทรรศการทางชาติพันธุ์ ครั้งแรกจัดขึ้นในเม็กซิโก มีทั้งสัตว์และมนุษย์
3
ช่วงปีค.ศ.1870 มีการจัดสวนสัตว์มนุษย์ควบคู่กับการจัด World Fair นำชนเผ่าพื้นเมืองจากที่ต่างๆ มาแสดง พร้อมข้าวของเครื่องใช้ จนโลกเข้าสู่ยุคใหม่ มนุษย์เริ่มคิดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียม และต่อต้านการเหยียดผิว ทำให้สวนสัตว์มนุษย์กลายเป็นสิ่งต้องห้ามและได้รับการต่อต้านจากทั่วโลก
2
แต่ในปัจจุบัน คำๆ นี้ถูกนำมาใช้ในแง่ลบ คือ การมองคนที่แตกต่างจากตัวเองเป็นสิ่งอื่น มีสถานะต่ำกว่าตัวเอง
1
การตลาดที่บิดเบี้ยว ?
2
กาญจนา หงษ์ทอง นักเดินทางที่เดินมาเกือบรอบโลก และพิธีกรรายการท่องเที่ยวหลายรายการ มองว่า ยอดวิวที่สูงขึ้นนำมาซึ่งรายได้ ทำให้เกิดการแข่งขันสูงมาก
2
“ทุกวันนี้คนมีความสุขอยู่ได้ด้วยยอดไลค์ ยอดคนติดตาม ยอดคนเข้าถึง จึงแข่งขันกันในออนไลน์ เพื่อให้ตัวเองมียอดสูงขึ้น เห็นใครทำอะไร ก็ต้องทำ เช่น คนไทยไปฉีดวัคซีนที่อเมริกา ถ้าเป็นยูทูบเบอร์ก็ต้องไป
6
ขณะที่มียูทูบเบอร์หน้าใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน คนเก่าก็ต้องทำตัวเองให้เจ๋ง ต้องนำคนอื่น หรือไปในที่ๆ อันตราย ถ้ารอดกลับมาเราเจ๋ง แล้วจะมีสปอนเซอร์ตามมา ทำให้มาร์เก็ตติ้งบิดเบี้ยวไป
10
โลกโซเชียลมีเดีย ทำให้คนเผอเรอ และซุ่มซ่ามมากขึ้น คนส่วนมากทำแล้วไม่คิดถึง ไม่ให้เกียรติคนอื่น ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น เป็นความซุ่มซ่ามในเรื่องสิทธิมนุษยชน บางคนไม่ได้เจตนา คิดว่าจะต้องถ่ายมือชนเผ่าเหี่ยวๆ โดยพื้นฐานจิตใจไม่ได้เจตนาร้ายอะไร คิดแต่เรื่องคอนเทนท์มันต้องมา เราเข้าใจนะ ก่อนถ่ายทำ เราอาจจะขอต่อหน้า ขอถ่ายรูปได้ไหมคะ ขออัดวิดีโอได้ไหมคะ
8
หรืออย่างบางคนไปฉีดวัคซีน แล้วถ่ายภาพมาโพสต์ ติดคนรอบข้างมาด้วย นั่นคือการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แล้วโพสต์ลงไปในโซเชียล เขาก็ไม่ได้ยินยอมด้วย เขาอาจจะมาเห็นทีหลัง หรือเพื่อนหรือญาติเขามาเห็นทีหลัง บางคนโอเค, บางคนก็ไม่โอเค, นี่เป็นเรื่องพลั้งเผลอ”
9
สิทธิส่วนบุคคล เป็นเรื่องสำคัญ
1
กาญจนาแนะนำว่า คนทำรายการทุกคน ไม่ว่ายูทูบเบอร์ หรือบล็อกเกอร์ ควรระมัดระวังเรื่องสิทธิส่วนบุคคลให้มาก
3
“คนทำคอนเทนท์รายการ ไม่ว่าจะเป็นรายการอะไร หรือไม่ใช่รายการท่องเที่ยว จะเป็นรายการสั้น 10 นาที 15 นาที หรือแค่เอามาโพสต์ลง Instagram หรือเฟซบุ๊ค หรือติ๊กต๊อกสั้นๆ ก็ซุ่มซ่ามไม่ได้ ต้องระวัง ถ้ามันต้องไปเกี่ยวกับคนอื่น หรือถ้าเราถูกเชิญให้ไปถ่ายรายการที่สวิตเซอร์แลนด์ ก็ถือว่าเรามีเจ้าบ้าน มี Host ให้ไปถ่ายโรงงานช็อกโกแลต ถ่ายป้าคนนี้ทำขนม เราอยู่ภายใต้การเชิญ แต่พอเราเห็นอะไรเจ๋งๆ แล้วเราแอบถ่าย หรือว่าขอเขาตรงนั้นแล้ว แต่เมื่อกระบวนการผลิตและตัดต่อจบออกมาแล้วมันเป็นยังไง เขาไม่ได้เห็นหรอก บางคนอาจจะไม่โอเค.ก็ได้”
9
กฎที่ต่างกันของแต่ละประเทศ
2
นอกจากนี้ แต่ละประเทศก็มีความแตกต่าง มีข้อห้ามที่ต่างกันออกไปอีก โดยเฉพาะเรื่องของเพศหญิงเพศชาย กาญจนา เล่าต่อว่าการทำรายการท่องเที่ยวในต่างประเทศ มีข้อห้ามที่ต้องปฏิบัติตาม ที่แตกต่างกันไป บางประเทศ บางสถานที่
1
"ยกตัวอย่าง วัดมหามัยมุนี ประเทศพม่า ต้องตื่นไปล้างหน้าตอนตี 4 เขาให้แต่ผู้ชายขึ้น ผู้หญิงไม่มีสิทธิขึ้น หรือประเทศมุสลิม ผู้ชายเข้าได้ ผู้หญิงไม่ได้ หรือบางประเทศ เช่น โมร็อกโก ไม่เคร่งเลย แต่คนที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามห้ามเข้า
1
ถ้าเราทำงานมาระดับหนึ่งก็เหมือนเราสอบผ่านชั้นอนุบาล ประถม มัธยม จนจบมหาวิทยาลัย พอไปประเทศยากๆ ก็เหมือนจบปริญญาเอก ในโลกของการเดินทาง เราไต่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆ เรียนรู้ชั้นเชิงมากขึ้นเรื่อยๆ เรื่องการดูแลตัวเอง รู้ว่าถ้าไปประเทศอย่างนี้ต้องทำตัวยังไง ประสบการณ์มันจะบอกเราเอง
4
แต่ไม่ได้แปลว่าไม่มีข้อผิดพลาด ทุกครั้งของการเดินทาง มีเรื่องให้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะนี่คือเสน่ห์ของการเดินทาง มันมีเรื่องที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ รออยู่ที่ปลายทาง ต่อให้เรียนระดับไหน ก็มีเรื่องให้เรียนรู้ มีเรื่องให้แก้ปัญหาไม่รู้จบ”
4
เนื้อหาคือสิ่งสำคัญ
2
กาญจนาบอกว่า ในโลกเราตอนนี้มีสื่อหลากหลายมาก ไม่มีสื่อใดทำได้ดีกว่าสื่อใด อยู่ที่ผู้ผลิตรายการนั้นๆ มากกว่า
4
“จะพูดว่าทีวีฉาบฉวย สื่อโซเชียลไม่ฉาบฉวยไม่ได้ เพราะรายการในยูทูบเบอร์บางอัน ทำเข้มข้นกว่ารายการทีวีอีก หรือรายการทีวีบางรายการ พิธีกรก็ไม่ได้ทำการบ้านอะไรเลย ขณะที่ในสื่อโซเชียลพิธีกรทำการบ้านเข้มข้นมากกว่า อย่างบางคนทำคอนเทนท์คุณภาพไม่ได้แต่อยู่ในทีวีก็เยอะแยะ
3
บางคนมีรายการทีวี แต่เนื้อหาเบาบาง แทบไม่มีสาระอะไรเลย เดินไปกินโน่น กินนี่ เที่ยวโน่น เที่ยวนี่ แทบไม่ได้รู้เรื่องราว หรือได้เรียนรู้อะไรจากครึ่งชั่วโมงนั้นเลย ก็มีเหมือนกัน พอแลนด์สเคปมันเปลี่ยน คนก็ไม่อยากทำทีวีแล้ว หาสปอนเซอร์ยากก็ไปทำในยูทูบ มันจึงไม่มีอะไรมากกว่าอะไร”
2
โฆษณา