8 ส.ค. 2021 เวลา 00:07 • ธุรกิจ
มาดูกันว่ามีคนไทยกี่คนที่จะมีโอกาสขึ้นไปทัวร์อวกาศกับเจฟ เบซอส อีลอน มัสก์ และริชาร์ด แบรนสัน ได้
ที่มา  New York Post Musk, Bezos and Branson fueled by big egos in space race
การท่องเที่ยวในโลกนี้อาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ ต่อให้เราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวทันที นั่นก็เพราะว่าธุรกิจจำนวนมากต้องพบกับความยากลำบากและหลายๆธุรกิจต้องปิดตัวไป กว่าจะกลับมามีรายได้ดังเดิมไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งต้องนำเงินไปใช้ในการท่องเที่ยวยิ่งยากขึ้นอีก เพราะมนุษย์เราต้องนำรายได้ที่มีมาตอบสนองความต้องการพื้นฐานของชีวิตให้ได้ด่อน
ในขณะที่การท่องเที่ยวในโลกพบกับสภาวะความยากลำบาก แต่กลายเป็นว่าการท่องเที่ยวนอกโลกกลับมีความคึกคัก โดยเฉพาะรายใหญ่ของโลกอย่าง เซอร์ริชาร์ด แบรนสัน เจ้าของ Virgin Galactic เจฟ เบซอส เจ้าของสายการบิน Blue Origin และอีลอน มัสก์ เจ้าของ Space X
ที่มา  Virgin Galactic is selling tickets to space again, now for $450,000 per seat | Space.com
แต่ก็อย่าลืมของรัสเซียที่เป็นรายแรกของโลกที่นำพลเรือนนอกไปเที่ยวอวกาศก่อนใครมาแล้ว กับดาวรุ่งร้อนแรงแซงทางโค้งในแบบที่แชมป์เก่าผู้ครองตลาดอย่างอเมริกาได้แต่มองนั่นคือประเทศจีน ที่มีวิวัฒนาการทางอวกาศที่ลำหน้ามากในปัจจุบัน สายการบินจาก 2 ประเทศนี้ก็น่าจะมาชิงส่วนแบ่งไปได้ไม่น้อยเลย
Virgin Galactic ใช้เวลาเดินทางรวมทั้งสิ้น 90 นาที เริ่มตั้งแต่ทะยานบินขึ้นสู่อวกาศจนกลับมาลงจอดอีก สามารถพาผู้โดยสารขึ้นไปได้ 6 คน โดยเป็นนักบิน 2 คน เท่ากับว่าจะมีคนที่ต้องจ่ายค่าโดยสาร 4 คน ของ Blue Origin สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 6 คน แต่ที่เด็ดกว่าคือไม่ต้องมีนักบิน ก็เท่ากับว่าสามารถเก็บค่าตั๋วผู้โดยสารได้ทั้ง 6 คน
ที่มา  Business - Insider
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของ Virgin Galactic อยู่ที่ประมาณ 8,200,000 บาท หรือ 250,000 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 8,250,000 บาท เป็นราคาที่รวมค่าฝึกอบรมและชุดอวกาศแล้ว ตั้งเป้าว่าจะมีถึง 400 เที่ยวบินต่อปี ซึ่งอาจจะทำให้ราคาค่าโดยสารลดลงมาอยู่ที่ 40,000 ดอลล่าร์สหรัฐหรือประมาณ 1,300,000 บาท สายการบินนี้ใช้เวลารวมตั้งแต่เครื่องพ้นพื้นโลกไปถึงอวกาศแล้วกลับลงมาอีกครั้งประมาณ 90 นาที
ส่วน Blue Origin ยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการ แต่จากการรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่าน่าจะมีอัตราค่าโดยสารสำหรับการขึ้นไปอวกาศนาน 11 นาที อยู่ระหว่าง 200,000-300,000 ดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 6,600,000-9,900,000 บาท/ 1 ที่นั่ง
ที่มา  Shares of Elon Musk's privately held SpaceX soar on satellite dreams-New York Post
คราวนี้มาดูของ Space X ของ อีลอน มัสก์ ที่โชว์เหนือกว่าทั้ง 2 รายข้างต้นด้วยการนำนักท่องเที่ยวไปใช้ชีวิตบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) นานถึง 8 วัน แน่นอนว่าราคา 8 วันกับราคา 11 นาทีก็ต้องต่างกันอย่างลิบลับ Space X คิดราคาค่าโดยสารที่จะเริ่มบินเที่ยวแรกในปี พ.ศ. 2565 อยู่ที่ 55 ล้านดอลล่าร์/ที่นั่ง หรือประมาณ 1,800 ล้านบาท
เรามาดูกันว่าจะมีคนไทยกี่คนที่มีศักยภาพไปเที่ยวอวกาศ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวอย่างน้อยก็ต้องมีเงินฝากมากกว่าค่าโดยสาร 4-5 เท่า เพราะคงไม่มีเศรษฐีคนไหนใช้เงินที่มีทั้งหมดเพื่อขอไปเที่ยวนอกโลก เพราะว่าหลังจากนั้นเขาจะไม่ใช่เศรษฐีอีกต่อไป
ดังนั้นสิ่งที่ “ยุคใหม่ฯ” นำมาพิจารณาคือบัญชีเงินฝากของคนไทย ว่ามีจำนวนกี่คนที่มีเงินฝากมากกว่าค่าโดยสารอย่างน้อย 4 เท่า เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น จะขอใช้สมมุติฐานที่ 1 บัญชีเท่ากับ 1 คน (ที่ความเป็นจริง 1 คนอาจจะมีหลายบัญชี)
ที่มา KAPOOK.COM
ที่มา สรุป ภาษีดอกเบี้ยใหม่ เงินฝากออมทรัพย์ - Money Buffalo
จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ในพี่ พ.ศ. 2562 พบว่า มีบัญชีเงินฝากมากกว่า 1 ล้านดอลล่าร์หรือ 25 ล้านบาทขึ้นไป ที่เป็นเงินมากกว่า 4 เท่าของค่าโดยสาร มีสัดส่วนอยู่ที่ 0.0235% สถิตจำนวนประชากรไทนจาก Woldometer 2021 อยู่ที่ 69,991,596 คน ดังนั้นจึงมีคนที่สามารถไปเที่ยวนอกโลกได้ เป็นจำนวน 16,448 คน
ทั้ง 16,448 คน คือคนที่มีศักยภาพในการจ่ายค่าโดยสารได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะเดินทางไปได้ เพราะมีเงินอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ สุขภาพก็ต้องดีด้วย คนจำนวนนี้คือกลุ่มที่สามารถโดยสารเที่ยวบินของ Virgin Galactic และ Blue Origin
ที่มา  International Space Station - Wikipedia
แต่ในส่วนของ Space X ที่ต้องใช้เงินถึง 1,800 ล้านบาท/ที่นั่ง ดังนั้นคนที่จะมีศักยภาพจ่ายได้ก็ต้องมีเงินฝากไม่น้อยกว่า 7,200 ล้านบาท แต่ทว่าข้อมูลของผู้ที่มีเงินฝากระบุไว้เพียงว่าสัดส่วนของผู้ที่มีเงินฝากมากกว่า 500 ล้านบาท มีสัดส่วน 0.0007% หรือประมาณ 490 คน(บัญชี) มีค่าเฉลี่ยต่อบัญชีอยู่ที่ 1,519 ล้านบาท ซึ่งก็ยังไม่ถึงจำนวนเงิน 4 เท่าของค่าโดยสาร
ที่มา  Forbes Thailand
แต่จากข้อมูลของ Forbes Thailand's 50 Richest ที่จัดลำดับมหาเศรษฐีขิงไทยไว้ 50 ลำดับ โดยอันดับที่ 50 คือคุณจรรย์สมร วัธนเวคิน มีทรัพย์สิน (ไม่ใช่เงินฝาก) 460 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 15,180 ล้านบาท คาดการณ์ว่าจะมีเงินสดฝากธนาคารประมาณ 10-15% ก็จะมีเงินฝากอยู่ที่ 1,518-2,277 ล้านบาท ซึ่งก็ยังไม่ใกล้เคียง
หากจะต้องมีเงินสดในบัญชีที่ 7,200 ล้านบาท หรือ 10-15% ของมูลค่ารวมทรัพย์สิน นั่นก็แสดงว่าต้องมีทรัพย์สินรวมอย่างน้อย 48,000 ล้านบาท ก็คงต้องเริ่มที่อันดับที่ 21 คือคุณประยุทธ มหากิจศิริ ที่มีทรัพย์สินรวม 50,600 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีเงินสดในบัญชีประมาณ 5,060-7,590 บาท คาบเส้นแบบฉิวเฉียด
เมื่อใช้สมมุติฐานนี้ทำให้จำนวนผู้โดยสารชาวไทยที่มีศักยภาพในการจ่ายค่าโดยสาร Space X ได้ ก็จะมีจำนวนทั้งสิ้น 21 คน
ที่มา Kaudia Estate
แต่คำถามคือใครจะจ่ายเงินจำนวนมหาศาลขนาดนี้เพื่อออกไปเที่ยวนอกโลกไม่กี่วัน เพราะคนมีเงินขนาดนี้ได้ การใช้จ่ายของเขาล้วนแล้วแต่มองเป็นเรื่องของเงินลงทุน เพราะถ้าต้องจ่าย 1,800 ล้านบาท ผลตอบแทนกลับมาต้องมากกว่าเงินที่จ่ายไปอย่างน้อยๆก็ต้องมี 2 เท่าตัว
ตัวเลขนี้อย่าไปจริงจังมากนะครับ เพียงเอามาคำนวณแบบคร่าวๆดูเท่านั้น
ตอนนี้ก็หวังอยู่ 2 อย่างคือ อย่างแรกอยากมีเงินพอที่จะจ่ายค่าโดยสารไปเที่ยวบนสถานีอวกาศนานาชาติหรือ ISS ได้ และอย่างที่ 2 ก็คือต้องมีร่างกายที่แข็งแรงเพียงพอในการขึ้นไปใช้ชีวิตได้แบบสบายๆ
ข้อ 1 ยังห่างไกลมากแต่ข้อ 2 มั่นใจว่าทำได้ เพราะหากถ้าทำได้ก็แสดงว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้วนะจะบอกให้
ที่มา  ซิกน่า Moderate Stress-Physical Movement-Abhm
อ้างอิง
เปรียบเทียบทริปอวกาศ เที่ยวบินไหนคุ้มสุด! | TNN Tech Reports
Thailand Population (2021) – Worldometer https://www.worldometers.info
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernizationmarketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
ท่านที่สนใจลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ตู้กาแฟหยอดเหรียญ ที่สามารถขายแฟรนไชส์และมีรายได้จากการขยาย
สามารถสร้างรายได้ทั้งรายวันและรายสัปดาห์และรายเดือนได้
ติดต่อได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา