12 ส.ค. 2021 เวลา 01:00 • สุขภาพ
ฉีดวัคซีนสลับระหว่าง AztraZeneca และ วัคซีนเชื้อตาย ให้ภูมิสูงกว่าฉีดวัคซีนชนิดเดียวกันทั้งสองเข็ม
9
นี่เป็นงานวิจัยแรกที่รายงานผลของการฉีดวัคซีน viral vecter สลับกับวัคซีนเชื้อตายอย่างเป็นทางการ โดยงานวิจัยนี้เกิดขึ้นมาได้เพราะความผิดพลาดจากการฉีดวัคซีนในประเทศอินเดีย 💉
13
อินเดียเริ่มฉีดวัคซีนอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 16 มกราคม 2021 โดยวัคซีนหลักที่ใช้คือ Covaxin ซึ่งเป็นวัคซีนเชื้อตาย พัฒนาโดยบริษัทภารตะไบโอเทค และ Covishield ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าของ AstraZeneca ที่ผลิตภายในประเทศอินเดีย
8
ตามหลักแล้วประชากรอินเดียควรจะได้รับวัคซีนชนิดเดียวกันทั้งสองเข็ม เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าการฉีดวัคซีนเชื้อตาย เช่น Sinovac สลับกับวัคซีน viral vector อย่าง AstraZeneca มีประเทศไทยทำเป็นที่แรก และยังไม่มีผลงานวิจัยมารองรับ โดยวัคซีนหลักของไทยขณะนี้ จะฉีด Sinovac เป็นเข็มแรก และ AstraZeneca เป็นเข็มสอง
14
แต่ว่าการผิดพลาดของอินเดียครั้งนี้ เกิดจากการที่ฉีด Covishield เป็นวัคซีนเข็มแรก แล้วฉีด Covaxin เป็นเข็มที่สองให้กับประชากรกลุ่มนึง จำนวน 18 คน ซึ่งทางทีมวิจัยไม่ได้ปล่อยความผิดพลาดครั้งนี้ให้สูญเปล่า แต่มีการติดตามผล เก็บข้อมูลของระดับภูมิคุ้มกันและอาการข้างเคียง เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้ฉีด Covishield ทั้งสองเข็ม จำนวน 40 คน และ กลุ่มที่ได้ฉีด Covaxin ทั้งสองเข็ม จำนวน 40 คน
12
[ ข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ]
2
👤 กลุ่ม Covishield-Covaxin 18 คน แบ่งเป็นผู้หญิง 11 คน ผู้ชาย 7 คน อายุเฉลี่ย 62 ปี
2
👤 กลุ่ม Covishield-Covishield 40 คน
1
👤 กลุ่ม Covaxin-Covaxin 40 คน
2
💉💉 ฉีดวัคซีนเข็มแรก และ เข็มสอง ห่างกัน 6 สัปดาห์
doi: https://doi.org/10.1101/2021.08.06.21261716
[ ผลการทดลอง ]
▪️ ไม่มีรายงานอาการข้างเคียงรุนแรง ส่วนมากจะเป็นอาการปวดบริเวณที่ฉีด และไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ฉีดวัคซีนสลับและวัคซีนยี่ห้อเดียวกัน จึงถือว่ามีความปลอดภัยในเบื้องต้น
▪️ ผลจากการตรวจระดับของภูมิคุ้มกัน แบ่งเป็น
1
>> ภูมิต่อ S1-RBD หรือ โปรตีนหนามของไวรัสโควิด
1
Covishield-Covishield (2260) > Covishield-Covaxin (1866) Covaxin-Covaxin (710)
3
✏️ วัคซีน viral vector สองเข็ม กระตุ้นภูมิต่อโปรตีนหนามได้ดีสุด แต่ดีกว่าการฉีดวัคซีนแบบสลับเพียงเล็กน้อย
1
>> ภูมิต่อ N-protein หรือ โปรตีนส่วนห่อหุ้ม (Nucleocapsid) ของไวรัสโควิด
1
Covishield-Covaxin (1145) > Covaxin-Covaxin (742.4) > Covishield-Covishield (353.7)
✏️ อาจเป็นเพราะว่าวัคซีน viral vector อย่าง Covishield ไม่มีส่วนห่อหุ้มของไวรัสโควิด ต่างกับวัคซีนเชื้อตายอย่าง Covaxin ที่ใช้ไวรัสโควิดทั้งตัว จึงกระตุ้นภูมิต่อโปรตีนส่วนห่อหุ้มได้น้อยสุด ในขณะที่วัคซีนแบบสลับกระตุ้นภูมิได้ดีสุด
1
>> ภูมิของระดับแอนติบอดี้ (IgG) ต่อไวรัสโควิดที่ตายแล้ว โดยนำเอาซีรัมของกลุ่มตัวอย่างมาทดสอบ
3
Covishield-Covaxin (171.4) > Covaxin-Covaxin (111) > Covishield-Covishield (86)
3
✏️ เมื่อทดสอบกับเชื้อไวรัสที่ตายแล้วทั้งตัว จึงมีความเป็นไปได้ว่า วัคซีนเชื้อตายจะให้ผลดีกว่าวัคซีน viral vector ที่มีเพียงส่วนหนามของไวรัส แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก ในขณะที่วัคซีนแบบสลับกระตุ้นภูมิได้ดีสุด
doi: https://doi.org/10.1101/2021.08.06.21261716
▪️ เมื่อทดสอบกับเชื้อโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ แกมม่า, แอลฟ่า, เบต้า และ เดลต้า พบว่า
1
>> กลุ่มฉีด Covishield-Covishield มีภูมิต่อ
แกมม่า : 162
แอลฟ่า : 122.7
เบต้า : 48.43
เดลต้า : 51.99
1
>> กลุ่มฉีด Covaxin-Covaxin มีภูมิต่อ
แกมม่า : 156.6
แอลฟ่า : 112.4
เบต้า : 52.09
เดลต้า : 54.37
1
>> กลุ่มฉีด Covishield-Covaxin มีภูมิต่อ
แกมม่า : 539.4
แอลฟ่า : 396.1
เบต้า : 151
เดลต้า : 241.2
8
doi: https://doi.org/10.1101/2021.08.06.21261716
[ สรุป ]
🔺 ถึงอย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้มีจุดอ่อนตรงที่จำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อยเพียงแค่ 18 คน รวมถึงไม่มีข้อมูลหลังฉีดเข็มแรกของแต่ละยี่ห้อมาเปรียบเทียบ
🔺 แต่จุดแข็งของงานวิจัยนี้ คือ นี่เป็นงานแรกที่รายงานผลการฉีดวัคซีนสลับระหว่างวัคซีน viral vector และ วัคซีนเชื้อตายในมนุษย์ ซึ่งผลออกมาว่าปลอดภัยและสามารถกระตุ้นภูมิได้ดีกว่า สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ของ Qian He et al ที่เคยทดลองในหนูมาก่อน
5
🔺 การฉีดวัคซีนสลับ viral vector และ เชื้อตาย สามารถต่อสู้กับไวรัสโควิดกลายพันธุ์ต่างๆ ได้ดีกว่าการฉีดวัคซีนยี่ห้อเดียวกันทั้งสองเข็ม
🔺 ถึงแม้ในงานวิจัยนี้ วัคซีนเชื้อตายจะเป็น Covaxin ไม่ใช่ Sinovac หรือ Sinopharm ผลิตจากคนละบริษัท คนละประเทศ รวมถึงผล % efficacy ของ Covaxin ก็ออกมาดีกว่า Sinovac อาจจะนำมาเปรียบเทียบโดยตรงไม่ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้อุ่นใจได้ว่าการฉีดวัคซีนสลับ AstraZeneca และ วัคซีนเชื้อตาย อย่างที่ไทยทำอยู่ มีผลจากงานวิจัยสนับสนุนว่าทำได้
9
🔺 แต่!! ก็ยังไม่แนะนำให้คนที่ฉีด AstraZeneca เข็มแรกในไทย ฉีดเข็มที่สองเป็นวัคซีนเชื้อตายอย่าง Sinovac หรือ Sinopharm เพราะไม่มีข้อมูลยืนยันโดยตรง ควรฉีดวัคซีน AstraZeneca เป็นเข็มสองเหมือนเดิม
11
📌 วัคซีนโควิดและไข้หวัดใหญ่ในเข็มเดียว งานวิจัยจากไทยได้รับการตีพิมพ์แล้ว
2
References >>
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา