12 ส.ค. 2021 เวลา 14:05 • หนังสือ

The Joy Luck Club (ตอนที่ 2)

เอมี ตัน ผู้เขียนบรรยายและเล่าเรื่อง ความเป็นหญิงของผู้หญิงสองรุ่น ที่มีรุ่นลูกเติบโตในนครซานฟรานซิสโกไม่ได้เผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกับแม่ จึงไม่อาจเข้าใจชีวิตแม่ได้อย่างลึกซึ้ง และมีความขัดแย้งที่ต้องการเติบโตและใช้ชีวิตของตนเอง ขณะที่ก็ต้องพยายามทำตามความคาดหวังของแม่ ท้ายที่สุดแม่และลูกสาวต่างก็ได้เรียนรู้ ยอมรับ และ เข้าใจกันในที่สุด
ผู้เขียนถ่ายทอดเรื่องราวโดยแต่่ละบทจะให้แม่บ้าง ลูกบ้างเป็นผู้ดำเนินเรื่องของทั้งสี่ครอบครัวคือ
- แม่ซือหยวนและจิงเหม่ย (จูน)
- แม่อันเหม่ยและโรส
- แม่ลินโด และเวเวอร์ลี
- แม่หยิงหยิงและลีน่า
เรื่องราวถ่ายทอดผ่านความทรงจำของผู้เป็นแม่ ซึ่งการดำเนินชีวิตของชาวจีน แม้จะอพยพมาอยู่ต่างถิ่นต่างแดนก็ยังปรากฏให้เห็น เช่นในสังคมชาวจีนอเมริกัน ซึ่งโรสที่แม้จะเติบโตในอเมริกัน แต่ไม่เหมือนหญิงอเมริกัน ขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่กล้าแสดงความเป็นผู้นำ บทเรียนชีวิตของแม่ทำให้ลูกสาวได้ค้นหาความเป็นตัวตนของตนเอง และชาวจีน
เรื่อง "The Joy Luck Club" ที่่แม่ถ่ายทอดและเล่าให้ลูกสาวฟัง มีการใช้สัญลักษณ์ต่างๆอย่างน่าสนใจ เช่น
- โต๊ะที่เล่นไพ่นกกระจอกซึ่งแม่จูนผูกพันมาก เธอเคยขนมันติดตัวไปขณะอพยพหนีสงคราม แต่ต้องทิ้งไป จนมีโต๊ะตัวใหม่เมื่อไปอเมริกา และบทสนทนาในวงไพ่นกกระจอก ที่ผู้เป็นแม่ทั้งสี่นั่งเล่น คุย เล่าประสบการณ์ชีวิต
- ชื่อแม่ทุกคนเป็นชื่อภาษาจีนขณะที่ชื่อลูกสาวทุกคนเป็นชื่อร่วมสมัยของชาวอเมริกัน
- ความหมายและความสำคัญของขนหงส์ และคำว่า "ตะวันออก" (ตัวแทนประเทศจีน)ที่แม่ผูกพันอย่างลึกซึ้ง ผู้เขียนบรรยายฉากที่จูนเอ่ยเรื่องแนวคิดตะวันออกของแม่ว่า
"The East is when things begin, my mother once told me, the direction from which the sun rises, where the wind comes from."
- ฉากเมื่อจูนมาร่วมเล่นไพ่นกกระจอกกับเพื่อนแม่อีกสามคน หลังจากแม่เธอเสียชีวิตไปแล้ว จูนกล่าวว่า เธออยากจะนั่งตรงที่แม่เธอเคยนั่งใน(มุมตะวันออก) ป้าที่เป็นเพื่อนแม่อีกสามคนนั่งทางทิศเหนือ ใต้ และตะวันตก จูนรู้สึกอยากทำหน้าที่ของแม่ พร้อมเป็นตัวแทนแม่
- แนวคิดเรื่องสตรีนิยม ในหนังสือนี้พ่อหรือผู้ชายเกือบจะไม่มีบทบาทโดดเด่นเท่าแม่และลูกสาวทั้งสี่ แต่มีบทบาทในเชิงสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมจีน
สิ่งที่เด่นชัดเมื่อเรื่องดำเนินไปคือความหวัง แม้แม่ทั้งสี่คนจะเคยมีประสบการณ์ชีวิตในอดีตที่จีนที่แสนหดหู่ ลำบากยากเข็ญ แต่เมื่อมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็เลือกที่จะมีชีวิตอย่างมีความสุข และมีความหวัง เช่นที่จูนเล่าว่า ที่มาของชื่อ Joy Luck Club เมื่อแม่ชวนเพื่อนๆ มาเล่นไพ่นกกระจอกกัน พวกเขาจะทำเหมือนว่ามีงานฉลองปีใหม่เป็นปาร์ตี้ทุกๆ สัปดาห์ และคิดถึงแต่เรื่องดีๆ
"So we decided to hold parties and pretend each week had become the new year. Each week we could forget past wrongs done to us. We weren't allowed to think a bad thought. We feasted, we laughed, we played games, lost and won... each week we could hope to be lucky. That hope was our only joy. And that's how we came to call our little parties Joy Luck."
เรื่องนี้ได้สร้างเป็นภาพยนตร์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ และผู้ชมต่างชื่นชอบมาก มีการแปลเป็นภาษต่างๆทั่วโลก ๒๕ ภาษา อ่านอีกครั้งฯก็ได้ดูหนังเรื่องนี้มาก่อน จึงไปซื้อหนังสือมาอ่านอีกในภายหลัง ผ่านมาหลายปีก็ยังคงชื่นชอบ ในไทยเคยมีผู้แปลชื่อ "มาจากสองฝั่งฟ้า" โดยจิตรภรณ์ วนัสพงศ์
แอดเชื่อว่าผู้อ่านทุกคนโดยเฉพาะลูกหลานไทยเชื่อสายจีนจะรู้สึกประทับใจเมื่อได้อ่าน "The Joy Luck Club" และเมื่ออ่านอีกครั้งก็จะได้ความคิดที่ลึกซึ้งเพราะเนื้อเรื่อง และบทประพันธ์ที่สะท้อนความรัก ความคาดหวัง ความขัดแย้งของแม่ลูกที่ยังคงเห็นได้ในคนสองรุ่น ก่อนจะนำไปสู่ความเข้าใจ และความผูกพันที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์ชีวิตให้ลูกรับรู้ แอดจึงขอแนะนำผลงานเขียนของ Amy Tan เล่มนี้
สุขสันต์วันแม่ค่ะ
#อ่่านอีกครั้งก็ยังชอบ #thejoyluckclub
#amytan #มาจากสองฝั่งฟ้า​#นวนิยาย #ความรักของแม่และลูก #ครอบครัวชาวจีนโพ้นทะเล​#AlwaysEnjoyReadingItAgain
โฆษณา