18 ส.ค. 2021 เวลา 19:40 • หุ้น & เศรษฐกิจ
wealthy – บั้นปลายมีทุนเกษียณ: รู้จักแนวคิดการจัดพอร์ตลงทุนแบบ Global Optimized Return โดย Finnomena X Franklin Templeton
สรุปจาก: "รู้จักพอร์ต GOR - Global Optimized Return เน้นลงทุนสินทรัพย์หลากหลายทั่วโลก" (https://youtu.be/X944nsRkgzM)
ที่มาภาพประกอบ: "freepik" (Arrow vector created by macrovector - www.freepik.com)
ปัจจุบัน Finnomena เป็นพาร์ทเนอร์อย่างเป็นทางการกับ Franklin Templeton ซึ่งเป็นเป็นบลจ.ขนาดใหญ่ของโลกอายุกว่า 170 ปีของสหรัฐอเมริกา พาร์ทเนอร์ในด้านแรกคือการร่วมกันให้ความรู้กับนักลงทุน ทำให้นักลงทุนไทยได้รับความรู้และมุมมองการลงทุนระดับโลก และพาร์ทเนอร์ในส่วนที่สองคือร่วมกันออกแบบ Portfolio Model ให้กับนักลงทุนโดยใช้แนวทางเดียวกับที่ Franklin Templeton ออกแบบพอร์ตให้กับลูกค้า Ultra High-Net-Worth เกิดเป็นพอร์ตการลงทุนที่ชื่อว่า Global Optimized Return หรือ GOR ซึ่งเปิดให้บริการไปเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยจำกัดจำนวนสำหรับนักลงทุนที่แจ้งความประสงค์ไปยัง Finnomena
แนวทางจากฝั่งของ Franklin Templeton คือ ใช้การกระจายสินทรัพย์ลงทุนหรือ asset allocation โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกสินทรัพย์คือ ข้อมูลความเสี่ยง (Risk profiles), ผลตอบแทนที่คาดหวัง (Expectation), ความเข้ากับวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย (Multi-Objective Optimization) ผ่านการทดสอบด้วยแบบจำลอง (Scenario and Stress Testing) และ มีผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง (Iterate to Efficient Frontier)
เมื่อเลือกสินทรัพย์ลงทุนได้แล้วจากนั้นก็นำเข้าสู่กลยุทธ์ Dynamic Asset Allocation ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นวงจรโดยเริ่มจาก ทำวิจัยธีมในระดับมหภาค (Macro Thematic Research), ทำวิจัยในแต่ละชนิดสินทรัพย์ (Asset Class Research), ประกอบร่างพอร์ต ทดสอบ และยืนยันแนวคิด (Assemble, Test and Validate) และขั้นตอนสุดท้ายคือ ทำการซื้อขาย เฝ้าติดตาม และทบทวน (Execute, Monitor and Review) จากนั้นจึงวนกลับไปที่ขั้นตอนแรกใหม่อีกครั้ง
ส่วนในฝั่งของ Finnomena นั้นทำหน้าที่ในการเลือกกองทุนที่ดีที่สุดสำหรับสินทรัพย์แต่ละชนิด โดยมีปัจจัยที่นำมาพิจารณาในการเลือกคือ ความสัมพันธ์ต่อดัชนีอ้างอิง (Correlated with Index), ค่าธรรมเนียมของกองทุน (Fee Consideration), เลือกกองที่มีการบริหารแบบแอคทีฟ (Active Fund Selection) และ เลือกกองทุนที่มีแนวคิดในการลงทุนที่จำเพาะ (High Conviction Play)
จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการคัดเลือกที่ปรับให้เข้ากับผลตอบแทนที่คาดหวัง (Return Optimization Process) เริ่มจากกองทุนทั้งหมดประมาณ 1,900 กองทุน นำมาผ่านการกรองเชิงปริมาณ (Quantitative Screen), ทดสอบความสัมพันธ์ย้อนหลัง (Correlation Backtest) และ ผ่านการกรองเชิงคุณภาพ (Qualitative Screen) ทำให้เหลือกองทุนที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 12 กองทุน
หน้าตาพอร์ต GOR ที่ได้ออกมานั้นมีหุ้นเป็นสัดส่วน 78% ตราสารหนี้ 17% และสินทรัพย์ทางเลือก 5% โดยมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนคือ ต้องการสร้างผลตอบแทนการลองทุนในระยะยาวด้วยสัดส่วน หุ้น:ตราสารหนี้ ประมาณ 75:25 ซึ่งจะช่วยให้รับกับความผันผวนที่รุนแรงได้ค่อนข้างดี ระยะเวลาในการถือลงทุนอย่างน้อย 5 ปี มีการปรับสมดุลพอร์ตปีละ 4-6 ครั้ง และถือกองทุนทั้งสินจำนวน 12 กองทุน
สินทรัพย์ลงทุนที่ Franklin Templeton เลือกจะประกอบไปด้วยฝั่งตราสารหนี้ได้แก่ ตราสารหนี้โลก หุ้นกู้เอกชน หุ้นกู้ดอกเบี้ยสูงของสหรัฐ ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ และตราสารหนี้ไทย ปัจจุบันมีสัดส่วน 17% ของพอร์ต โดยกำหนดระดับต่ำสุดที่มีได้คือ 10% และสูงสุด 40% ซึ่งภายในหุ้นกู้แต่ละชนิดจะถูกกำหนดกรอบของสัดส่วนสูงสุดและต่ำสุดเอาไว้ด้วย
ในฝั่งของหุ้นก็จะประกอบไปด้วย หุ้นสหรัฐ หุ้นยุโรป หุ้นญี่ปุ่น หุ้นตลาดเกิดใหม่ และหุ้นไทย ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วน 78% ของพอร์ต โดยกำหนดระดับต่ำสุดที่มีได้คือ 58% และสูงสุด 88% ซึ่งภายในหุ้นแต่ละชนิดก็จะถูกกำหนดกรอบของสัดส่วนสูงสุดและต่ำสุดเอาไว้ด้วยเช่นเดียวกับตราสารหนี้ และสุดท้ายฝั่งของสินทรัพย์ทางเลือก ในที่นื้คือกองทุนอสังหาริมทรัพย์หรือ REIT ปัจจุบันมีสัดส่วน 5% ของพอร์ต โดยกำหนดระดับต่ำสุดที่มีได้คือ 2% และสูงสุด 8%
จากปฏิทินผลตอบแทนของทุกสินทรัพย์ที่เลือกมาย้อนหลังไปจนถึงปี 2009 พบว่าไม่มีสินทรัพย์ใดที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ครบทุกปี ดังนั้นในการจัดพอร์ตลงทุนระยะยาวจึงควรจะมีการกระจายความเสี่ยง
จากพอร์ตที่จัดออกมาในปัจจุบัน เมื่อทำการทดสอบย้อนหลังพบว่าผลตอบแทนในช่วงระยะเวลา 10 ปีอยู่ที่ 8.2% ต่อปี ช่วงระยะเวลา 5 ปีอยู่ที่ 10.7% ต่อปี และช่วงระยะเวลา 3 ปีอยู่ที่ 7.6% ต่อปี โดยทั้ง 3 ช่วงระยะเวลามีช่วงที่พอร์ตขาดทุนสูงสุด (Maximum Drawdown) อยู่ที่ 20.1%
จากการทดสอบด้วยการนำสินทรัพย์ในสัดส่วนที่ Franklin Templeton เลือกมาทำเป็นดัชนีเรียกว่า GOR Index พบกว่าตั้งแต่ปี 2007 จนถึงปัจจุบัน GOR Index ให้ผลตอบแทนที่มากกว่าดัชนีหุ้นโลกหรือ MSCI World Index อยู่เล็กน้อยแม้จะมีสัดส่วนของตราสารหนี้อยู่ถึงประมาณ 25% ก็ตาม และเมื่อทำการทดสอบด้วยการนำพอร์ต GOR ที่ผ่านการเลือกกองทุนโดย Finnomena พบว่าผลตอบแทนตั้งแต่ช่วงปลายปี 2017 จนถึงปัจจุบันนั้นมากกว่า MSCI World Index และ GOR Index อย่างชัดเจน ส่วนผลตอบแทนจริงหลังจากที่พอร์ต GOR เปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันจะอยู่ที่ +2.91% โดยที่ GOR Index อยู่ที่ +2.28%
ปัจจุบันข้อมูลกองทุนที่อยู่ในพอร์ต GOR ไม่ได้ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะเหมือนกับพอร์ตโมเดลอื่น ๆ ของ Finnomena เนื่องจากเป็นพอร์ต Exclusive ที่ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำ 10 ล้านบาท แต่หากท่านใดสนใจศึกษาข้อมูลพอร์ต GOR แบบละเอียดรวมถึงกองทุนที่อยู่ในพอร์ตว่ามีกองใดบ้าง ก็สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://franklintempleton.finnomena.com
สนใจสร้างพอร์ต #กองทุนรวม ผ่าน #FINNOMENA เลือกกองทุนได้จาก 22 บลจ.(กองภาษี 5 บลจ.) ไม่มีค่าบริการเพิ่ม โดยมีผม ทศพล สุวรรณสุต ใบอนุญาตจากกลต.เลขที่ 115000 เป็นที่ปรึกษาส่วนตัว เพียงยืนยันตัวตนด้วย NDID และทำแบบประเมิน KYC ออนไลน์ อนุมัติใน 1 สัปดาห์ (กรุณากรอก Referral code: 115000) >>> https://link.finnomena.com/ifa?refcode=115000
ติดตามผ่านโซเชียลมีเดีย: https://linktr.ee/2fi_finance_fitness
"2Fi-รายวัน" ประจำวันที่ 2021.08.19 ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านจนจบ ขอให้ทุกท่านมีการเงินดี มีสุขภาพดี และมีชีวิตที่ดี แล้วพบกันใหม่ครับ 😊
#การเงินส่วนบุคคล #ลงทุน #เศรษฐกิจ #กองทุนรวม #FINNOMENA #ฟินโนมีนา #FranklinTempleton #แฟรงคลินเทมเพิลตัน #FinnomenaXFranklinTempleton #GOR #GlobalOptimizedReturn #AssetAllocation #กระจายสินทรัพย์ลงทุน #กระจายความเสี่ยง #ตราสารหนี้ #หุ้น #กองทุนอสังหา #REIT #รีท #ตราสารหนี้โลก #หุ้นกู้เอกชน #หุ้นกู้ดอกเบี้ยสูงของสหรัฐ #ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ #ตราสารหนี้ไทย #หุ้นสหรัฐ #หุ้นยุโรป #หุ้นญี่ปุ่น #หุ้นตลาดเกิดใหม่ #หุ้นไทย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา