19 ส.ค. 2021 เวลา 04:00 • ธุรกิจ
เกือบ 60 ปีหลังถูกคิดค้น คนรุ่นใหม่เริ่มมอง ‘อีเมล' ตกยุค
กลายเป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจ หลังที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2564 เดินหน้าสนับสนุน ‘รัฐบาลดิจิทัล’ โดยมีมติให้หน่วยงานราชการต้องใช้ ‘อีเมล’ เป็นการสื่อสารหลัก มีผลตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. 2564 เป็นต้นไป
1
แม้เรื่องดังกล่าวจะทำให้การทำงานในหน่วยงานราชการทันสมัยรับโลกดิจิทัลมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น งานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า “สำหรับคนรุ่นใหม่นั้น การใช้อีเมลกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว”
1
ทั้งนี้ แม้คนรุ่นใหม่อย่างชาวเจเนอเรชั่น Z หรือผู้ที่เกิดในปี 1997-2012 จะเห็นด้วยกับแนวคิดบางอย่างของคนรุ่นก่อนหน้า และนำสิ่งเหล่านั้นกลับมาใช้อีกครั้งภายใต้เทรนด์วินเทจอย่างกางเกงยีนส์เอวต่ำ หรือแนวเพลงป็อปพังก์
แต่ถึงอย่างนั้น คนกลุ่มนี้กลับไม่ได้เห็นด้วยกับเรื่องของสิ่งที่เริ่มใช้งานตั้งแต่ในปี 1965 อย่างอีเมลสักเท่าไหร่นัก และมีแนวโน้มว่าจะชอบสื่อสารด้วยช่องทางอื่นมากกว่า
1
งานวิจัยจากบริษัทที่ปรึกษา Creative Strategies ที่เผยแพร่ออกมาในปี 2020 ระบุว่า เครื่องมือหรือแพลตฟอร์มหลักที่ใช้สำหรับทำงานนั้น เป็นสิ่งที่มีเรื่องของช่องว่างระหว่างวัยอยู่
2
โดยผลสำรวจพบว่า อีเมลเป็นเครื่องมืออันดับต้นๆ ที่คนอายุ 30 ปีขึ้นไปใช้ในการทำงานร่วมกัน
2
ขณะที่คนที่อายุน้อยกว่า 30 ปีใช้ Google Docs เป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับทำงานร่วมกันมากที่สุด รองลงมาคือ Zoom และ iMessage
‘อดัม ซิมมอนส์’ อายุ 24 ปี ระบุว่าตนชอบสื่อสารผ่านตัวอักษรบนแพลตฟอร์มอะไรก็ได้ ยกเว้นอีเมล ทั้งนี้ ซิมมอนส์อาศัยอยู่ในลอสแองเจลิส และเริ่มทำบริษัทผลิตวิดีโอของตัวเอง หลังสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโอเรกอนในปี 2019
1
ซึ่งในการสื่อสารกับพนักงาน 8 คน และลูกค้าของเขาที่ส่วนใหญ่เป็นทีมกีฬาต่างๆ โดยหลักซิมมอนส์จะอาศัยการส่งข้อความผ่านอินสตาแกรม และการโทรด้วย Zoom
“อีเมลเหมือนเป็นแหล่งสร้างความเครียดทั้งหมดของชีวิตจากพื้นที่เดียว และทำให้รู้หมดไฟ (Burnout) มากขึ้นไปอีก” ซิมมอนส์กล่าว และว่า
6
“เวลาที่เราเข้าอีเมลและตั้งใจจะดูงานซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราก็ต้องเห็นอีเมล์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอีเมลทวงค่าเช่าจากเจ้าของบ้าน, บิลเรียกเก็บเงินจากเน็ตฟลิกซ์ ฯลฯ ซึ่งทำให้ผมคิดว่านั่นเป็นวิธีใช้ชีวิตที่ไม่ดีเท่าไหร่”
4
จุดเปลี่ยนที่ทำให้ซิมมอนส์แตกหักกับใช้อีเมลทำงาน คือการพบว่าอีเมลเรื่องงานจากทีมเบสบอลอย่าง Seattle Mariners หายไปในโฟลเดอร์สแปมของเขา
“อีเมลเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปแล้วจริงๆ” ซิมมอนส์กล่าว ก่อนจะชี้ให้เห็นว่าการใช้อีเมลยังประสบปัญหากับการที่ข้อความที่ไม่ใช่สแปม ไปปรากฏอยู่ในโฟลเดอร์สแปม นอกจากนี้เวลาจะส่งวิดีโอก็ต้องอัพโหลดคลิปในที่อื่นอย่าง Google Drive ก่อนส่งอีเมลอีกด้วย
3
ซิมมอนส์ยังระบุอีกว่า อีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เขาไม่ชอบการใช้อีเมลเท่าไหร่นัก เป็นเพราะการใช้อีเมลทำให้เขารู้สึกพะวงกับการต้องเช็กตลอดเวลาว่ามีอีเมลจากหัวหน้าส่งมาหาเขาหรือไม่ และนั่นเป็นสิ่งที่สร้างความเครียดให้กับเขา
11
ทั้งนี้ ผลสำรวจล่าสุดโดยบริษัทที่ปรึกษา Deloitte ยังพบว่า 46% ของชาวเจน Z ที่ตอบแบบสำรวจระบุว่าพวกเขารู้สึกเครียดตลอดเวลา หรือเกือบตลอดเวลาของปี 2020 และ 35% ระบุว่าพวกเขาต้องหยุดงานเนื่องจากความเครียดและความวิตกกังวล
อย่างไรก็ตาม ความเครียดจากกล่องจดหมายในอีเมลไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคนรุ่นใหม่เท่านั้น เพราะในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา จากการพูดคุยถึงประเด็นภาวะหมดไฟเนื่องจากการระบาดของโควิด สำนักข่าวอย่าง The New York Times ก็ได้รับข้อความจากผู้อ่าน ซึ่งหลายคนระบุว่าส่วนหนึ่งมาจากการใช้อีเมล
2
โดยบางคนระบุว่า “ในวันที่แย่ที่สุด การเปิดอ่านอีเมลก็ทำให้ฉันเสียน้ำตาได้”
ขณะที่อีกหลายรายระบุว่า “ทุกครั้งที่ได้รับอีเมล ความรู้สึกเหมือนกับถูกแทง เพราะกลายเป็นว่าฉันมีงานงอก มีอีกสิ่งที่ฉันต้องทำ”
1
ข้อเสียของการใช้อีเมลดูเหมือนจะรุนแรงมากขึ้นจากการระบาดของโควิดที่ทำให้คนต้องทำงานที่บ้านและติดต่อกันผ่านอีเมล์ ซึ่งทำให้การใช้อีเมลเข้ามาแทนที่การพูดคุยกันแบบ face-to-face มากกว่าเดิม
1
และการตัดสินใจต่างๆ ร่วมกันของเพื่อร่วมงาน ที่แต่เดิมเกิดขึ้นบนโต๊ะประชุม กลับถูกผลักไสให้มาอยู่ในกล่องข้อความของอีเมลแทน
นอกจากนี้ หลายคนยังระบุอีกว่า การโต้ตอบด้วยการ reply ไปมาบนอีเมลเป็นจำนวนมาก ทำให้พวกเขาสูญเสียความสามารถในการติดตามงานอื่นๆ, สร้างวัฏจักรการทำงานที่ไม่ได้เกิดประสิทธิภาพ และทำให้รู้สึกแย่มากขึ้น
4
ทั้งนี้ สาเหตุนานัปการทำให้บางคนพยายามเลิกใช้อีเมลมาหลายปีแล้ว โดยนักเขียนอย่าง ‘แคล นิวพอร์ต’ ผู้เขียนหนังสือ ‘A World Without Email: Reimagining Work in an Age of Communication Overload’ ระบุว่า
“กล่องจดหมายคือการปกครองแบบเผด็จการที่ทำให้เราสูญเสียสมาธิ เพราะต้องสลับไปมาระหว่างการใช้อีเมล, สแลค (Slack) และงานอื่นๆ ที่กองพะเนินอยู่ในสมอง ที่ทำให้เรายังรู้สึกท้อแท้, เหนื่อยล้า และกังวล เพราะสมองของมนุษย์ไม่สามารถจัดการได้ขนาดนั้น”
2
ในปี 2017 งานวิจัยชิ้นหนึ่งยังระบุอีกว่า โดยทั่วไปกล่องจดหมายมีอีเมลยังไม่ได้อ่านเฉลี่ยอยู่ที่ 199 ฉบับ และปัจจุบัน ระยะเวลากว่า 16 เดือนที่โควิดระบาดที่ทำให้คนต้องทำงานจากบ้าน ก็ยิ่งทำให้กล่องจดหมายของเหล่าพนักงานออฟฟิศขยายใหญ่ มีอีเมลเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ
คนรุ่นใหม่ยังให้เหตุผลอีกว่า แม้การใช้ช่องทางอื่นจะมีข้อเสียที่ส่งผลต่อความสมดุลในการใช้ชีวิต แต่การใช้ภาษาทางการที่ยุ่งยากและรุงรังของอีเมล ก็ทำให้พวกเขาเลือกใช้ช่องทางอื่นมากกว่าอยู่ดี
2
ยกตัวอย่าง แฮร์ริสัน สตีเวนส์ วัย 23 ปี ที่เริ่มทำบริษัทเสื้อผ้าวินเทจขณะกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยโอเรกอน ก่อนจะเปิดร้านของตัวเองจริงจังหลังจบการศึกษาในปี 2020
แฮร์ริสันระบุว่าเขาส่งเบอร์ส่วนตัวให้กับลูกค้า และติดต่อกับลูกค้าผ่านการโทรและส่งข้อความ ซึ่งช่วยให้การติดต่อง่ายขึ้น แต่ก็มาพร้อมปัญหาใหม่คือทำให้เขาขาด work-life balance หรือไม่มีสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตที่ชัดเจน
แต่ถึงอย่างนั้น เขาระบุว่าการส่งอีเมลเป็นเหมือนสิ่งบ่งบอกถึงความวิตกกังวลทางสังคมเกือบทั้งหมดที่คนเราจะมีเลยก็ว่าได้ และเขาคิดว่าหลายคนพบเหมือนกันว่าการส่งข้อความนั้นง่ายกว่าและสะดวกกว่าการเขียนอีเมล
เขายังระบุอีกว่า เพราะการส่งอีเมลนั้นให้ความรู้สึกเหมือนกับว่ามีสายตามากมายจับจ้องอยู่ คนส่งจะต้องมีความเป็นมืออาชีพ และทำให้แน่ใจว่าทุกอย่างสมบูรณ์แบบก่อนกดส่งอีเมล์ออกไป ขณะที่การพิมพ์ข้อความบนมือถือ ใช้ความเป็นทางการน้อยกว่าอีเมลมาก
3
ขณะที่ ‘ออโรรา บิกเกอร์ส’ นักข่าววัย 22 ปี ระบุว่า แม้ตนจะเคยให้เบอร์โทรส่วนตัวและได้รับข้อความมากมายจนละเมิดเวลาส่วนตัวไป แต่ก็คิดว่าคนรุ่นเธอคงไม่ค่อยนิยมใช้อีเมลเป็นการสื่อสารหลัก จากปัญหาหลักคือในอีเมลนั้น ‘มีส่วนที่ไม่จำเป็น’ มากเกินไป
2
“เป็นไปได้เลยที่จะคาดหวังว่าอีเมลจะเป็นรูปแบบการสื่อสารหลัก เพราะคนจำนวนมากไม่ได้ทำงานที่ต้องนั่งอยู่ในออฟฟิศและได้รับการแจ้งเตือนทางอีเมล”
1
“ฉันไม่คิดว่าเราควรคาดหวังว่าคนอื่นจะสื่อสารกับเราด้วยวิธีนี้” ออโรรากล่าว
ท้ายที่สุด สิ่งที่น่าคิดคือ ในยุคที่คนรุ่นใหม่อย่างชาวเจน Z กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในตลาดแรงงานมากขึ้น ดังนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่บริษัทและองค์กรต่างๆ ต้องหาวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม และสมดุลกับความต้องการของแต่ละวัย
เพื่อให้ติดต่อสื่อสารพูดคุยเรื่องงาน เป็นเรื่องง่าย ทันสมัย เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน และไม่ทำร้ายจิตใจใครนั่นเอง!
2
#workpointTODAY
#สาระความรู้เพื่อวันนี้
ไม่พลาดข่าวธุรกิจ การตลาดที่สำคัญ ติดตาม TODAY Bizview https://bit.ly/3picIeS
ติดตามรายการของ workpointTODAY ทาง YouTube https://bit.ly/2YDfyiK

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา