24 ส.ค. 2021 เวลา 02:00 • ไลฟ์สไตล์
บัฟเฟตต์ไม่ใช่คนแรกที่พูดว่า Price is what you pay...
1
หลายคนเชื่อว่า Price is what you pay. Value is what you get. เป็นคำพูดของ วอร์เร็น บัฟเฟตต์ นี่เป็นความเข้าใจผิด แล้วใครเล่าที่พูดเป็นคนแรก
1
บทความโดย ดร.โสภณ พรโชคชัย | คอลัมน์ อสังหาริมทรัพย์ต่างแดน
บัฟเฟตต์ไม่ใช่คนแรกที่พูดว่า Price is what you pay...
วอร์เร็น บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2473 ในสหรัฐอเมริกา. . .เป็นซีอีโอของบริษัทเบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก โดยมีทรัพย์สินเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 อยู่ที่ประมาณ 84,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2.7 ล้านล้านบาท) ทำให้เขาเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกเป็นอันดับสาม เขามักถูกอ้างอิงใน Internet ว่าเป็นคำกล่าวคำว่า “Price is what you pay. Value is what you get”
อย่างไรก็ตามมีการค้นพบหลักฐานว่านายวอร์เร็น บัฟเฟตต์ กล่าวประโยคดังกล่าวในครั้งแรกเมื่อปี 2551 โดยระบุว่า “In the 2008 letter to the Berkshire Hathaway’s shareholders, Warren Buffett wrote: ‘Long ago, Ben Graham taught me that ‘Price is what you pay; value is what you get.’ Whether we’re talking about socks or stocks, I like buying quality merchandise when it is marked down.’” นี่ย่อมแสดงว่าคนกล่าวประโยคดังกล่าวคือนายเบนจามิน แกรม
2
แล้วนายเบนจามิน แกรม (Benjamin Graham) คือใคร เขาก็คือ “อาจารย์” ของนายวอร์เร็น บัฟเฟตต์ เขาเกิด 9 พฤษภาคม 2437 (เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5) เป็นนักลงทุน นักเศรษฐศาสตร์ อาจารย์ ชาวอเมริกันที่เกิดในอังกฤษ เขาได้จ้างบัณฑิตใหม่ชื่อ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เข้าทำงาน. . .บัฟเฟตต์ระบุว่าแกรมเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในชีวิตลำดับที่สอง รองจากพ่อของเขาเอง”
1
ผมจำได้ว่าในสมัยที่ผมเรียนวิชาการประเมินค่าทรัพย์สินจากศาสตราจารย์อาร์โล วูเลอรี่ (Arlo Woolery) จากสถาบันนโยบายที่ดินลินคอล์น (Lincoln Institute of Land Policy) ในปี 2532 ท่านก็มักพูดว่า “Price is what you pay. Value is what you receive” แสดงว่าคำนี้ของนายเบนจามิน แกรม ได้รับการกล่าวถึงมานานแล้ว เพียงแต่นายวอร์เร็น บัฟเฟตต์ ซึ่งแม้เป็นคนแก่มากแล้ว (อายุ 91 ปี ณ ปี 2564) แต่เป็นคนร่วมสมัยกับเรา และจึงดังกว่าอาจารย์ของเขาที่ดับไปแล้วตั้งแต่ปี 2519 (หรือตายไป 45 ปีนับถึงปี 2564) ได้นำมาพูดซ้ำอีกครั้งในปี 2551 ผู้คนจึงเข้าใจว่านายวอร์เร็น บัฟเฟตต์ เป็นคนพูดคนแรกนั่นเอง
5
อย่างไรก็ตาม คำกล่าวนี้เป็นคำกล่าวที่มีความหมายลึกซึ้งมาก จะเป็นใครกล่าวก่อนหรือหลังก็ตามทีเถอะ ศาสตราจารย์วูเลอรี่ของผมได้นำมาถ่ายทอดให้ผมฟังจนขึ้นใจว่า “ราคาคือสิ่งที่เราจ่ายออกไป แต่มูลค่าคือสิ่งที่เราได้รับมา” เช่น เราจ่ายเงินซื้อบ้านไป 1 ล้านบาท แต่สิ่งที่ได้มาซึ่งเป็นมูลค่าบ้านนั้นอาจมีค่า:
2
เท่ากับ 1 ล้านบาท เท่าราคาที่เราจ่ายเงินซื้อไป
เท่ากับ 1.5 ล้านบาทหรือมากกว่าราคาที่เราซื้อ แต่คนขายยอมขายต่ำกว่าราคาตลาด เพราะคนขายอาจต้องรีบร้อนขายเพื่อนำเงินไปใช้หนี้ ไปลงทุน หรืออื่นใด
1
เท่ากับ 0.5 ล้านบาท หรือน้อยกว่าราคาที่เราซื้อ เพราะผู้ซื้อรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือถูกหลอก จึง “เสียค่าโง่” ซื้อของในราคาที่เกินกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น นั่นเอง
1
สิ่งที่เราพึงทราบเพิ่มเติมก็คือ มูลค่ากับราคานั้นน่าจะใกล้เคียงกัน แต่ก็อาจแตกต่างกัน “มูลค่า” เป็นประมาณการของคุณค่าของสินค้าหรือบริการ ณ ห้วงเวลาหนึ่ง โดยดูที่ประโยชน์ใช้สอยเป็นหลักไม่ใช่เฉพาะสภาพทางกายภาพของสินค้านั้น ส่วน “ราคา” เป็นจำนวนเงินที่ใช้สำหรับเสนอหรือจ่ายสำหรับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเป็นตัวเลขจริง ราคานั้นอาจจะไม่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าก็ได้
ที่ว่าราคาไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพทางกายภาพของทรัพย์สิน เช่น ตึกแถว 4 ชั้น แถวหนองจอก อาจมีราคาแค่ 3-4 ล้านบาท แต่ตึกลักษณะเดียวกันนี้ ถ้าตั้งอยู่ที่ตลาดมีนบุรี อาจเป็นราคา 8-10 ล้านบาท ถ้าอยู่แถวตลาดบางกะปิ อาจเป็น 14-15 ล้านบาท แต่ถ้าอยู่แถวสุขุมวิท 21 (อโศก) อาจปาไป 20 ล้านบาท แต่ถ้าอยู่แถวสีลม อาจสูงถึง 25 ล้านบาท ยิ่งหากอยู่ที่สำเพ็ง อาจสูงสุดถึง 40-50 ล้านบาท เพราะการใช้สอยต่างกัน แถวมีนบุรี อาจเหมาะที่จะขายของชำ ที่ตลาดมีนบุรีหรือตลาดบางกะปิ มีคนผ่านไปมามากกว่า ก็อาจขายได้มากกว่า ยิ่งถ้าอยู่อโศก อาจกลายเป็นสำนักงาน ถ้าอยู่สีลมอาจเป็นร้านขายของเก่าสำหรับนักท่องเที่ยว และหากเป็นสำเพ็ง ก็เป็นศูนย์รวมของเสื้อค้าขายส่งเป็นต้น ถ้าใครไม่ “เจ๋ง” จริงก็ไม่มีหน้าร้านอยู่แถวนั้น เป็นต้น
มูลค่าของทรัพย์สินที่เราประเมินนั้น มูลค่ามักจะค่อนข้าง Subjective คือขึ้นอยู่กับทรัพย์สินนั้นๆ แต่ราคาเป็นสิ่งที่จับต้องได้ (Objective) มีการนำเสนอหรือซื้อขายจริงในท้องตลาด ในตลาดถือว่า “Many Prices but One Value” แปลว่ามีหลายราคาแต่มีมูลค่าตลาด (ที่แท้) เพียงมูลค่าเดียว หรืออาจกล่าวได้ว่า มีราคาของคนจะซื้อ ราคาของคนจะขาย ราคาบังคับการ ราคาเรียกขาย ราคาขายฝาก แต่มูลค่าตลาด มีอยู่หนึ่งเดียวที่เราต้องวิเคราะห์ออกมาให้ได้ว่าเป็นเงินเท่าไหร่
1
ในการประเมินค่านั้น เราจึงเรียกว่าการประเมินค่า หรือประเมินมูลค่า ไม่ใช่ประเมินราคา เพราะเราวิเคราะห์หาค่าของทรัพย์สินที่เราต้องการประเมิน (Subject Property) จากราคาตลาดต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง เช่น โดยเฉลี่ยแล้ว จากข้อมูลตลาด 10 รายการ เขาขายกันในราคา 10 ล้านบาท ทรัพย์ของเราก็ควรมีราคาเท่านั้น เว้นแต่ว่าทรัพย์ของเรามีข้อดีกว่า เช่น อยู่แปลงหัวมุม ก็อาจมีค่าสูงกว่า 10 ล้าน แต่ถ้าทรัพย์ของเรามีสภาพทรุดโทรมมาก ก็อาจต่ำกว่า 10 ล้าน
2
อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อมูลตลาดที่ผิดปกติ ผิดเพี้ยนหรือผ่าเหล่าผ่ากอออกไปบ้าง ซึ่งเราเรียกว่า Outliers ข้อมูลพวกนี้เราคงต้องเอาออกไปก่อนที่จะนำเอาข้อมูลต่างๆ มาเฉลี่ย เช่น บ้านส่วนใหญ่อาจขายกันหลังละ 10 ล้านบาท แต่บ้านบางหลังอาจมีราคาสูงกว่านั้นมาก เพราะผู้ขายโก่งราคา ผู้ซื้อจำเป็นต้องซื้อ หรือซื้อด้วยความไม่รู้ ในขณะเดียวกันบางหลังอาจต่ำเป็นพิเศษ เพราะมีสภาพทรุดโทรมหนักมาก หรือมีคนฆ่าตัวตายในบ้าน บางคนจึงกลัวที่จะซื้อบ้านประเภทนี้ เป็นต้น
1
ยังมีคำที่คล้ายคลึงกันอีก 2 คำคือ คุณค่า และมูลค่า คุณค่าคือสิ่งที่มีประโยชน์หรือมีมูลค่าสูง ส่วนมูลค่าก็คือ ค่าของสิ่งของ, ราคาของสิ่งของ (ตามราชบัณฑิตยสถาน) เรามักใช้คำว่าคุณค่าในกรณีต่างๆ เช่น คุณค่าทางโภชนาการ นอกจากนี้เรายังอาจมีสิ่งที่เป็นคุณค่าทางจิตใจที่อาจจะล้ำค่าหรือสูงค่าจนประเมินค่ามิได้ (Invaluable) สำหรับใครบางคน เช่น “เจ้าคุณปู่” สั่งให้อยู่ที่นี่ เกิดที่นี่ตายที่นี่ ไม่ยอมย้าย ไม่ยอมขายที่ดินเด็ดขาด แต่ถ้าถูกเวนคืน ก็ต้องไปในฐานะพลเมืองของชาติ เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม (โดยได้รับค่าทดแทนที่เหมาะสม) จะมาอ้าง (ส่งเดช) ว่ามีคุณค่าทางจิตใจไม่ได้
1
แต่ถ้าในกรณีสมบัติของชาติ เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สวนลุมพินี ฯลฯ เราก็คงไม่สามารถประเมินค่าได้ง่ายๆ เพราะไม่มีคนซื้อ หรือไม่มีคนขายนั่นเอง แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังมีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ กล่าวคือถ้าขาดสิ่งเหล่านี้ไป จะทำให้เกิดการสูญเสียไปเป็นเงินเท่าไหร่ หรือสิ่งเหล่านี้สร้างรายได้ให้กับชาติหรือช่วยหล่อเลี้ยง เป็นกำลังใจแก่คนในชาติ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่าไหร่ เป็นต้น กรณีนี้ใช้ในการคิดถึงมูลค่าของดวงจันทร์ (เทหวัตถุที่ล่องลอยอยู่บนท้องฟ้า) ได้ด้วย
1
กลับมากล่าวถึงนายเบนจามิน แกรมอีกครั้งว่า ท่านสอนเรื่องการมีหนี้ให้น้อยที่สุด (Minimal Debt) ในแง่หนึ่งการมีหนี้นั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เราสามารถขยายกิจการได้ แต่ในอีกแง่หนึ่งก็ต้องไม่มากเกินไป ศาสตราจารย์วูเลอรี่ที่สอนผมเมื่อปี 2532 ได้ขยายความว่า ถ้าไม่จำเป็นเราต้องไม่กู้ ถ้ากู้ก็กู้แต่น้อย ไม่ควรกู้หลายรายการ เมื่อกู้แล้วก็ต้องใช้คืนให้เร็วที่สุด เพื่อเราจะได้ลงทุนใหม่ๆ ไม่ให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity cost) นั่นเอง
คุยกันถึงที่สุดแล้ว ก็อย่าลืมคติว่า “Price is what you pay. Value is what you get”
โฆษณา