24 ส.ค. 2021 เวลา 21:14 • หุ้น & เศรษฐกิจ
expert view – CASH/BOND/STOCKS/alternative assets: Belief Allocation
สรุปจาก: "“FED เปลี่ยนแล้ว แล้วเราต้องปรับไหม? พอร์ต Belief allocation รับมืออย่างไร?” - Expert Delivery" (https://youtu.be/GJdf_699ClY)
ที่มาภาพประกอบ: "freepik" (Abstract vector created by vectorjuice - www.freepik.com)
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในรอบนี้มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งมีความเป็นวัฏจักรสูง ถึงแม้ในตอนนี้จะมีปัจจัยระยะยาวที่ค้ำไว้แต่ก็มีความเคลื่อนไหวที่สำคัญ และท่าทีที่เปลี่ยนไปของ FED ทำให้ต้องกลับมาทบทวนและกำหนดจุดยืนใหม่อีกครั้ง จึงเป็นที่มาของการปรับพอร์ตในครั้งนี้
บันทึกการประชุม FOMC เมื่อวันที่ 27-28 กรกฎาคม 2021 ออกมาว่าคณะกรรมการส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรจะลดวงเงิน QE ภายในปีนี้ เนื่องจากมีความคืบหน้าของค่าชี้วัดที่ใช้เป็นเป้าหมายซึ่งก็คือ อัตราเงินเฟ้อ และ อัตราการจ้างงาน
พบว่าการลดวงเงิน QE (QE Tapering) กับ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rates) นั้น FED อาจจะพิจารณาแยกออกจากกันในตอนนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้หลายคนเข้าใจว่า FED จะทำการลดวงเงิน QE ให้เสร็จก่อนจากนั้นค่อยขึ้นดอกเบี้ย แต่ตอนนี้การลดวงเงิน QE ขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อ ส่วนการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอยู่กับอัตราการจ้างงานแล้ว
ความคาดหวังเงินเฟ้อทั้งปีที่ 1-5 และปีที่ 6-10 ต่างปรับลงอย่างชัดเจนในช่วงนี้
พฤติกรรมที่กลับไปกลับมาที่เราเห็นในตลาดมักจะเกิดจากการเคลื่อนไหวของนักลงทุน(รายใหญ่)เอง ที่เข้ามาฉวยโอกาสในจังหวะที่นักลงทุนส่วนใหญ่กำลังมีความสับสน ความกลัว และความโลภ ผสมกัน ดังนั้นช่องว่างของเวลานับจากที่ FED หยุดให้ข้อมูลจนถึงการประชุมที่ Jackson Hole ก็จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาที่แปลก ๆ แต่สิ่งที่ อ.ณัฎฐะ ยึดถือก็คือหลักฐาน ซึ่งก็คือบันทึกการประชุมที่ออกมาล่าสุด
ยีลด์แท้จริงของพันธ์บัตรสหรัฐปรับตัวขึ้นทั้ง 10 ปีและ 5 ปี โดยเฉพาะ 5 ปีที่ปรับขึ้นจนชนกรอบบนและมีโอกาสทะลุ แสดงให้เห็นว่านักลงทุนขายพันธบัตรของสหรัฐเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่ FED กำลังจะทำต่อไป โดยหลังจากการประชุมที่ Jackson Hole ยีลด์ของพันธบัตรสหรัฐ 5 ปีอาจขึ้นต่อจนทะลุกรอบบนก็เป็นได้
เปรียบเทียบ FED เหมือนเป็นกรรมการในการแข่งขัน หากแข่งขันกันโดยไม่สนใจกรรมการเลยก็คงจะไม่ได้ ดังนั้นการติดตามท่าที่ของ FED อย่างใกล้ชิดจึงถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะการลงทุนแบบจัดเป็นพอร์ตฟอลิโอนั้นก็เป็นการแบ่งรับแบ่งสู้โดยตัวมันเองอยู่แล้ว เนื่องจากไม่ได้ตั้งความหวังไว้กับสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว ดังนั้นเราจึงสามารถใช้โอกาสจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้กับการลงทุนได้ นอกจากนี้ในบางสถานการณ์ที่ผู้ร่วมตลาดกำลังเพิ่มการลงทุนในทิศทางที่ค่อนข้างอันตราย การหาประโยชน์ที่ดีจากสถานการณ์เช่นนี้ก็คือการถือเงินสดเอาไว้มากขึ้น เนื่องจากหากสถานการณ์นั้นอันตรายจริงราคาสินทรัพย์ก็อาจจะปรับตัวลงได้มาก
สรุปการปรับพอร์ตของ Belief Allocation ในครั้งนี้:
KT-MINING 25% เปลี่ยนเป็น KTSTPLUS-A 25%
KT-CLIMATE-A 10% คงเดิม
KT-WTAI-A 10% คงเดิม
KT-HEALTHCARE-A 10% คงเดิม
KT-CHINABOND-A 15% คงเดิม
KT-Ashares-A 15% คงเดิม
KT-CHINA-A 15% คงเดิม
ตอนนี้ Blackrock ไม่มองหุ้นจีนรวมอยู่กับ Emerging market แล้ว แต่มองแยกต่างหากเนื่องจากมีเรื่องราวที่เฉพาะตัว และมีเหตุผลในการขึ้นและลงที่เฉพาะตัวด้วย
ย้อนกลับไปพูดถึงสมมติฐานสำคัญ ณ ตอนที่ปรับพอร์ตเข้า KT-MINING คือ การลดวงเงิน QE ของ FED ขึ้นอยู่กับทั้งปัจจัยด้านอัตราเงินเฟ้อและอัตราการจ้างงาน เรียกว่า "ตามหลังเงินเฟ้อ" ซึ่งเป็นภาวะที่ดีต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ แต่หลังจากที่บันทึกการประชุมออกมา อ.ณัฏฐะ ตีความว่า FED เลิกตามหลังเงินเฟ้อแล้ว ดังนั้นสมมติฐานสำคัญที่ตั้งไว้ในตอนแรกจริงถูกยกเลิก จึงจำเป็นต้องออกจาก KT-MINING ทันที เนื่องจากการลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์มีความผันผวนสูง ตอนนี้อาจจะยังบอกไม่ได้ว่าถูกหรือผิด แต่ถ้าสินค้าโภคภัณฑ์เปลี่ยนเป็นขาลงจริงอาจจะทำให้ขาดทุนหนักได้
หลักการที่ใช้ในการตัดสินใจออกจากสินค้าโภคภัณฑ์แต่ยังเก็บหุ้นจีนไว้ทั้ง ๆ ที่ติดลบก็คือ
1. ถ้า universe ของกองทุนกว้างพอ ไม่ใช่เป็นการลงทุนใน theme หรือ subtheme ซึ่งตลาดหุ้นจีนกว้างพอเนื่องจากเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับการที่หากถือหุ้นสหรัฐแล้วทนติดลบได้ หุ้นจีนก็ควรจะถือได้เช่นกัน และทั้ง KT-Ashares-A กับ KT-CHINA-A ต่างก็เป็นกองทุนที่มีการกระจายตัวและยืดหยุ่นสูง แต่ KT-MINING มี universe ที่แคบเนื่องจากเป็นการลงทุนอยู่ใน sector เดียว
2. ถ้ามีสไตล์การลุงทุนเป็นแบบยืดหยุ่น หลังจากที่พูดคุยกับผู้จัดการกองทุนแล้วเรามีความเชื่อมั่นในฝีมือ ทีมงาน และเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ ซึ่งกองทุน KT-CHINA-A ตอบโจทย์ข้อนี้ หรืออีกอย่างก็คือมีสไตล์การลงทุนในหุ้นที่เน้นคุณภาพ เนื่องจากเชื่อได้ว่าหุ้นที่กองไปลงทุนจะสามารถปรับตัวผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบากได้ ซึ่งกองทุน KT-Ashares-A ตอบโจทย์ข้อนี้
สุดท้าย อ.ณัฏฐะ ฝากข้อคิดเอาไว้ว่า การลงทุนนั้นยากอยู่แล้ว ดังนั้นจึงควรลดเงื่อนไขของตัวเราเองลงเท่าที่จะทำได้ การที่ซื้อมาแล้วนานแค่ไหนไม่จำเป็นต้องเป็นเงื่อนไขในการขายออก การซื้อมาที่ราคาเท่าไหร่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเงื่อนไขในการขายออก หรือการขายไปที่ราคาเท่าไหร่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเงื่อนไขในการซื้อกลับมาเช่นกัน ให้ใช้เหตุผลในการตัดสินใจมากกว่าที่จะติดอยู่กับเงื่อนไขเหล่านี้
สนใจสร้างพอร์ต #กองทุนรวม ผ่าน #FINNOMENA เลือกกองทุนได้จาก 22 บลจ.(กองภาษี 5 บลจ.) ไม่มีค่าบริการเพิ่ม โดยมีผม ทศพล สุวรรณสุต ใบอนุญาตจากกลต.เลขที่ 115000 เป็นที่ปรึกษาส่วนตัว เพียงยืนยันตัวตนด้วย NDID และทำแบบประเมิน KYC ออนไลน์ อนุมัติใน 1 สัปดาห์ (กรุณากรอก Referral code: 115000) >>> https://link.finnomena.com/ifa?refcode=115000
ติดตามผ่านโซเชียลมีเดีย: https://linktr.ee/2fi_finance_fitness
"2Fi-รายวัน" ประจำวันที่ 2021.08.25 ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านจนจบ ขอให้ทุกท่านมีการเงินดี มีสุขภาพดี และมีชีวิตที่ดี แล้วพบกันใหม่ครับ 😊
#การเงินส่วนบุคคล #ลงทุน #เศรษฐกิจ #กองทุนรวม #FINNOMENA #ฟินโนมีนา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา