26 ส.ค. 2021 เวลา 08:41 • การศึกษา
# ตบทรัพย์ # รีดทรัพย์ # นักกฎหมาย
3
สวัสดีคุณผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันสองวันนี้คงไม่มีข่าวใดที่จะดังไปกว่า ข่าวนายตำรวจตำแหน่งระดับผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ กระทำการอุกอาจ เป็นเหตุให้ผู้ต้องหาถึงแก่ความตาย
ต้องมีข้อเท็จทางการสอบสวนอีกมากมายทีจะปรากฎขึ้น คงต้องว่ากันไปตามกระบวนการยุติธรรม แต่ถ้าจะว่ากันจริง ๆ แล้วเรื่องดังกล่าวเหมือนจะอยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน เพียงแต่จะเป็นข่าวหรือไม่เท่านั้นเอง
อีกเรื่องที่ดังคู่กันมาแบบหายใจรดต้นคอเลยทีเดียว ก็คือ สงครามระหว่างนักกฎหมายด้วยกันสองคน มีภาษาพูดที่ใช้ตั้งเป็นหัวเรื่อง จนเป็นประเด็นขึ้นมา ผมเลยเอามาเขียนเป็นบทความด้านกฎหมาย ก็คือคำว่าการ "ตบทรัพย์ "
ข้อหานี้มีในกฎหมายหรือไม่ แล้วถ้ามีจะมีฐานความผิดอย่างไร ..มาดูกันครับ
การตบทรัพย์ เป็นภาษาปากลักษณะ เป็นคำกริยา ให้ความหมายถึงการข่มขู่ เรียกเอาทรัพย์สินจากผู้อื่น ถ้าในภาษากฎหมายแล้วไม่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งน่าจะรวมถึงกฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญาด้วย
ซึ่งแท้จริงแล้ว การตบทรัพย์ ก็หมายความถึงความผิดฐาน " กรรโชกทรัพย์ " ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 นั้นเอง องค์ประกอบความผิดก็คือ
" ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก "
ขอบคุณภาพ จากสำนักงานกิจการยุติธรรม
ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ เป็นการกระทำที่มุ่งประโยชน์ในทางทรัพย์สิน ผู้กระทำอาจใช้กำลังประทุษร้าย หรือ โดยใช้วิธีการขู่เข็ญ ว่าจะทำอันตรายชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือแม้แต่ทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ
เช่นการขู่่เข็ญ ข่มขู่ว่าจะเผาบ้าน (ฎีกาที่ 1972/2521)หรือ ขู่ว่าจะใช้ระเบิดพังร้าน(ฎีกาที่3512/2532) ย่อมเป็นการข่มขื่นใจผู้อื่นโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อทรัพย์สิน เป็นความผิดฐานกรรโชก
หรือการที่จำเลยกล่าวอ้างว่าเป็นตำรวจ และขู่เข็ญผู้เสียหายว่า จะยัดยาบ้า ถ้าไม่ให้เงินเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพ เป็นความผิดฐานกรรโชก (ฎีกาที่ 2912/2550)
ดังนั้นแล้วหากเป็นการขู่เข็ญหรือข่มขู่ตัวเอง เช่น ใช้มีดจ่อคอตัวเอง เพื่อขอเงินภริยาถ้าไม่ให้จะฆ่าตัวตาย ไม่ถือว่าเป็นกรรโชกนะครับ 555
มีความผิดอีกฐานหนึ่งที่ใกล้เคียงกับความผิดฐานกรรโชก นั้นก็คือ" รีดทรัพย์" หรือที่ในประมวลกฎหมายอาญา คือความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ ในมาตรา 338 โดยมีพฤติการณ์คือการข่มขืนใจผู้อื่น ให้ยอมให้ หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน..
ขอบคุณถาพจาก สำนักงานกิจการยุติธรรม
จะเห็นว่า องค์ประกอบเบื้องต้นเป็นองค์ประกอบเดียวกันกับความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
เพียงแต่เรื่องนี้ พฤติการณ์ประกอบการกระทำคือ การขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับไม่ได้เป็นการขู่เข็ญในเรื่องทั่ว ๆ ไป
พูดกันง่าย ๆ ก็คือการ แบล็คเมล์ (Blackmail) นั้นเอง ซึ่งความลับที่จะเปิดเผยนี้จะเกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สาม
ที่สำคัญ ความลับนั้นต้องมีอยู่จริงไม่ใช่เรื่องที่แต่งกันขึ้นมาเองและคนทั่วไปไม่สามารถรู้เห็น เช่น การมีภริยาน้อย เป็นต้น
เมื่อคุณผู้อ่านพอทราบความผิดทั้งสองฐานได้บ้างแล้ว ก็ลองนึกภาพว่า เรื่องของนักกฎหมายที่เป็นข่าวดังอยู่นี้จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่อย่างไร .... และหากเป็นเรื่องจริงนักกฎหมายท่านนั้นจะมีความผิดฐานใดในสองฐานนี้
2
ส่วนตัวผมเองขอไม่วินิจฉัยเพราะ ผมเป็นทนายความ ไม่ใช่ผู้พิพากษา ....
😊😊😊บุญรักษาทุกๆท่านครับ 🙏🙏🙏
โฆษณา