26 ส.ค. 2021 เวลา 08:21 • คริปโทเคอร์เรนซี
Ep. 8 : Defi ความโกลาหลที่งดงาม Defi : Back to Nature
จากบทความที่ผ่านมาท่านคงได้ทราบถึงขั้นตอนการลดความเสี่ยงในระดับหนึ่งเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นใน Ep.นี้ ผมจะพาท่านได้ทราบถึงวิธีการฝากเหรียญเพื่อรับปันผลด้วยเหรียญ Gov Token
การฟาร์มเหรียญ หรือเค้าเรียกเหล่ากลุ่มวัยรุ่นอีกชื่อหนึ่งก็คือ "ชาวนาดิจิทัล" หรือก็คือ Yield Farming ที่ท่านอาจจะพอคุ้นหูและเคยได้ยินบ่อยๆ แต่อาจจะยังไม่ทราบว่ามันทำงานอย่างไร และจะเอาเหรียญไปฝากได้ที่ไหนบ้าง
หากท่านอ่านบทความตั้งแต่ Ep.1 ท่านมักจะเห็นผมพูดถึงความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินต้น จนถึงขั้นต้องเผื่อใจในบางโอกาสทีเดียว เพราะหากท่านเห็นความเสี่ยงบนกระดานเทรดว่าคริปโตเคอรันซี่นั้นมันราคาเหวี่ยงสะบัดขนาดไหน ผมบอกเลยว่าในวงการ Defi การรูดสัก 40 เปอร์เซ็นนั้นมัน "จิ๊บๆ " เพราะหลักล้านแล้ว Liquidated เราก็เห็นกับบ่อยๆ ในวงการ Defi
ขอขอบคุณ Wall Paper สวยๆ จาก Microsoft ด้วยครับ
อย่างที่ท่านทราบแล้วว่าเหรียญ CAKE เป็นหนึี่งในเหรียญที่ได้จากการฟาร์มเหรียญ บน pancakeswap.finance/ ซึ่งในการฟาร์มนั้นท่านจำเป็นที่จะต้องทำการเปิดกระเป๋าแบบโอเพนซอร์ส เพื่อที่เราจะสามารถเข้าไปโลดแล่นในโลกของ Defi ได้ (เดี๋ยวผมอธิบายเรื่องกระเป๋าใน Ep.หน้าครับ)
ในการทำไร่ไถนาในชีวิตจริงมันก็ต้องมีปัจจัยหลายอย่างใช่ไหมครับ เช่น เราต้องมีเมล็ดพันธ์ุในการสร้างผลผลิต พอผลผลิตออกก็เริ่มเก็บเกี่ยวดอกผล เอาไปขายได้กำไร ก็เริ่มขยายกิจการเริ่มดูการลงทุนขยายฟาร์มเพิ่มเติมเพื่อให้ให้ได้ผลผลิตมากขึ้น
ใช่ครับ การนอกเรื่องของผมในวันนี้ ผมจะพาท่านไปพบกับเกมส์วิถีสโลว์ไลฟ์ในตำนาน อย่าง Harvest Moon (ขอเป็นภาคในตำนานแบบ Back to nature นะครับ)
เกมส์ปลูกผักในตำนาน (ผู้หญิงไล่จีบผู้ขายก็มีนะ)
ภายในเกมเราจะพบว่าต้องเข้ามาบริหารฟาร์มร้างของเจ้าคุณปู่ หน้าที่ของเราคือพยายามสร้างเนื้อสร้างตัว ปลูกผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว เก็บเงิน ขุดแร่ จีบหญิง แต่งงาน ทำกับข้าว แค่นี้ครับ
มันก็เหมือนในชีวิตจริงนั่นแหล่ะครับ แต่ถ้ามาเทียบกับชีวิตจริงท่านจะรู้ว่าอะไรก็ไม่ได้ราบรื่นเหมือนในเกมส์ เพราะหากเป็นเกมส์เราจะพบว่าพวกผลผลิตพวกนี้ไม่มีทั้งการแกว่งในเรื่องของต้นทุน รวมทั้งในส่วนของกำไร กล่าวคือราคามันคงที่ ทำให้การบริหารในเกมส์มันดูง่ายและน่าสนุก
ผมแนะนำตัวละครก่อนละกันครับ หากผมเป็นตัวละครในฟาร์ม ผมก็ต้องไปหาซื้อเมล็ดพันธุ์ ซึ่งแน่นอนทั้งหมู่บ้านมันมีเจ้าเดียวครับ รวมทั้งร้านขายไก่ ขายวัว มันมีแค่เจ้าเดียว ดังนั้น คนพวกนี้เป็นเจ้ามือครับ ซึ่งแน่นอน ผมรวมถึง "ไอ้แซ็ก" ซึ่งเป็นผู้ที่จะมารับผลผลิตเราไปขายทุกวันด้วย
ไอ้แซ็กที่มารับผลผลิตเราครับ
สมมุติว่าผมตัดสินใจว่า จะทำการ "ปลูกหัวไชเท้า และเลี้ยงไก่" เท่ากับผมยอมลงทุนในธุรกิจสองอย่างนี้ โดยกำไรของผมก็คือการขาย "ผลผลิต" ตามที่ไอ้แซ็คมันจะให้ราคากับผม หรือผลผลิตก็คือ "Gov Token"
ดังนั้นเท่ากับว่า กิจกรรม "ปลูกหัวไชเท้า และเลี้ยงไก่" จะเป็นการฝากคู่เหรียญ เพื่อรับ "ผลผลิต" มา TP
ผมตัดสินใจปลูกหัวไชเท้า และเลี้ยงไก่ โดยได้ผลผลิต (Gov Token) เพื่อนำไปขาย
ที่นี้ระหว่างที่ดูแลฟาร์มของผมอยู่ ผมพบว่าต้องจ่ายทั้งค่าอาหารไก่ ค่าปุ๋ย รวมทั้งค่าจ้างลูกจ้าง และการเดินทางไปหาไอ้แซ็กเพื่อขาย มันไม่ได้เดินไป ต้องจ้างรถเพื่อขนของไปขาย
หรือถ้าใน Defi มันคือ "ค่า Gas" ซึ่งไอ้ค่าแก๊สมันก็ราคาไม่ได้คงที่ เพราะมันดูจำนวนคนที่ใช้แก๊สในช่วงเวลานั้น ๆ โดยใครที่ยอมจ่ายค่าแก๊สแพงกว่า คุณก็ได้ไปก่อนหรือได้ "TP" ก่อน ดังนั้นในส่วนนี้จำเป็นที่จะต้องนำมาคิดรวมในส่วนของต้นทุนด้วย หากลืมนำมาคิดผมจะขาดทุนเอาง่ายๆ
ระหว่างที่ผมคำนวนต้นทุนกำไรแล้วมันอาจจะต้องรอเก็บผลผลิตให้คุ้มทุน อยู่ดีๆ ราคาไก่ก็รูดลงมา 50 เปอร์เซ็น โอเคงั้นไม่เป็นไร ผมใช้เวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตอีกสักหน่อย ค่อยไปขายทีเดียว น่าจะพอไหวอยู่
ไก่ราคาตกจ้า
ปรากฎผมพบว่ามีผู้ผลิตหัวไชเท้าเจ้าใหญ่ ตัดสินใจ "เท" หัวไชเท้าที่อยู่ในมือจนหมดเกลี้ยง ส่งผลให้ราคาหัวไชเท้า "รูด" เกินกว่า 80 เปอร์เซ็น
ตกทั้งคู่ รวมๆ ผมขาดทุนยับ
แน่นอนครับ ผมต้องรออีกครั้ง ไม่เป็นไรผมก็รออีกสักหน่อย อย่างน้อยผลผลิตที่ผมเก็บเกี่ยวมาได้อาจจะ "มูน" และหักลบกลบหนี้ค่าหัวไชเท้าและค่าไก่ คงพอจะถัวๆ ได้อยู่ รออีกสักหน่อย แต่ผมก็ต้องรับความเสี่ยงที่เยอะขึ้นจากการที่ใช้เวลาการฟาร์มที่นานขึ้นไปอีก
ระหว่างที่ผมกำลังรอให้พอจะเท่าทุนได้บ้าง เคราะห์ผมไม่ดีเท่าไหร่ ฟาร์มที่ใหญ่กว่าผมดันสามารถ TP ได้ก่อน เพราะทุน "หนา" กว่า ก็ตัดสินใจเทผลผลิต (Gov Token) จนทำให้ปริมาณมันมากกว่าความต้องการของตลาด ประกอบกับปริษัทไอ้แซ็กที่เพิ่งเปิดไม่นานปริมาณMarketCap มันก็ต่ำ ส่งผลให้ราคามัน "รูด" จนหัวปักพื้น
สรุปฟาร์มผมรูดหมดครับ
ผู้ประกอบการที่ลงกับไอ้แซ็กเริ่มทยอยออกไปทีละเจ้า จนไอ้แซ็กขี้เกียจทำ ตัดสินใจไม่พัฒนาบริษัท และทิ้งให้ผมซึ่งเป็นนักลงทุนกลุ่มที่เหลือรออย่างมีความหวังต่อไป ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อยๆ ในวงการ Defi คือ Dev ทิ้งโปรดักส์เฉยๆ โดยไม่มีการบอกกล่าว
หลังจากที่ผมเริ่มรู้สึกตัวว่าทำฟาร์มคงไม่รอดแล้วแน่แท้ ผมเลยต้องเปลี่ยนแนวไปใช้แรงงานขุดเหมืองเพื่อประทังชีวิต ประกอบกับผมดันเลือกสาวขี้เมาอย่างน้องคาเรนมาเป็นคู่ชีวิต ทำให้เมื่อศรีภรรยาของผมเมื่อทราบว่าผมล้มละลายจากการทำฟาร์ม เธอก็ตัดสินใจดื่มเหล้าจนเป็นแอลกอฮอลล์ลิซซึ่ม และผมก็ต้องขุดเหมืองไปจนวันสุดท้ายของชีวิต
อ่าร์....ชีวิตจริงอันโหดร้าย
ผมกลับบ้านมาพร้อมกับเจอคาเรนโดดลงบ่อปลาเรียบร้อย
การขาดทุนในลักษณะดังกล่าวเราเรียกว่า Impermanent Loss หรือ IL
คือพวกระบบมันไม่มีพนักงานแบ๊ง ไม่มีตู้ แต่มันถูกดูแลด้วย AMM หรือการสร้างสภาพคล่องทางการเงินอัตโนมัติ (AMM : Automated Market Maker) หากเหรียญราคามันขยับ แต่อีกเหรียญนิ่งค่า IL จะเกิดขึ้นทันที และมันส่งผลต่อผลกำไรของเรา
แต่จริงๆ เดี๋ยวนี้มีสารพัดตัวช่วยครับ ทั้งแดชบอร์ดของหลายๆ เจ้า ที่ทำการคำนวนไว้เสร็จสรรพว่าท่านได้หรือขาดทุนไปกี่เปอร์เซ็นแล้ว พวกแดชบอร์ดพวกนี้จะบอกเราได้หมด แต่ทั้งนี้ท่านลองหาวิธีคำนวนหาค่า IL ได้จากเวปไซต์ต่างๆ ได้เลยครับ (เนื่องจากผมอธิบายวิธีการคำนวนไม่ค่อยเก่งครับ ฮ่าๆๆ)
อนึ่ง จริงๆ มันไม่โหดร้ายขนาดนั้นครับ หากท่านเลือกคู่เหรียญที่อยู่บนกระดานเทรดปกติ หรือเลือกเหรียญ Stable Coin ก็จะลดความเสี่ยงลงไปได้มาก เพราะ Stable Coin ราคามันยึดโยงกับ USD (แต่ Usdt ผมไม่ค่อยมั่นใจนะครับ ตามข่าวดูบ่อยๆ ผมว่ามันยังเสี่ยงๆ )
รวมทั้งหากลดความเสี่ยงสูงสุดท่านยังสามารถเปิดสัญญา Short Hedge เพื่อลดความเสี่ยงที่เหรียญในพอตจะรูด เพราะถึงรูดก็ยังมีสัญญา Short Hedge มาค้ำอยู่ดี (เดี๋ยวจะกล่าวเรื่อง Short Hedge พร้อมกับภาพยนตร์เรื่อง The big short ครับ)
สำหรับสายเทรด การที่ท่านดอยอยู่บางเหรียญ ระหว่างที่รอเพื่อลงดอย หากท่านนำเหรียญที่ถือมาฝากเพื่อ TP รอระหว่างที่ท่าน HODL เพื่อรอ "มูน" มันก็คุ้มอยู่นะ และมัันก็ดีกว่าถือเหรียญไว้เปล่าๆ
หากภาพฟาร์มคู่เหรียญบนหน้าเวป หน้าตาก็ประมาณนี้ครับ หากสังเกตุเปอร์เซ็นนั่นคือผลตอบแทนต่อปีครับ
ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ต่อปีครับ
ใช่ครับ ดูไม่ผิดครับ ผลตอบแทนมันขนาดนี้จริงๆ ครับ (ถ้าสายซิ่งบ้างแบบผมถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ "น้อย") ซึ่งมันเป็นอัตรการฝากดอกเบี้ยแบบ "ทบต้นทบดอก" หมายถึงหากท่านไม่ได้ทำการถอนเพื่อ TP แต่นำดอกฝากสะสมไปเรื่อยๆ ท่านจะได้ผลตอบแทนประมาณนี้
ทั้งนี้ผลตอบแทนในแต่ละคู่เหรียญ จะให้เปอร์เซ็นที่ไม่แน่นอน โดยเปอร์เซ็นตรงนี้จะอยู่ที่จำนวนเงินฝากทั้งหมดที่มากองรวมอยู่ ยิ่งเหรียญ "มูน" เปอร์เซ็นก็ยิ่งสูง แต่ยิ่งรูด มันก็ยิ่งต่ำ
อนึ่งเหรียญที่ผมมักยกตัวอย่างบ่อยๆ อย่างเหรียญ CAKE ซึ่งเป็น DEX ที่น่าเชื่อถืออย่างมาก ด้วยน่าจะเกี่ยวข้องกับบริษัทเทรดอันดับหนึ่งอย่าง Binance รวมทั้งมีการ Audit จากบริษัทระดับโลกอย่าง Certik โดยมีการใช้บริการทั้ง Certik Skynet และ Certik Shield ซึ่งบริษัทจะตรวจโค้ดของ Pancakeswap ตลอด 24 ชม. ทำให้มีความโปร่งใสและการรันตีเรื่องการ Rug Pool ได้เป็นอย่างดี (คล้ายๆ ทำประกันชั้น 1 นั่นแหล่ะ)
แต่ทั้งนี้ ในตลาดคริปโตค่อนข้างเป็นที่รู้กันว่าฝั่งตะวันตกจะเริ่มการซื้อขายหนักๆ กันประมาณ ตีสาม ดังนั้นคุณอาจโดน "ขยี้จนแหลกคึ" ระหว่างที่กำลังนอนอยู่ก็ได้
แต่ทั้งนี้มันก็บอกอะไรไม่ได้อยู่ดีครับ เพราะก็ต้องย้อนกลับไปดูอีกครั้งว่าเหรียญที่คุณเข้านั้นทำการตลาดภายในประเทศหรือโกลเบิล แต่ก็ไม่แน่ว่าคนประเทศเดียวกันเองอาจจะแอบ "ลักหลับ" ท่านเอง
ดังนั้นไม่แปลกครับที่เวลาในวงการ Defi หนึ่งเดือนมันยาวเหมือนสามเดือน เราพบว่ายิ่งลงเหรียญ "Gov คู่ Gov" เวลาเหมือนยาวยิ่งกว่านั้น (เพราะมันเครียดจัด)
แต่ทั้งนี้คุณเชื่อเถอะ ด้วยระบบ Defi เอาจริงๆ มันคล้ายคลึงกับระบบวงแชร์บ้านเรานิด ๆ ผมจึงกล้าพูดว่า คนประเทศเราเล่น Defi เก่งจนฝรั่งอาย เป็นเรื่องที่ไม่ได้กล่าวเกินจริงเลย
ที่สำคัญ รู้หรือไม่เหรียญ CAKE ในช่วงแรก ราคาอยู่ที่แถวๆ 1 USD แต่ปัจจุบันวิ่งอยู่แถวๆ 25 Usd เรียบร้อย (ข้อมูล ณ วันที่ 26 ส.ค.64)
หากศึกษาดีๆ ท่านจะรู้ว่าการลงทุนแบบชาวนาดิจิทัลนั้น สนุกมากทีเดียว
สองเดือนที่แล้วยังวิ่งแถว ๆ 10 Usd ครับ
Ep. หน้าจะเป็นการกล่าวถึงขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก่อนที่จะเข้าวงการ Defi ครับ
ปล.ผมชอบการตั้งสถานะใน Facebook จัง 😆
กลายเป็นว่าจริงๆ เราอาจจะอยากให้ใครรู้ก็ได้นะว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ 😆
ขอบคุณที่ติดตามครับ
ฝากซีรี่ Critical Thinking : Defi ความโกลาหลที่งดงาม ด้วยครับ
ฝากกดติดตามด้วยครับ (เดี๋ยวผมมีไรจะเล่าให้ฟัง🤔🤫)🙏🙏🙏
ช่วงนี้ทำงานพวกกราฟฟิกก็สนุกดีครับ
ขอบคุณคุณน้องที่ให้งานฟรีมาหนึ่งงานจ้า

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา