27 ส.ค. 2021 เวลา 03:57 • การตลาด
ตอนที่ 7: รู้จัก 9 กลุ่มเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญในตลาดจีน
3
“คนจีนชอบอะไร?” “คนจีนมีพฤติกรรมเป็นอย่างไร?” คำถามนี้คงจะตอบแบบเหมารวมไม่ได้
อย่างที่ได้เกริ่นในบทความตอนที่ 6 ของคัมภีร์พิชิตตลาดจีนออนไลน์ไปแล้วว่า เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการขยายธุรกิจ การวางแผนแคมเปญทางการตลาด จำเป็นต้องระบุให้ชัดเจนและจำเพาะเจาะจงว่า ต้องการขายกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มไหน เพื่อสอดคล้องกับความต้องการและคุณค่าที่กลุ่มผู้บริโภคให้ความสำคัญ ดังนั้นควรจะเปลี่ยนจากการทำตลาดเป็นเหมารวม มาเป็นการตลาดแบบเฉพาะส่วน หรือเจาะกลุ่มเป้าหมาย
บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับ 9 กลุ่มเป้าหมายเชิงกลยุทธ์หลักๆ ที่สำคัญในตลาดจีนกันบ้างว่ามีกลุ่มไหน แตกต่างกันอย่างไร
1. Gen Y หรือ Millennials
• เป็นกลุ่มที่เกิดหลังจากปี 1980 คือเกิดในช่วงปี 1981-1994 (หากนับอายุในปี 2021 ก็จะมีอายุช่วง 27-40 ปี) กลุ่มนี้มีประชากรเกินกว่า 350 ล้านคน แน่นอนว่า แค่กลุ่ม Gen นี้ กลุ่มเดียวในประเทศจีน ก็มากกว่าประชากรในสหรัฐอเมริกาทั้งประเทศแล้ว
• 54% ของชาวจีนกลุ่ม Gen Y ชอบชอปปิ้งออนไลน์ ชอบ social media และมีความ Digital savvy สูง และเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อที่สูงที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศจีนในปัจจุบันอย่างมาก เพราะ Gen Y เป็นกำลังซื้อหลักซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 70% ของ การบริโภคภายในเมือง (urban consumption) ภายในปี 2021
• นอกจากนี้ ยังเป็นกลุ่มขับเคลื่อนการบริโภคสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย หรือ luxury product มากเป็นพิเศษอีกด้วย โดยกลุ่ม Gen Y คิดเป็นสัดส่วนในการบริโภคมากถึง 30% ในตลาด Luxury ในประเทศจีน
 
• ลักษณะที่น่าสนใจคือ กลุ่มนี้จะเรียกร้องต่อความพิเศษแปลกและไม่เหมือนใคร (personalised products) และก็ยังเชื่อใน KOLs (Key Opinion Leaders) การแนะนำจากเพื่อนฝูง (Peers recommendation/ KOCs) เวลาจะตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ใดๆ
• ปัจจุบันสินค้าที่ได้รับความนิยมของกลุ่มนี้คือ ผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลตัวเอง สัตว์เลี้ยง และของใช้ในบ้าน และชอบการท่องเที่ยว
2. Gen Z หรือ Dot com kids
• เป็นกลุ่มที่เกิดในช่วงระหว่างปี 1995-2009 (หากนับอายุในปี 2021 ก็จะมีอายุช่วง 12-26 ปี) กลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วน 19% ของประชากรจีนทั้งหมดและคาดการณ์ว่ากลุ่มนี้จะมีสัดส่วน 27% ของประชากรในปี 2025
• ข้อสังเกตุที่น่าสนใจคือ กลุ่มนี้เกิดหลังจากที่ประเทศจีนมีอินเตอร์เน็ตใช้อย่างเป็นทางการ (จีนมีอินเตอร์เน็ตใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี 1994) หรือจะเรียกว่าเติบโตมาในช่วง Dotcom (Dotcom kids) สัดส่วนของ Dotcom kids คิดเป็น 28% ของ Netizens ในจีน และเป็นผลผลิตของนโยบายลูกคนเดียว (One Child Policy) ทำให้มีลักษณะที่แตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ อาทิ กลุ่ม Gen X Gen Y อย่างมีนัยยะสำคัญ
• เป็นกลุ่มที่เรียกว่าเป็นพลังขับเคลื่อนใหม่ในอนาคต (New Growth Engine) ของการบริโภคภายในประเทศจีนเลยก็ว่าได้ เพราะกลุ่ม Gen Z เป็นกลุ่มที่เติบโตสูงที่สุดและในปัจจุบันยังขับเคลื่อนทิศทางและกระแสของการบริโภคที่สำคัญมากมายอาทิ Guochao trends หรือ กระแสความภูมิใจในสไตล์จีนๆ ที่ชาว Gen Z จะภูมิใจในการบริโภคของ Made in China ในทิศทางที่สวนทางกลับ Gen อื่น ๆ เช่น Gen X หรือ Gen Y อย่างน่าสนใจ
ที่กล่าวเช่นนี้เพราะคนรุ่นเก่าเติบโตภายใต้แวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างจากคนรุ่นใหม่อย่างสิ้นเชิง
คนรุ่นใหม่เกิดและเติบโตในภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกำลังพัฒนาเติบโตจนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี คนรุ่นใหม่ที่มีกินมีใช้ดีกว่าคนรุ่นเก่าที่ต้องต่อสู้เพื่อความก้าวหน้าและผ่านความยากลำบาก และแวดล้อมด้วยหลายๆอย่างในประเทศที่ยังไม่พัฒนาอย่างเต็มที่นัก ดังนั้นคนรุ่นเก่าจึงยังยึดติดกับ “ภาพจำเดิม ๆ ของ Made in China” อยู่ ผิดกับคนรุ่นใหม่มีความเชื่อมั่น มั่นใจอย่างแรงกล้าต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์สินค้าจีน
• เนื่องจากเป็นผลผลิตของนโยบายลูกคนเดียว กลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มที่เรียกร้องและเน้นเรื่องประสบการณ์แปลกใหม่ (Uniqueness) และคุณภาพสูง เทคโนโลยีที่แปลกใหม่ ตลอดจนสินค้าที่เกี่ยวข้องกับดูแลสุขภาพอย่างมีนัยยะสำคัญ ไม่แพ้ Gen รุ่นเก่าเลย
สิ่งที่น่าสนใจคือ กลุ่มนี้มีการเรียกร้องในสินค้าน้ำตาลน้อย ไขมันน้อย แคลอรี่ต่ำ (Lower sugar, fat and calories) อย่างมาก จนถึงกับมี hashtag ในแพลตฟอร์ม Xiaohongshu (小红书) ว่า #无糖主义 หรือ Sugarfreeism นักนิยมการบริโภคไร้น้ำตาล ที่สูงถึง 145% ในปี 2020 โดยแพลตฟอร์ม xiaohongshu เองก็มีผู้ใช้งานเกิน 70% เป็นกลุ่มที่เกิดหลังปี 1990
• นอกเหนือจาก Gen Y ที่นิยมบริโภคสินค้า Luxury ที่ได้กล่าวไปแล้ว กลุ่ม Gen Z ยังเป็นกลุ่มที่นิยมบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยรองลงมาอีกด้วย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการบริโภค 15% ของการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยทั้งหมด
กำลังซื้อของกลุ่มนี้อาจจะไม่เท่ากับกลุ่ม Gen Y แต่กลุ่มนี้มีพฤติกรรมที่ Outspend หรือใช้จ่ายเกินกำลัง หรือ มีความหุนหันพลันแล่นหรือกระตุ้นด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล (Impulsive) ซึ่งเป็นผลจากความมั่นใจในตัวเองที่สูงกว่า จากผลสำรวจของ McKinsey & Company 78% ของกลุ่มนี้เชื่อว่า ตัวเองจะหาเงินมาได้มากกว่าในอนาคตนั่นเอง
• กลุ่ม Gen Z ยังขับเคลื่อน Idol economy เช่นกลุ่มแฟนคลับ net idol และกิจกรรมที่แปลกใหม่เจาะกลุ่ม niche market อย่าง กลุ่มที่นิยมเสพบริโภคคอนเทน์ ACG (Anime, Comics and Gaming) ยกตัวอย่างแพลตฟอร์มวิดีโอที่มีเจาะกลุ่ม Z โดยเฉพาะอย่างเช่น Bilibili และ กลุ่ม Gen Z บางกลุ่ม ยังหันไปนิยม Virtual KOLs หรือ KOL ที่สร้างมาจาก AI หรือ เป็นรูปแบบเสมือนคน มากกว่า Gen รุ่นอื่น ๆ อีกด้วย
• สินค้าที่เหมาะกับคนกลุ่มนี้ก็จะค่อนข้างกว้างตั้งแต่ skincare, cosmetic, fashion, F&B แต่กลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของแบรนด์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (packaging design) เป็นพิเศษ เพราะพวกเขาก็จะแชร์ความสวยงามแบ่งปันไปในโลก social media นั่นเอง
3. กลุ่มวัยผมสีเงิน หรือ Silvered-hair Generation
• กลุ่มวัยเกษียณที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปในจีน กลุ่มนี้คิดเป็น 18% ของประชากรจีน หรือประมาณ 254 ล้านคน (ตัวเลขในปี 2019) โดยสัดส่วนกลุ่มวัยสูงอายุนี้มีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายคิดเป็น 57.1% ต่อ 42.9% คาดการณ์ว่าในปี 2050 สัดส่วนของผู้สูงวัยในจีนจะคิดเป็น 25% ของประชากรทั้งหมดในจีน
• ด้วยแวดล้อมของการพัฒนาและปรับใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน กลุ่ม Silver-hair คิดเป็น 10.3% ของกลุ่มประชากรอินเตอร์เน็ตจีน และ อาศัยอยู่ในเมือง Top tier คิดเป็น 43% เมือง Tier-3 คิดเป็นสัดส่วนถึง 25%
• คนกลุ่มนี้ก็จะใช้ WeChat ในชีวิตประจำวัน เสพย์คอนเทน์ข่าวสารผ่าน Toutiao ดูวิดีโอสั้นผ่าน Kuaishou หรือ Douyin สิ่งที่น่าสนใจคือ 40% ของกลุ่มนี้ รู้จักการชอปปิ้งผ่าน Taobao และใช้ AliPay ได้อย่างดี ดังนั้นเราจะยังได้เห็นทิศทางการเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้นของกลุ่มนี้ หลังจากช่วง COVID-19 เป็นต้นไป และกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มประชากรอินเตอร์เน็ต (netizens) ที่เติบโตสูงมาก
• กลุ่มวัยผมสีเงินใช้ Taobao, JD, และ Pinduoduo ในการชอปปิ้งมากที่สุด โดยสินค้าที่พวกเขาสนใจ อันดับต้นได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างภายในบ้าน อาหารเครื่องดื่ม สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงดูแลสุขภาพ (health supplements) อุปกรณ์หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เสื้อผ้า เป็นต้น
 
• 30% ของงบประมาณจับจ่ายใช้สอยหมดไปกับพื้นฐานในการดำรงชีวิต นั่นคืออาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ โดยจะใช้จ่ายต่อเดือนเฉลี่ย 500-1,000 หยวน
4. กลุ่มชายจีน Chinese Male
• อย่างที่ทราบว่าสัดส่วนประชากรจีนชายมากกว่าผู้หญิง (สัดส่วน 723: 688 ล้านคน ตัวเลขในปี 2020) และกลุ่มผู้ชายก็สนใจในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ บุหรี่ แอลกอฮอล์ รวมไปถึงสินค้าในกลุ่ม high-end fashion เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
• แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ แนวโน้มในสังคมจีนปัจจุบัน ผู้หันมาใส่ใจดูแลตัวเอง และรูปลักษณ์หน้าตาของตัวเองมากขึ้น เพื่อทำให้ตัวเองดูดีมากยิ่งขึ้น จากข้อมูล China Internet Watch พบว่า 30% ของกลุ่มลูกค้าตลาดเวชสำอาง (Cosmetic medicine consumers) ในปี 2020 เป็นผู้ชาย นอกจากนี้ที่ผ่านมาในการตลาดจีนยังเห็นการนำเอาผู้ชายมาใช้ในงานโฆษณาสินค้ามากยิ่งขึ้นในจีน
• ปี 2020 ไตรมาสที่ 3 กลุ่มสินค้าประเภท skincare (อาทิ ผลิตภัณฑ์ล้างหน้า cleansing ดูแลรักษาสิว brightening, กันแดด และกลุ่มบำรุงเน้นความชุ่มชื้นให้กับผิว) ในกลุ่มผู้ชายเติบโตสูงถึง 58% ในขณะที่ผู้หญิงเติบโตเพียง 28% เท่านั้น หรือแม้แต่ตลาดเครื่องสำอางที่ถึงแม้ผู้หญิงยังครองส่วนแบ่งตลาดอยู่สูงและเติบโตถึง 37% แต่ในกลุ่มผู้ชายก็เติบโตสูงถึง 12% เลยทีเดียว นับว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพและยังโตได้อีกเยอะมาก
• เมื่อดูจากประชากรจีนเพศชายที่สูงถึง 700 กว่าล้านคน คงจะกว้างเกินไปสำหรับการเจาะกลุ่มเครื่องสำอาง ผลสำรวจคือ 74.4% ของประชากรเพศชายที่อายุ25 ปี มีทัศนคติเชิงบวกต่อการปรับเปลี่ยนและพัฒนารูปลักษณ์หน้าตาของตัวเอง และเต็มใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเองสำหรับเพศชาย ในขณะที่ผู้ชายอายุเกิน 45 ปีถึงแม้อยากจะมีภาพลักษณ์รูปร่างหน้าตาที่ดี แต่ น้อยกว่า 40% เต็มใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
5. พลังเศรษฐกิจของผู้หญิง Power of Her หรือ Sheconomy
• ถึงแม้ประชากรชายในจีนจะมีสัดส่วนเยอะกว่าผู้หญิงมาก จากตัวเลขประชากรในโลกอินเตอร์เน็ต (Chinese netizens) ปี 2021 สัดส่วนผู้ชายก็ยังสูงอยู่ โดยคิดเป็นจำนวนผู้ชาย 614 ต่อ ผู้หญิง 547 ล้านคน แต่อำนาจของเศรษฐกิจดิจิตอลยุคใหม่ ตกเป็นของผู้หญิงอย่างที่ไม่น่าแปลกใจ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีการศึกษาสูงขึ้น มีหน้าที่การงานที่ดีของตัวเอง และมีอิสรภาพทางการเงินพร้อมที่จะเลือกเดินชีวิตของตัวเอง
ดังนั้นผู้หญิงจึงใช้จ่ายเพื่อตัวของเธอเอง และไม่เพียงแต่เธอเหล่านั้นตัดสินใจซื้อของเพื่อตัวเธอเอง กว่า 75% ผู้หญิงจีนยังรับผิดชอบต่อข้าวของเครื่องใช้ในบ้านอีกด้วย Decision maker ในบ้านที่แท้จริง ก็คือผู้หญิงจีนนี่เอง
• สิ่งที่น่าสนใจคือ จำนวนหญิงจีนที่เข้ามาในโลกดิจิตอลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้หญิงที่มาจากเมือง Tier 3 ลงมา ส่วนโครงสร้างของอายุ 25-35 คิดเป็น 42.9% รองลงมาคือ 36 ปีขึ้นไปคิดเป็น 34.7% และต่ำกว่า 24 ปีคิดเป็น 22.5% เวลาที่เข้ามาในโลกอินเตอร์เน็ตเฉลี่ยอยู่ที่ 171 ชั่วโมงต่อเดือน หรือ 5.7 ชั่วโมงต่อวัน
• ผู้หญิงเหล่านี้ส่วนใหญ่จะใช้เวลาหมดไปกับ social media (โดยเฉพาะ WeChat), video (โดยเฉพาะ Douyin วิดิโอสั้น) และ eCommerce ซึ่งในส่วนของพฤติกรรมการชอปปิ้ง จะนิยมค้นหา Promotion, deal ที่น่าสนใจ, Group buying (团购) หรือการ Livestreaming เหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อการซื้อของของเธอเหล่านี้ เมื่อซื้อของแล้ว ก็จะชอบ social-sharing ไปใน โลก Social ในจีน WeChat, Xiaohongshu, Weibo และในปัจจุบันก็ยังนิยมชอปปิ้งผ่าน social commerce platform ไม่ว่าจะเป็น Jingxi (จาก JD.com) และ Pinduoduo อีกด้วย
• ผู้หญิงกลุ่มนี้ถือเป็นพลังขับเคลื่อนตลาด luxury แฟชั่น สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตัวเอง (self-improvement) การดูแลสุขภาพร่างกาย ( health & Fitness) ความสวยความงาม (beauty, personal care, cosmetics) รวมไปถึงเครื่องใช้ภายในบ้าน การท่องเที่ยวบันเทิงและการศึกษา ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 30 ปีมีข้อมูลการใช้เงินกับสิ่งของเหล่านี้เฉลี่ยไปอยู่ที่ 247-692 หยวนต่อเดือนในแต่ละหมวดหมู่
6. กลุ่มเมืองรอง Xiachen Market หรือ Lower Tier Cities
• มีประชากรจีนกว่า 930 ล้านคนอาศัยในเมือง Tier-3 ลงมา และในพื้นที่ชนบท และ 62% ของ กลุ่ม Xiachen มีอายุอยู่ที่ประมาณ 18-34 ปี
• 下沉 Xiachen อ่านว่า เซี่ยเฉิน แปลว่า Sinking หรือจม ความหมายเหมือนไม่ค่อยสู้ดีนัก ให้ความหมายว่าเป็นเมืองที่กำลังจมลง เพราะที่ผ่านมาเป็นกลุ่มที่ไม่มีใครสนใจเท่าไร แท้จริงแล้ว นี่คือกลุ่มที่มีศักยภาพซ่อนอยู่อีกมากในตลาดจีน ศักยภาพการบริโภคคาดว่าจะเติบโตสูงถึง 8.4 ล้านล้าน USD ภายในปี 2030 และนี่คือแหล่งรายได้ใหม่ในตลาดจีนที่ใหญ่ที่สุดที่จะเติบโตอย่างมากในอนาคต
• ปัจจุบันจำนวน users รายใหม่ ประมาณ 70% ของแพลตฟอร์มในจีนดังๆ อาทิ Tmall, JD, PDD เป็นต้น ก็ได้อานิสงค์มาจากกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้เป็นสำคัญ ดังนั้นกลุ่มนี้กำลังเป็นกลุ่มรายได้รายใหม่ของแพลตฟอร์มและแบรนด์ใหญ่ในจีน
• เป็นกลุ่ม ที่เน้นความปลอดภัยของสินค้า (product safety) มาก แต่ก็เป็นกลุ่มที่ Price and promotion sensitive กว่ากลุ่มอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นจะนิยมชอปปิ้งในแพลตฟอร์ม Taobao, Taobao deals, Pinduoduo ที่เน้นโปรโมชั่น ส่วนลด และการซื้อของรวมกันเป็นกลุ่มเพื่อให้ได้ราคาที่ถูกกว่า (group buying) มากเป็นพิเศษ
การนิยามกลุ่มผู้บริโภคในโลกดิจิตอลโดยพื้นฐานจะสามารถแบ่งตามลักษณะประชากรศาสตร์ (Demographic) ตามลักษณะของมนุษย์ในแต่ละช่วงเวลาและสภาพแวดล้อม และสังคมที่เติบโตมาในขณะนั้น แต่ด้วยสภาวะสังคมในปัจจุบันโดยอาจจะดูจากเพียงสิ่งนั้นอย่างเดียวไม่ได้ อาจจะต้องดูถึง ไลฟ์สไตล์ หน้าที่ความรับผิดชอบ และสถานภาพที่แตกต่างกันไปแต่ละกลุ่ม ยกตัวอย่าง
7. กลุ่มสุดยอดคุณพ่อคุณแม่ หรือ กลุ่ม Super Moms & Dads
• จากข้อมูลของ QuestMobile เดือนเมษายน 2020 พบว่าคุณพ่อคุณแม่อายุ 25-40 ปี ที่มีลูกอายุประมาณ 0-12 ปี เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มโลกดิจิตอลจีนคิดเป็นจำนวน 300 ล้าน active users
• เกิน 50% ของพ่อแม่ป้ายแดงที่เกิดในช่วงอายุ 1980 และ 1990 ก็อาศัยในเมือง Xiachen หรือเมือง Tier-3 ลงมา โดย 95% ของกลุ่มนี้เป็นคุณพ่อคุณแม่วัยทำงาน โดย 98.6% มีรายได้ต่อครัวเรือนอยู่ที่น้อยกว่า 10,000 หยวน
• ถึงแม้จะเป็นกลุ่ม Middle class แต่คุณพ่อคุณแม่เหล่านี้จะนิยมแบรนด์สินค้าที่ได้รับความนิยมในสังคม และ less price sensitive หรือ ไม่อ่อนไหวต่อราคาเท่าไร
• แต่ละครอบครัวใช้จ่าย 26% ของรายได้หรือเฉลี่ยคิดเป็น 3,456 หยวนต่อเดือนกับลูกๆของพวกเขา เอาเป็นว่าเพื่อลูกก็ต้องยอมทุ่มเท และทุ่มเทไปกับสินค้าและบริการต่างๆอาทิ เสื้อผ้า อาหาร สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เทคโนโลยี wearable สำหรับเด็ก และการออกกกำลังกายหรือสุขภาพ
8. กลุ่มคนรักสัตว์ หรือ Pet lovers
• กลุ่มคนรักสัตว์นี้เป็นกลุ่มที่ยังไม่มีใครเข้าไปแย่งกันทำการตลาดมากนักและมีศักยภาพการเติบโตสูงมากอีกกลุ่มหนึ่ง กลุ่ม ”คนรักน้อน”เหล่านี้ยังคงมองหาผลิตภัณฑ์อาหาร ขนมทานเล่น อุปกรณ์ต่าง ๆสำหรับสัตว์เลี้ยงอยู่อีกเยอะมาก และยอดขายของผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงทั้งหลายเติบโต 16.1% ต่อปี ในปี 2019 มูลค่าตลาดสูงถึง 202,400 ล้านหยวนในปี 2019 และเติบโตกว่าปีก่อนหน้าถึง 19%
• ข้อมูลที่น่าสนใจคือ 41% ของเจ้าของสัตว์เลี้ยงนี้เป็นกลุ่มคนโสด และเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ รายได้ และการศึกษาสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ
• โดย 12% ของกลุ่มนี้มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 10,000 หยวน 88.4% ของกลุ่มนี้เป็นผู้หญิง และ 70% อาศัยอยู่ในเมือง top-tiers
• เพียงแต่สิ่งที่ต้องแวดระวังคือ มีจำนวน 43% ชอบแบรนด์สัตว์เลี้ยงที่ผลิตภายในประเทศจีนมากกว่า แต่อย่างไรก็ดี กลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่ม Niche ที่ พร้อมจ่าย และมีช่องว่างที่สามารถเข้าไปทำการตลาดได้ในฐานะของแบรนด์สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงจากต่างประเทศ
9. กลุ่มโสดอย่างสุข หรือ Happy Singles
• โสดแล้วจะทำไม? ประชากรจีนกว่า 260 ล้านคนก็ยังโสด นี่ก็มากกว่าประชากรประเทศไทยถึงเกือบสี่เท่าตัว คนโสดกระจุกตัวอยู่ในเมือง top tiers ถึง 88% ในขณะที่อาศัยในเมือง Tier 3 ลงมา เพียง 12% เท่านั้น
• กลุ่มคนโสดชอบชอปปิ้ง เที่ยว สังสรรค์ ทานอาหารนอกบ้าน ทำกิจกรรมและเต็มใจที่จะใช้เงินเพื่อปรนเปรอชีวิตโสดของตัวเองมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่โสดอย่างมีนัยยะสำคัญ
• ผู้หญิงโสดจะหมดเงินไปกับ skincare ในขณะที่ผู้ชายโสดจะหมดเงินไปกับ health และ fitness แต่ถึงกระนั้นเมื่อขึ้นชื่อว่าโสด พฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้ ถึง 60.8% นิยมอยู่ที่บ้าน (จึงก่อให้เกิดศัพท์ที่เรียกว่า Stay-home economy)
และเมื่อโสด ชอบอยู่บ้าน การทานอาหารคนเดียวจึงไม่ใช่เรื่องแปลก และเป็นเรื่องปกติมากในจีนที่จะนิยมอาหารสะดวกซื้อ ไม่ว่าจะเป็น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, hotpot สำเร็จรูป โดยรสชาติที่ได้รับความนิยมที่สุดได้แก่ รสชาติเปรี้ยวและเผ็ดร้อน (hot & sour)
แน่นอนว่า กลุ่ม 9 กลุ่ม ก็อาจจะใหญ่ไปสำหรับบางธุรกิจ บางสินค้า และสามารถจะแตกย่อยได้อีกมากมาย ตามนิสัย พฤติกรรม ไลฟ์สไตล์และความชอบส่วนบุคคลได้ อาทิ
กลุ่มชอบนอนดึก หรือนอนน้อย Night Owls
• จากข้อมูล CBNData, Night Owls Report ปี 2021 พบว่า คนจีนนอนเฉลี่ยต่อวันน้อยลงในแต่ละปีอย่างเห็นได้ชัด จาก เฉลี่ย 8.1 ชั่วโมงต่อวันในปี 2018 มาเป็น 7.6 ชั่วโมงต่อวันในปี 2019 และลดลงอยู่ที่ 6.9 ชั่วโมงต่อวันในปี 2020 กลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มเทรนด์ใหม่ที่สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมในสังคมจีน
• กลุ่มนี้มีอยุ่ที่ประมาณ 502 ล้านคน (มีนา 2021) 67% เป็นผู้ชาย 71.8% อายุระหว่าง 18-34 ปี และ 73.5% อาศัยในเมือง top-tiers
กลุ่มรักสุขภาพ Health-fitness Fan
• จากข้อมูล CBNData, Fitness Consumers in China Report ปี 2021 พบว่า ชาวจีนเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากยิ่งขึ้นหลังจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้คาดการณ์ว่าภายในปี 2021 นี้จะมีชาวเน็ตหันมาออกกำลังกายออนไลน์มากกว่า 780 ล้านคนเลยทีเดียว หรือคิดประมาณ 80% ของ Internet population
1
• นอกจากนี้ตลาด Gym ก็ยังได้รับความสนใจในผู้ชายอย่างมาก สัดส่วนระหว่างชายหญิงอยู่ที่ 52% ต่อ 48% โดยกลุ่มช่วงอายุน้อยกว่าจะใส่ใจในการลดไขมันและใช้เวลาไปกับเครื่องออกกำลังกาย หรืออยู่ใน gym
นี่เป็นเพียงตัวอย่างหลักๆ ของการเจาะกลุ่มในตลาดจีน ดังนั้นการไปเจาะตลาดจีนต้องศึกษากลุ่มลูกค้า พฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าให้ดี ในการวางแผนยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับสินค้า ให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิต เช่น สินค้าประเภทนี้ตอบโจทย์ไหม ราคาเหมาะสมไหม หากตั้งราคาที่แข่งขันได้ดีกว่าคู่แข่ง สร้างยอดขายได้ดีมาก แต่ก็ไม่อาจสร้างกำไรและทำให้ธุรกิจคุณยืนมั่นคงในระยะยาวได้
หรือหากคุณตั้งใจผลิตสินค้ากลุ่ม premium มีโครงการต้นทุนที่ดี มีรูปแบบการทำกำไรที่ชัดเจน ทำให้ธุรกิจมั่นคงได้ แต่การเจาะตลาดก็ต้องดูให้ดีว่ากลุ่มลูกค้าที่คุณเจาะ พร้อมและมีกำลังที่จะจ่ายได้ไหม พร้อมทำแบรนด์ในเข้าไปอยู่ในใจของลูกค้าจีนได้ไหมหรือไม่ หากคิดวางแผนอย่างถี่ถ้วน การลุยตลาดจีนก็อาจจะไม่ยากอย่างที่คิด
Source:
- Chozan China eCommerce and Digital Marketing, 2021Q2
- Statista
#คัมภีร์ชุดนี้เป็นการเขียนบทความต่อเนื่องจากความรู้ที่สะสมมาและประสบการณ์จริงโดยจะทยอยอัพเดทต่อเนื่อง โดยจะแบ่งเป็นหลายหมวดหมู่เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจในการทำธุรกิจกับประเทศจีนอย่างง่ายดายตั้งแต่ต้นจนจบเพราะรู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งจึงชนะร้อยครั้ง#
==============================================
บทความนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง Click China by LERT x China Talk with Pimkwan
==============================================
Lert Global Group ที่ปรึกษาด้านการวางยุทธศาสตร์การทำการตลาดจีน (China Marketing Strategy) มีบริการเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการจดทะเบียนการค้า (Trademark registration) ที่จีนแก่ผู้ประกอบการไทย บริการด้านเอกสารส่งออกไปยังตลาดจีน บริการทำ Market Research และ Focus groupบริการการทำการตลาด Digital marketing แบบครบวงจร (Branding, Social media, KOL influencers, Digital Footprint) อีกทั้งยังเป็นพาร์ทเนอร์กับแพลตฟอร์ม eCommerce ยักษ์ใหญ่ในจีนมากมาย ที่ให้ผู้ประกอบการไทยขายสินค้าไทยในจีนได้อย่างสะดวกและง่ายดาย อาทิ การเปิดร้านใน Tmall การนำสินค้าไปขายยัง Taobao และบริการ Celebrity & KOLs Livestreaming พร้อมมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่จะพาแบรนด์คุณไปประสบความสำเร็จในตลาดออนไลน์จีนไปด้วยกัน
หากไม่อยากพลาดโอกาสดี ๆในตลาดจีน โทรติดต่อ 02-276-3599 หรือ 065-251-9922 เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลย!

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา