2 ก.ย. 2021 เวลา 05:53 • สุขภาพ
โรคแพนิค ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
โรคแพนิก (โรคตื่นตระหนก) เป็นภาวะวิตกกังวล หรือมีความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นฉับพลันทันที โดยไม่คาดคิดมาก่อนอาการแต่ละครั้งจะเป็นอยู่ช่วงไม่นาน และมีลักษณะกำเริบซ้ำ ๆ มักมีอาการเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงอายุ 17-30 ปี (เฉลี่ย 25 ปี) พบได้ประมาณร้อยละ 3-5 ของประชาการทั่วไป และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2-3 เท่า
สาเหตุ โรคแพนิก
ยังไม่ทราบแน่ชัด สันนิฐานว่าอาจเกี่ยวกับความ ผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งพบว่าผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไปด้านชีวภาพ
ปัจจัยด้านจิตใจ เชื่อว่าความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น นั้นเป็นการเลียนแบบจากพ่อแม่ที่มีอาการในลักษณะ เดียวกับผู้ป่วย หรือเกิดจากที่ผู้ป่วยเคยมีอาการแพนิก ในขณะที่มีสิ่งกระตุ้นหรืออยู่ในสถานที่บางลักษณ เมื่อเจอสิ่งกระตุ้นหรือสถานที่ลักษณะนั้น ก็เกิดอาการกำเริบซ้ำอีก
ส่วนปัจจัยชีวภาพ พบว่า ระบบประสาทอัตโนมัติส่วนซิมพาเทติกของผู้ป่วยมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ หรือมีการตอบสนองอย่างผิดปกติต่อสารส่งผ่าน ประสาท (neurotransmitters) ได้แก่ นอร์เอพิเนฟรีน ซีโรโทนิน กรดแกมมาอะมิโนบูไทริก (gamma-aminobutyric acid/PABA) หรือเกิดจากสารเหนี่ยวนำ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์เข้มข้น 5-35% โซเดียมแล็กเทต
นอกจากนี้ยังอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านจิตใจและไบคาร์บอเนต โยฮิมบิน (yohimbin) เฟนฟลูรามีน (fenfluramine) กาเฟอีน เป็นต้น
อาการ โรคแพนิก
ผู้ป่วยจะมีอาการวิตกกังวลหรือรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงเกิดขึ้นฉับพลันทันทีโดยไม่คาดคิดมาก่อน เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งใดมากระตุ้น และกำเริบซ้ำบ่อย ๆโดย แต่ละครั้งที่เป็น จะมีอาการดังต่อไปนี้ตั้งแต่ 4 อย่างขึ้นไป
ใจสั่น หัวใจเต้นแรงหรือเร็ว
เหงื่อแตก
มือสั่น หรือตัวสั่น
หายใจไม่สะดวก หรือหายใจขัด
รู้สึกอึดอึดหรือแน่นในหน้าอก
เจ็บหน้าอกหรือไม่สบายบริเวณหน้าอก
คลื่นไส้ หรือปั่นป่วนในท้อง 
รู้สึกมึนงง เวียนศีรษะ โคลงเคลง โหวงเหวงปวดศีรษะ หรือเป็นลม
รู้สึกว่าสิ่งต่าง ๆ รอบตัวแปลกไป หรือรู้สึกว่าตนเองแปลกไป
กลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวจะเป็นบ้า
กลัวว่าจะตาย
รู้สึกมึนชาหรือปวดเมื่อยตามตัว
รู้สึกหนาวสั่น หรือร้อนวูบวาบไปทั้งตัวอาการที่เกิดขึ้นไม่สัมพันธ์กับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดๆ ไม่เกี่ยวข้องกับโรคทางกายหรือการใช้ยา หรือสารใด ๆ อาจเกิดขึ้นขณะอยู่ในบ้านหรือนอกบ้านขณะอยู่ตามลำพังหรืออยู่กับคนอื่นก็ได้
การรักษา โรคแพนิก
ผลการรักษาหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง และต่อเนื่องมักจะได้ผลดี บางรายเมื่อหยุดยาสักระยะหนึ่งก็อาจมีอาการกำเริบได้อีกก็ควรจะได้รับยารักษาใหม่อีก
โฆษณา