3 ก.ย. 2021 เวลา 01:56 • ความคิดเห็น
พูดถึงกลยุทธการตลาด
หลังจากที่ห่างหายไปนานมากกกก กับการเขียนบทความการตลาด หลายๆคนที่ติดตามกันมาคงลืมหายกันไปหมดแล้ว 5555
กลยุทธการตลาดในปีที่ผ่านมา ที่เคทชอบที่สุดคือ สิงห์
ต้องยอมรับว่าประทับใจมาก(แม้ยังไม่ได้ลองผลิตภัณฑ์)
การเปิดตัวของโปรดักส์ เป็นการรุกตลาดที่ชาญฉลาดมากอีกครั้งนึง ทำให้แต้มต่อนำห่าง ค่ายช้าง ไปหลายก้าว
การช่วงชิงพื้นที่สื่อ เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะแบรนด์ที่มีนัยสื่อ ถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต้องใช้ความ
ครีเอตเพิ่มมากขึ้น แต่...อย่างไรก็ตาม การชิงพื้นที่สื่อ สำหรับเคทแล้ว ยังได้แต้มน้อยกว่า การชิงพื้นที่ บนชั้นวาง (shelf) จุดนี้ทำให้บวกคะแนนให้เลย 2จุด
และการเปิดตัวโปรดักส์ในกลุ่ม healthy สุขภาพ ที่มาพร้อมแคลอรี 0% ทำให้ขอบเขตอาณาจักรของลูกค้ากว้างขึ้น ไม่ได้ฟิก เฉพาะกลุ่มคนที่เน้นดื่มเพื่อผสมแอลกอฮอล์ ที่นิยมนำไปมิกซ์ Mocktail หรือ Shandy อีกต่อไป ต้องบอกว่า มิ้วมากกกก จุดนี้บวกไปอีก 2จุด
ได้ทั้ง Product Concept และ Brand Positioning
การที่พรีเซนต์โปรดักส์ให้ยืนได้ 2 ขาทั้งกลุ่มที่รักสุขภาพและรักการดื่ม L ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก มองเสมือนเป็นสินค้าทางเลือก แต่...เจาะกลุ่มได้กว้างมาก
โปรดักส์ คล่อมไลน์ระหว่าง การเป็นเครื่องดื่มมิกซ์เซอร์ และในทีเดียวกันนั้นก็เป็น น้ำอัดลม
ในตลาดแรกนั้น(มิกเซอร์)มาร์เก็ตแชร์ของตลาดใหญ่ราวๆ หมื่นกว่าล้านได้ แต่เทียบไม่ได้เลยกับ มาร์เก็ตแชร์ของตลาดน้ำอัดลม ที่ ห้าหมื่นกว่าล้าน !!
การวางตำแหน่งของโปรดักส์ครั้งนี้ ยอมรับว่า ชาญฉลาดมากค่ะ ด้วยภาพลักษณ์ของแบรนด์(brand identity)
ที่เป็นโทนสีเหลือง การออกโปรดักส์ให้สอดคล้องยิ่งส่งเสริม ภาพจำได้อย่างดี และแน่นอนว่า คู่แข่งที่มาทีหลังจะไม่สามารถสร้างความรู้สึกอิมแพคได้เท่าอย่างแน่นอน
สมมุติค่ายสีเขียว จะทำ ก็ต้องทำในเทสอื่นที่มีความสอดคล้องกับแบรนด์ หากจะทำรสเลมอนเหลืองก็จะดูแปร่งๆ แต่...ถ้าหากทำ น้ำท่อมหรือ กัญชา ออกมาจะทำให้มีแต้มต่อกลับเข้ามาในเกมส์ได้
ในบริษัทขนาดใหญ่ การจะเจาะตลาดเพิ่ม หรือ ขยายตลาดออกไปนั้นมองดูเสมือนเป็นเรื่องง่าย และได้เปรียบแต่...ในความเป็นจริงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เพราะจะทำยังไงไม่ให้กินมาร์เก็ตแชร์เดิมของตัวเอง !! โดยเฉพาะขยายไปสู่ผู้บริโภคกลุ่มใหม่(new segmentation) การออก
โปรดักส์ใหม่ๆ ส่วนมากมักจะกินมาร์เก็ตแชร์ของตัวเอง
ยกตัวอย่าง สินค้าบางอย่างที่เป็นเจ้าตลาด ที่กินมาร์เก็ตแชร์ระดับ 50-60% การจะออกสินค้าใหม่ ขึ้นมานั้นไม่ง่ายเลย มันมีหลักการไม่กี่อย่างคือ สินค้าใหม่ ต้องดีกว่าตัวเก่า คุณภาพดีกว่า หรือ มีความแตกต่างไปเลย อย่างเช่นรสชาติใหม่ มีหลายรส หรือมีระบบการทำงานที่ต่างกัน แต่ทั้งหมดนั้น ก็เป็นเพียงแค่การคีพสถานะของเจ้าตลาดเอาไว้เท่านั้นเอง (บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทำได้ดีมากๆ อย่างเช่น แอปเปิ้ล ซัมซุง และน้องใหม่ เสี่ยวมี่ )
สินค้าบางอย่างมีข้อจำกัดในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพราะต้องใช้ต้นทุนที่สูงมากขึ้น และไม่มีอะไรการันตรีว่าจะประสบความสำเร็จ ดังนั้นการรักษาคุณภาพของยอดขายในสินค้าเดิมนั้นจะง่ายกว่า
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพคือ กว่ายาโยอิจะก้าวขึ้นมาเคียงข้าง MK ได้นั้น บริษัทแม่ต้องลงทุนในการสร้างแบรนด์ไว้หลายสิบ หลายๆแบรนด์ไม่เป็นที่รู้จัก และตายไปเลยก็มี หรือ กรณีคุณตัน พยายามจะปั้นธุรกิจหลายอย่างมาก ร้านอาหารหลายแบบ แต่ปังจริงๆคือ ชาเขียว ก่อนหน้านั้นก็เคยล้มดับกับน้ำสมุนไพร ดับเบิ้ลดริ้ง พูดง่ายๆว่าโอกาสปังมี 1/10 เลยทีเดียว ที่สำเร็จมีน้อยจริงๆ
ดังนั้นการซื้อแบรนด์ที่สำเร็จแล้วจะใช้ต้นทุนที่น้อยกว่ามาก หากคุณมีองค์กรที่ใหญ่รองรับก็จะยิ่งง่ายขึ้น
การจะเพิ่มยอดขายในสินค้าที่เป็นเจ้าตลาดนั้น กลยุทธที่ชาญฉลาดมากที่สุดคือ การแนะนำลูกค้าให้ใช้ซ้ำ หรือ ใช้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น กรณีของ ลิสเตอร์รีนนั้น ดูเรียบง่าย แต่มิ้วมาก แทนที่จะลงทุนกับแบรนด์ใหม่ๆโปรดักส์ตัวใหม่ ลิสเตอร์รีน แค่แสร้งทำวิจัยนิดๆหน่อย และโฆษณาว่า คุณควรใช้น้ำยาบ้วนปากวันละ 2 ครั้งนะ เพื่อสุขภาพของช่องปากที่ดี หรือ ใช้ทุกครั้งหลังอาหารก็ได้
จากที่ก่อนหน้านี้ปริมาณใช้ วันละครั้ง ก็กลายเป็นดับเบิ้ล เป็น 2เท่า 3 เท่าตัว ทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าใหม่ไวขึ้น
หรือ อย่างพวกครีมต่างๆ ถามว่าสรรพคุณเบ็ดเสร็จในกระปุกเดียวได้เลยไหม ได้สิ แต่แบบนั้นยอดขายมันไม่พีคไง ถ้าแบ่งเป็น ทาตอนเช้า ทาตอนเย็น ทากันแดด ทารองพื้น แตกย่อยยิยยับ แบบนี้ยอดขายโตเป็นเท่าตัว
ร่ายยาวไปเรื่อยเลย วันนี้พอแค่นี้ก่อน ไว้มีเวลาโอกาสหน้าจะมาคุยกันใหม่นะคะ
มิ้วๆ
โฆษณา