Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วันนี้คะ 😁
•
ติดตาม
4 ก.ย. 2021 เวลา 17:22 • ไลฟ์สไตล์
#ป่านาพาอิ่ม
สองผู้ยิ่งใหญ่ของผืนป่า นาดิน น้ำ ในนี้....
พ่อกับแม่เป็นหัวใจ เป็นกำลัง และเป็นพลังสำคัญของที่นี่....
เรื่องระบบน้ำต้องยกให้พ่อ ข้าราชการวัยเกษียณของการประปาส่วนภูมิภาค คุมงานผลิตนับสิบๆปี.....
อยากปลูกอะไรก็ปลูกไป... พ่อเดินน้ำไว้ให้แล้ว พ่อพูดตอนพาเดินดูรอบๆ...
หลังจากเราเคยคุยกันไว้คร่าวๆ ว่ามันจะไปแบบไหนดี ....แต่ตอนทำยังไง.... ก็ไม่พ้นมือพ่อ... 😅....
จ้างเค้า ก็ใช่ว่าจะได้แบบนี้ ใครเค้าจะมาทำให้เราดีเหมือนเราทำเอง... พ่อบ่น
ระบบน้ำคือหัวใจและสายเลือดของการเกษตร...
เหมือนพ่อวางเส้นเลือดไว้ให้เลยเนอะ เดินตามพ่อไป คุยไป...
โห.... พ่อเก่งจัง ทำได้ด้วย....
หน้าแล้ง เราไม่กลัวแล้ว... ต้นไม้เราจะมีน้ำกิน
ที่แปลงนี้
เป็นที่นาเดิม ใต้ดินลงไปมีชั้นหินศิลา ดินเหนียวปนทรายเป็นส่วนใหญ่ แปลงที่ดินเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแนวลาดเอียงสูงต่ำไม่เท่ากัน เราใช้วิธีสังเกตแนวสูงต่ำของที่ง่ายๆ ให้สังเกตการไหลของน้ำผิวดินเวลาฝนตก เราจะรู้ได้พื้นที่ด้านไหนสูง ด้านไหนต่ำ โดยเฉพาะเวลาฝนตก... ทิศน้ำไหลของพื้นที่บอกความสูงไปต่ำได้... การรู้พื้นที่สูงต่ำ.... ช่วยการบริหารจัดการน้ำ
1
การปรับที่เมื่อแรกเริ่ม พ่อใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ ทำพื้นที่กักเก็บน้ำผิวดินด้วยการขุดบ่อ และคลองรอบพื้นที่ ใช้กักเก็บน้ำเพื่อการเกษตร
1
ที่ตั้งติดคลองชลประทาน ไม่เคยเป็นพื้นที่แห้งแล้ง เพราะเขื่อนปล่อยน้ำตลอดทุกปี ยกเว้นช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมา เขื่อนปล่อยน้ำน้อยลง จนถึงไม่ปล่อยน้ำในที่สุด จนน้ำในคลองที่ขุดไว้แห้งขอดลงจนน้ำเกือบหมด เหลือติดแค่ระดับก้นบ่อ
การจัดการน้ำในพื้นที่ของเรา ในแบบของเรา
1.แหล่งน้ำของเราที่ใช้ในการเกษตร เราใช้น้ำผิวดินเป็นหลัก เรามีน้ำผิวดิน จากคลองชลประทานที่ปล่อยน้ำมาจากเขื่อนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ ที่เราเคยคิดว่า ไม่มีทางที่จะแห้งเหือด แต่วันที่น้ำหมดเขื่อนมีอยู่จริง และเกิดขึ้นมาแล้ว ... นอกจากน้ำในเขื่อน ที่ปล่อยผ่านคลองชลประทานเราต้องหาแหล่งน้ำในพื้นที่เพื่อพึ่งตนเองได้....
ในวันที่น้ำหมดเขื่อน เกษตรกรลำบากแสนสาหัส น้ำกินใช้บางพื้นที่แทบจะไม่มี แต่คนเมืองยังมีน้ำให้ได้ใช้ แม้จะน้อยลง...... และถ้าเรายังปล่อยปละละเลย คงมีวันที่น้ำประปาไม่มีไหลออกจากท่ออีกต่อไป.... เพราะวันที่น้ำหมดเขื่อนก็มีมาแล้ว แค่ยังโชคดีที่ฝนมาทันต่อเวลาชีวิต...
แล้วฝนมาจากไหน....
น้ำไม่ได้มาจากท่อประปา
กรุณาอย่าเข้าใจผิด
เคยเจอเด็กบางคนที่ไม่เคยรู้ว่าผลเงาะมีขน เพราะแม่ปอกเปลือกให้และวางเงาะที่ปอกแล้วไว้ในตู้เย็นก่อน ตลอด...
1
น้ำมาจากป่า.... น้ำคือทรัพยากรที่หมดได้ ถ้าเราไม่รู้จักใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและถูกวิธี และถ้ารักษาป่าไว้ไม่ได้... น้ำมีวันหมด
2. แหล่งน้ำผิวดิน เรามีคลองรอบผืนที่เรา และมีบ่อหนึ่งบ่อ แต่ความตื้นเขินทำให้การเก็บน้ำฝนที่ไหลเข้าบ่อลดลง แม้ฝนจะตกมาก น้ำจะไหลลงมามาก แต่การกักเก็บย่อมน้อย ตรงไปตรงมาน้ำสำรองในที่เราก็มีไม่มาก
เราขุดลอกคูคลอง บ่อทั้งหมด ขุดให้ลึกมากจนบางที่ ถึงระดับชั้นดินที่มีน้ำซึมออกจากใต้ดิน ถ้าแล้งจัดจริงๆ น้ำอาจจะไม่มาก แต่จะไม่แห้งบ่อ เราปรับแต่งคันดินให้แข็งแรงขึ้น
เรามีเป้าหมายคือ เก็บน้ำผิวดิน เอาไว้ในบ่อ ในคลอง ในที่ของเราไว้ให้ได้มากที่สุด... เราต้องอยู่ได้ แม้เขื่อนไม่ปล่อยน้ำสองปี....
เราขุดคลองไส้ไก่ เพื่อเป็นร่องน้ำในฤดูฝน ช่วยรับน้ำ ชะลอน้ำ เพิ่มการซึมของน้ำจากผิวดินสู่ใต้ดิน เพิ่มความชื้นให้ดิน และใช้ปล่อยน้ำหล่อเลี้ยงต้นไม้ในแนวตคลองไส้ไก่ในช่วงฤดูแล้ง
น้ำในคลองไส้ไก่เราไม่มีไหลตลอดเวลาจนดูเหมือนลำธารเล็กๆ แต่เราหวังใช้ประโยชน์ในแบบที่กล่าวมา
3.น้ำบาดาล ถ้ามีก็เป็นแหล่งน้ำชั้นดีที่แม้อาจต้องมีบ่อเพื่อพักและปรับคุณภาพน้ำ ก่อนใช้เพื่อการเกษตร จะดีกว่านำมาใช้ทันที แต่ก็ค่อนข้างมั่นใจว่าน้ำมีตลอด แต่ที่ของเราน่าเสียดายมาก เราเคยเจาะบาดาล ได้น้ำเค็มสนิท 😅...
เค็มถึงขั้นรดน้ำต้นไม้แล้วต้นไม้ตายระนาว เราจึงพับโครงการนี้ไว้ก่อน แต่เราอาจจะพยายามใหม่
4.น้ำจากฟ้า.... น้ำฝนค่ะ เมื่อทำเกษตรจะรู้ว่า ฝนมีค่า น้ำมีค่า... ต่อชีวิตทุกชีวิตบนโลก...
เราเก็บให้ได้มากที่สุด.....
เมื่อน้ำไม่มี เงินก็ซื้อไม่ได้....ช่วยกัน รักษาน้ำไว้ อย่าให้ขาดไปจากโลกค่ะ...
ภาชนะกักเก็บน้ำ เรามีโอ่งขนาดใหญ่หลายใบ
เรามีบ่อ มีคลองกักเก็บ
และเราทำธนาคารน้ำ เพื่อรองรับน้ำฝนเติมลงใต้ดินหล่อเลี้ยงระดับน้ำผิวดินไว้.... เราพยายามเก็บน้ำฝนในที่ที่เราจะเก็บได้... แผ่นดินคือภาชนะรองรับ กักเก็บน้ำที่ดีและใหญ่ที่สุด...
5
5.ภาชนะกักเก็บน้ำ เราเพิ่มภาชนะกักเก็บน้ำผิวดิน คือแทงก์น้ำขนาดใหญ่ สูบน้ำผิวดินจากบ่อมากักเก็บไว้ เพื่อปล่อยสึ่คลองไส้ไก่ และใช้เลี้ยงต้นไม้ แล้วให้คลองและบ่อรับน้ำฝนใหม่อีกครั้ง ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำในสวนทุกคลอง และบ่อไปด้วยกันทั้งระบบ เกิดการเคลื่อนไหวของน้ำ ใช้น้ำเก่า เติมน้ำใหม่เกิดการไหล การหมุนเวียน รักษาสภาพน้ำ
เราขุดลอกคูคลอง บ่อ
เราทำธนาคารน้ำเพื่อดึงน้ำลงใต้ดินให้ได้สะดวกและมากที่สุด
เรามีภาชนะกักเก็บน้ำ โอ่ง แทงก์น้ำ
เพื่อเก็บน้ำฝน น้ำจากบ่อหรือคลองในมี่เรา และจากคลองชลประทาน
6.เราลดการระเหยของน้ำผิวดิน ด้วยการปลูกต้นไม้คลุมดินไม่ว่าจะเป็นไม้เล็ก ไม้ใหญ่ ต้นหญ้าเมื่อถาง ไม่เผา แต่เอากองคลุมโคนไม้ คลุมดินได้ จะได้ลดการเผาของแสงแดด ลดการระเหยของน้ำออกจากผิวดิน
การปลูกต้นไม้ จะมีรากไม้ทำหน้าที่เป็นฟองน้ำดูดซับน้ำไว้ในดินด้วย ต้นไม้ให้เศษใบไม้ที่ร่วงหล่นปกคลุมดินเก็บความชื้นเพิ่มปุ๋ยให้ดิน
เราปลูกต้นไม้ริมบ่อ เพิ่มร่มเงา ลดการเผาของแสงแดดที่พื้นที่ผิวน้ำของบ่อ และรากไม้ช่วยพยุงดินริมบ่อ เก็บความชื้น ป้องกันการถล่มของดินขอบบ่อ ทำให้ตื้นเขิน
เราปลูกและปล่อยพืชน้ำคลุมผิวน้ำในบ่อ ลดการระเหยของน้ำออกจากบ่อ สวนเราปลูกบัวสาย เพราะทานได้ ดอกสวย เรามีจอกแหน ขึ้นเองตามธรรมชาติ เราปล่อยปลากินพืช เพื่อให้ช่วยควบคุมพืชน้ำ โดยเฉพาะวัชพืชน้ำไม่ให้มากเกินไปจนน้ำเสีย
ต้นไม้ช่วยลดอุณหภูมิผิวโลก ในสวนของ้ราเย็นร่มรื่นกว่าที่อื่น แน่นอนน้ำย่อมระเหยน้อยลง
เราเขียนบันทึกจากประสบการณ์ตรงของตัวเองการมอง การคิดในแบบเราโดยอิงอาศัยความรู้จากผู้อื่นที่เป็นปราชญ์ทางการเกษตรหลายท่าน ปราชณ์ชาวบ้าน รวมทั้งพ่อและแม่ของเรา เค้ารู้จักที่ดินแปลงนี้ทุกหย่อมหญ้าเป็นอย่างดี
เค้ารู้มากกว่าเรา...
เราใช้ชีวิตกับที่แปลงนี้มาร่วมยี่สิบปี แต่ใช้ชีวิตจริงจังกับที่แปลงนี้มาหนึ่งปีเศษๆ เรียนรู้เค้าให้มากกว่าที่ผ่านมาตลอดชีวิตของตัวเอง..
อยู่แบบเรียนรู้ที่จะเข้าใจบริบทของตัวเอง ของที่ดิน อยู่แบบอยากจะปรับตัว พัฒนา และปรับปรุงให้เค้าเติบโตและอยู่ได้อย่างสมดุลย์ และอยู่ร่วมกับเราได้....
#ป่านาพาอิ่ม
#แผ่นดินของพ่อและแม่
ธนาคารน้ำ
"เติมน้ำใต้ดิน การเติมน้ำ ธนาคารน้ำใต้ดิน - กรมทรัพยากรน้ำบาดาล"
http://www.dgr.go.th/th/newsAll/124/5101
สร้าง “ธนาคารน้ำใต้ดิน” ฝากน้ำกับดิน แก้ปัญหา น้ำท่วม-ภัยแล้ง ในแปลงไร่นา (ตอนจบ) - เทคโนโลยีชาวบ้าน
"สร้าง “ธนาคารน้ำใต้ดิน” ฝากน้ำกับดิน แก้ปัญหา น้ำท่วม-ภัยแล้ง ในแปลงไร่นา (ตอนจบ) - เทคโนโลยีชาวบ้าน"
https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_118534
ดู "ทำไม่ยาก "ธนาคารน้ำใต้ดิน" แก้ปัญหาภัยแล้ง | Springnews | 8 ส.ค. 62" ใน YouTube
https://youtu.be/U4iu6OuSfQA
เกษตรทฤษฎีใหม่
"หน้าหลัก"
http://www.sahakornthai.com/tsdbanthum/
3 บันทึก
23
30
8
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เพราะปลูก ป่า นา พาอิ่ม
3
23
30
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย