4 ก.ย. 2021 เวลา 23:28 • สุขภาพ
#ฟอสฟอรัส (Phosphorus)
ทำไมผู้ป่วยโรคไตควรระวัง
ฟอสฟอรัส (Phosphorus) หรือ ฟอสเฟต (Phosphate)
คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ทำงานร่วมกับแคลเซียม มีหน้าที่เป็นโครงสร้างของกระดูกและฟัน โดยปกติเมื่อร่างกายได้รับฟอสเฟตจากการทานอาหาร ฟอสเฟตส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมที่บริเวณลำไส้เล็กและเข้าไปในกระแสเลือด
เมื่อฟอสเฟตเข้าไปในกระแสเลือด ส่วนหนึ่งจะเข้าไปสะสมในกระดูก ฟอสเฟตส่วนเกินจะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ และส่วนน้อยขับออกทางอุจจาระ โดยระดับฟอสเฟตปกติในเลือด จะมีค่า 2.5 – 4.5 mEq/L (มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร)
#ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ควรลดการทานอาหารที่มีฟอสเฟตสูง เพราะ ประสิทธิภาพในการขับฟอสเฟตจะลดลง จึงทำให้เกิดการคั่งของฟอสเฟตในเลือด #หากระดับฟอสเฟตสูงในเลือดมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ สมอง และโรคหลอดเลือด ทำให้เกิดภาวะต่อมพาราไทรอยด์โต กระดูกบางและเปราะ
ฟอสฟอรัส (Phosphorus) อยู่ที่ไหนได้บ้าง
#อยู่ในอาหาร
ตัวอย่างของอาหารที่มีฟอสเฟตสูง เช่น เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ถั่วเมล็ดแห้งและน้ำอัดลม
#อยู่ในรูปสารสังเคราะห์
เป็นสารปรุงแต่งอาหาร หรือสารกันบูด ในอาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มต่างๆ
.
#ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 มักพบว่า มีระดับฟอสเฟตในเลือด หรือฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงกว่า จึงควรจำกัดปริมาณฟอสเฟตจากอาหารให้อยู่ในช่วง 800 – 1,000 มก./วัน หรือปริมาณน้อยที่สุดที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ที่มาข้อมูล :
1. อ.นพ.ณัฐพล เลาหเจริญยศ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. ความผิดปกติของสมดุลแร่ธาตุ และกระดูกในโรคไตเรื้อรัง (Mineral and Bone Disorder in Chronic Kidney Disease)
#สุขภาพดีได้ด้วยการกิน
#healthyfood💯%
#ketodiet💯%
#น้ำตาลหญ้าหวาน
#น้ำตาลหล่อฮั่งก๊วย
#HimalayanPinkSalt
#HimalayanBlackSalt
#กินดีมีสุข
สนใจสอบถาม​ ทักมาคุยกันน่ะจ้า
Tel​ 0639159989
Line​ id​: healthy9989
💞​💞​💞​💞​💞​💞​💞​
โฆษณา