8 ก.ย. 2021 เวลา 14:02 • การศึกษา
10 เรื่องน่ารู้ เพราะโลกเราอยู่ในอวกาศ ตอนที่ 3
1 บนดาวอังคารมีหุ่นยนต์
หุ่นยนต์คิวริออสซิตี้ (Curiosity) มีขนาดเท่ากับรถยนต์ ได้ทำการสำรวจพื้นผิวของดาวอังคาร ภายในตัวของหุ่นยนต์คิวริออสซิตี้ มีแขนกลซึ่งทำหน้าที่เหมือนสว่านขุดเจาะพื้นดิน เพื่อเก็บตัวอย่างหิน มีกล้องเคมีขนาดเล็กทำงานร่วมกับเลเซอร์ ตรวจหาอนุภาคต่างๆบนพื้นผิว มีเครื่องส่งสัญญาณวิทยุ ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลกลับมายังโลก แถมยังมีห้องทดลองเฉพาะตัว ที่จะแยกแยะองค์ประกอบ จากตัวอย่างของหินที่ขุดได้ นับตั้งแต่คิวริออสซิตี้สำรวจดาวอังคารในปี 2012 มันสามารถตรวจหาสารเคมีต่างๆ ได้ถึง 6 ชนิด ซึ่งล้วนแล้วแต่เอื้อต่อการดำรงของอยู่ของสิ่งมีชีวิต รวมไปถึงน้ำ แม้จะอยู่ในรูปแบบของน้ำแข็งก็ตาม จนตอนนี้นักวิทยาศาสตร์คิดว่า ดาวอังคารอาจเคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
2 นักบินอวกาศนอนบนดวงจันทร์
แม้ว่าภารกิจอะพอลโล จะใช้งบประมาณไปหลายพันล้านดอลลาร์ แต่นักบินอวกาศ ก็ใช้เวลาบนดวงจันทร์หมดไปกับการนอน มากกว่าที่เราคิด สำหรับภารกิจอะพอลโล 11 รวมระยะเวลาที่ยานได้ลงจอดบนดวงจันทร์ 21 ชั่วโมง สูญเสียไปกับการนอน 9 ชั่วโมง ภารกิจอะพอลโล 17 รวมเวลาที่ยานลงจอดบนดวงจันทร์ 75 ชั่วโมง สูญเสียไปกับการนอน 30 ชั่วโมง ผู้บังคับบัญชาอะพอลโล 17 ยูจีน เซอร์นัน กล่าวว่า การนอนหลับบนดวงจันทร์ คือการเสียเวลาที่สุดเท่าที่มนุษยชาติจะนึกได้ แต่เราก็ต้องนอน เพราะเราเหนื่อยจนไม่มีทางเลือก
3 นักวิทยาศาสตร์ค้นหามนุษย์ต่างดาว
นักดาราศาสตร์ชื่อแฟรงค์ เดรก ได้คิดค้นสมการ ที่ใช้ประมาณการคร่าวๆ ถึงสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญา ที่สามารถติดต่อกับมนุษย์โลกได้ โดยใช้สมการ จำนวนดาวเคราะห์ในกาแล็กซีของเรา คูณด้วยเปอร์เซ็นต์ของดาวเคราะห์ที่เหมือนกับโลก คูณด้วยเปอร์เซ็นต์ของดาวเคราะห์ที่อาจพัฒนาสิ่งมีชีวิต คูณด้วยเปอร์เซ็นต์ของสิ่งมีชีวิต ที่อาจมีสติปัญญา คูณด้วยเปอร์เซ็นต์ของสิ่งมีชีวิต ที่มีสติปัญญา ที่สามารถคิดค้นเทคโนโลยีการสื่อสาร ผลลัพธ์ก็คือ จำนวนของดาวเคราะห์ที่อาจมีมนุษย์ต่างดาว ถึงแม้ว่าสมการนี้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเห็นด้วย แต่มันก็นับเป็นการเริ่มต้นที่ดี
4 ขับยานยังไงให้ชนดาวเคราะห์น้อย
หากใครเคยดูหนังแนวอวกาศ คงมักพบฉากยานอวกาศหลบหลีกกลุ่มดาวเคราะห์น้อย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การหลบหลีกดาวเคราะห์น้อยนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยุ่งยากเลย แต่กลับกัน การขับให้ชนเข้ากับดาวเคราะห์น้อยต่างหาก ที่เป็นเรื่องยุ่งยากกว่า แม้ว่าพื้นที่ระหว่างดาวอังคารกลับดาวพฤหัส จะมีดาวเคราะห์น้อยอยู่หลายล้านดวง ซึ่งอยู่บริเวณวงแหวน ที่เรารู้จักกันในชื่อ แถบดาวเคราะห์น้อย แต่มันก็ไม่ได้หนาแน่น จนเป็นอุปสรรคสำหรับยวดยานต่าง ๆ เกร็ดความรู้ ดาวเคราะห์น้อยอาจเป็นอะไรก็ได้ ที่มีความกว้างตั้งแต่ 10 ถึง 1,000 กิโลเมตร และในความเป็นจริง ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่อยู่ห่างกันมากกว่าที่โลกอยู่ห่างกับดวงจันทร์เสียอีก
5 จรวดลำแรกของมนุษยชาติ
จุดเริ่มต้นจาก วิศวกรชาวเยอรมันชื่อ แวร์นเฮอร์ ฟอน เบราน์ เกิดที่ประเทศเยอรมนี เด็กชาย เบราน์ ในปี 1924 เคยมัดพลุเข้ากับเกวียน เพื่อให้มันพุ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็ว จนในปี 1930 เขาเอาจริงเอาจังกับวิทยาการด้านจรวด ซึ่งทำให้เขาเข้าเรียนเพียงไม่กี่วิชาเพื่อสร้างวัตถุที่จะพุ่งไปบนฟ้าได้ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 1944 เขาเป็นผู้ออกแบบจรวดทิ้งระเบิด v2 ให้กับกองทัพนาซี ในปี 1945 หลังแพ้สงครามกองทัพสหรัฐฯ ใช้เขาออกแบบจรวดมิสไซล์แบบใหม่เพื่อการทหาร ในปี 1950 เขาก็ถูกร้องขอโดยรัฐบาลสหรัฐฯ อีกครั้ง เพื่อออกแบบจรวดที่สามารถทำงานในอวกาศได้ จนในปี 1969 จรวดแซเทิร์นช่วยขนส่งยานอพอลโล 11 นำนักบินอวกาศกลุ่มแรกสู่ดวงจันทร์ได้สำเร็จ
6 เรามาจากดาวดวงอื่น
เมื่อประมาณ 36,000 ล้านปีที่แล้ว โลกของเรา ถูกชนด้วยดาวเคราะห์น้อยชื่อ แพนสปอเนีย ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาเดียวกัน กับการถือกำเนิดของสิ่งมีชีวิตยุคแรกบนโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ติดมากับดาวเคราะห์น้อย ในชื่อ เอ็กซ์ทรีโมไฟล์ มันเป็นสายพันธุ์ที่สามารถอยู่รอดได้บนดาวเคราะห์น้อย หรือแม้แต่ในสภาพไร้บรรยากาศ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสรรพสิ่งบนโลก จนวิวัฒนาการนำพาการปรับตัว เปลี่ยนแปลง แบ่งสายพันธุ์ และยึดพื้นที่ดาวโลกไปในที่สุด
7 อวกาศมีมากกว่าสี่มิติ
เราส่วนใหญ่เข้าใจกันว่า วัตถุทุกชนิด มีเพียงสามมิติเท่านั่น มิติที่หนึ่งก็คือ จุดเล็ก ๆ ที่เราเห็น หรือเพียงเรานำสีไปจิ้มมันไว้ มิติที่สอง ก็อย่างการวาดรูปให้เป็นเส้น เป็นทรงสีเหลี่ยม มิติที่สาม เรามองเห็นสี่เหลี่ยมเหล่านั้นได้ ด้วยทรงลูกบาศก์ สำหรับมิติที่สี่ คือการเพิ่มรูปทรง ไอเปอร์คิวบ์ให้กับลูกบาศก์ เราไม่มีทางวาดมันขึ้นมาได้ เพราะเรามองไม่เห็นสิ่งนี้ มันบิดเบี้ยวไปตามจักรวาลที่ขยายตัว นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า มันคือเวลา
8 ตึกชั้นเดียวที่สูงที่สุด
ตึกประกอบยานหรืออาคาร วีเอบี ตั้งที่อยู่ในรัฐฟลอริดา สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบจรวด จากชิ้นส่วนที่ถูกนำมาจากสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งประกอบกันในแนวตั้ง ทั้งนี้ก็เพราะว่า ประกอบเสร็จสามารถปล่อยจรวดขึ้นฟ้าได้ในทีเดียว ภายในอาคารมีความใหญ่โต จนเสมือนเป็นระบบนิเวศน์ทางอากาศในตัวเอง ทั้งความชื้นความชื้นสัมพัทธ์ ความหนาวเย็น หรือความอบอุ่น อาคารวีเอบี มีความสูง 160 เมตร เป็นอาคารชั้นเดียวที่สูงที่สุด เท่าที่มนุษย์เคยสร้างมา และประตูของอาคาร ก็เป็นประตูที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วยต้องใช้เวลาเปิดประตู มากถึง 45 นาที เลยทีเดียว
9 ดาวเทียมเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเหนือเสียง
เราอาจจะมองเห็นดาวเทียม หรือสถานีอวกาศลอยไปลอยมาอย่างช้าๆ อยู่เหนือพื้นโลก แต่ในความเป็นจริง มันพุ่งตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยความเร็วระดับเหนือเสียง การที่มันลอยอยู่เหนือโลก ต้องอาศัยหลักของแรงโน้มถ่วง และแรงผลัก เราเรียกสิ่งนี้ว่า “การตกอย่างอิสระ” การรักษาระดับแรงผลักที่ถูกต้อง มีความสำคัญมาก เพราะถ้าหากมันน้อยเกินไป ดาวเทียมหรือสถานีอวกาศ ก็จะตกลงมายังพื้นโลก แต่ถ้าหากแรงผลักมากเกินไป ดาวเทียมก็จะหลุดออกไปนอกอวกาศ เกร็ดความรู้ สถานีอวกาศนานาชาติ เคลื่อนที่ต่อเนื่องด้วยความเร็ว 27,600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่ระดับความสูง 380 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก
10 สภาวะไร้น้ำหนักไม่ใช่การลอย
ภาพของนักบินอวกาศ ที่ลอยเคว้งคว้างอยู่ในอวกาศ ทั้งจากคลิป หรือหนังสือต่างๆ นั้น ความเป็นจริงแล้ว นั่นไม่ใช่การลอย แต่เป็นการตกอย่างรวดเร็ว ลองนึกถึงภาพลิฟท์ที่ตกลงสู่ชั้นล่างอย่างรวดเร็ว ในแบบที่ไม่มีชั้นล่างรูปแบบเดียวกัน ยานอวกาศที่กำลังเข้าสู่วงโคจร ก็กำลังตกลงสู่วงโคจรจากแรงโน้มถ่วงของโลก สภาวะนี้ถูกเรียกว่าสภาวะไร้น้ำหนัก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การตกอย่างอิสระ
อ้างอิง
หนังสือ 100 เรื่องต้องรู้ก่อนโต อวกาศ
กดไลค์ถ้าถูกใจ
แชร์หากเห็นว่ามีประโยชน์
คอมเมนท์เพื่อแนะนำติชม
อัพเดทบทความสนุกแบบรัว ๆได้ที่
***พิมพ์ 1 แทนไอ ใส่ 0 แทนโอ
โฆษณา