Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Top Ranking
•
ติดตาม
9 ก.ย. 2021 เวลา 14:17 • การศึกษา
10 อันดับ สิ่งประดิษฐ์จากฝีมือมนุษย์ ที่เร็วโคตรเว่อร์
ถึงแม้ว่ามนุษย์ จะยังไม่สามารถคิดค้นเครื่องมือ หรือสร้างยานยนต์ ที่จะเอาชนะความเร็วของแสงได้ แต่คุณรู้หรือไม่ วันนี้เหล่านักประดิษฐ์และวิศวกร ต่างขมักเขม้นอัพเกรดยานยนต์ ต่อยอดความเร็ว จนบางที ก็เร็วเกินกว่าที่เราจะจินตนาการได้ มีสิ่งประดิษฐ์ชิ้นไหน เร็วเกินห้ามใจบ้าง ท้อปจะแรงค์ให้ฟังครับ
10 เลื่อนจรวด แอร์ฟอร์ซ ไฮเปอร์โซนิค
1
สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นเสมือนเครื่องมือทดลอง หรือทดสอบประสิทธิภาพของจรวด มันเป็นกลไกพิเศษ ที่ออกแบบมาเพื่อทำงานคู่กับรางเลื่อน พร้อมเครื่องยนต์จรวด ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทดสอบจรวด และวัตถุอวกาศต่าง ๆ มันมีความเร็วสูงสุด 10,600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับรางเลื่อนหรือลู่ทดสอบ มีความยาวถึง 16 กิโลเมตร
9 ไฮเปอร์-เอ็กซ์
หลังจากนาซ่าเปิดตัวอากาศยานไร้คนขับ ที่ชื่อว่า NASA X-43A มันก็กลายเป็นนกเหล็ก ที่บินได้เร็วที่สุดบนโลก ซึ่งเร็วกว่าเสียง 10 เท่า และกลายเป็นเครื่องบินไร้คนขับ เร็วที่สุดควบอีกหนึ่งตำแหน่ง ที่ประจำการบนโลกขณะนี้ เอ็กซ์-43 เอ สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 11,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเครื่องบินเจ็ตความเร็วเหนือเสียงลำนี้ ใช้พลังงานจากออกซิเจนในอากาศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ให้บินได้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้อีกด้วย
8 กระสวยอวกาศโคลัมเบีย และดิสคัฟเวอรี่
กระสวยอวกาศโคลัมเบีย และดิสคัฟเวอรี่ เป็นกระสวยที่ออกแบบมาเพื่อทำภาระกิจในวงโคจรของโลกเป็นหลัก เช่นภาระกิจปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ภาระกิจปล่อยโพร้บยูลิสซิส (Ulysses) ภาระกิจดาวเทียม TDRS สามดวง และอีกกว่า 50 ภาระกิจที่ไม่ได้กล่าวถึง นั่นจึงเป็นที่มาของการบังคับความเร็วระดับ 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ให้เสถียรที่สุด
7 อะพอลโล่ 10
โครงการอะพอลโล่ 10 เป็นเสมือนโครงการนำร่อง ที่จะนำมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ เพียงแต่ว่า ไม่ได้ลงจอดบนดวงจันทร์จริง ๆ เท่านั้น เหตุผลก็เพื่อทดสอบขั้นตอนและระบบต่าง ๆ ให้พร้อมที่สุด โดยยานอะพอลโล่ 10 โคจรห่างจากพื้นผิวดวงจันทร์เพียง 15.6 กิโลเมตร และด้วยแรงเหวี่ยงจากดวงจันทร์ บวกกับแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้ขากลับ ตัวยานสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 40,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่ระดับความสูง 122 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน
6 สตาร์ดัสต์
โครงการอวกาศสตาร์ดัสต์ (Stardust) หรือ ละอองดาว คือโครงการที่มีเป้าหมายสำหรับศึกษาดาวหางโดยตรง ในปี 1999 มันถูกส่งขึ้นไปเพื่อโคจรรอบดาวหาง ไวด์-ทู (Wild-2) สองรอบ การวนรอบแรกเพื่อ ถ่ายรูปพื้นผิวดาวหาง และวนรอบสองเพื่อ เก็บตัวอย่างของฝุ่นดาวหาง ที่เพิ่งระเหิดหลุดจากส่วนหัวกลับมาศึกษา โดยยานอวกาศ สตาร์ดัสต์สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 46,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และภาระกิจ 7 ปี กับระยะทาง 4.5 พันล้านกิโลเมตร เทียบได้กับการเดินทางไปกลับ ระหว่างโลก กับดวงอาทิตย์ 14 รอบ
5 นิวฮอไรซันส์
อันที่จริงมันไม่ใช่ยานอวกาศ แต่มันคือ สถานนีอวกาศเพื่อการสำรวจอวกาศ และสำรวจดาวเคราะห์อัตโนมัติ เป็นส่วนหนึ่งจากโครงการนิวฟรอนเทียส์ ของนาซ่า เริ่มต้นภาระกิจเมื่อปี 2006 มีภาระกิจศึกษาดาวพลูโต ดาวบริวาร และแถบดาวเคราะห์ไคเปอร์ โดยสถานอวกาศเพื่อการสำรวจอวกาศ นิวฮอไรซันส์ สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 58,600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และภาระกิจสำรวจดาวพลูโต 13 ปี เป็นภาระกิจการสำรวจ ที่คุ้มค่าสุด ๆ
4 วอยเอจเจอร์ 1
ยานสำรวจอวกาศ วอยเอจเจอร์ 1 หรือ Voyager 1 ถูกนาซ่าปล่อยออกไปเมื่อปี 1977 ภายใต้โครงการวอยเอจเจอร์ ปัจจุบันยานปฏิบัติภารกิจในอวกาศเป็นเวลา 44 ปีแล้ว และยังคงสื่อสารกับโลก ผ่านทางเครือข่ายอวกาศห้วงลึก (DSN) ยานอวกาศรุ่นปู่ลำนี้ อยู่ห่างจากโลกราว 148.61 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 22.2 พันล้านกิโลเมตร มันสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 61,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือเดินทางได้ 520 ล้านกิโลเมตรต่อปี ถือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์จากมนุษย์ ที่อยู่ไกลจากมนุษย์ที่สุดอีกด้วย
2
3 กาลิเลโอ
ยานสำรวจอวกาศอีกลำ ที่ถือว่าพลิกโฉมหน้าวงการดาราศาสตร์ คือยานสำรวจกาลิเลโอ มันถูกปล่อยออกจากโลกไปสู่ดาวพฤหัสบดี ในปี 1989 และใช้เวลาทั้งสิ้น 6 ปีในการเดินทาง ในระหว่างการเดินทาง ยานสำรวจกาลิเลโอ ได้พบเข้ากับดาวเคราะห์น้อยสองดวงได้แก่ แกสปรา และไอดาตามลำดับ การไปถึงของยานกาลิเลโอ ทำให้เราได้รู้ถึงรายละเอียดของดาวพฤหัสบดี อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ยานกาลิเลโอ ทำความเร็วสูงสุดได้ 174,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือหากเราอยู่บนยาน เราสามารถไปกลับระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ภายในเวลา 5 ชั่วโมง อย่างไรก็ดี ภาระกิจ 14 ปี จบลงในปี 2003 เมื่อยานถูกส่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
2 เฮลิโอส 1 และ เฮลิโอส 2
ยานสำรวจอวกาศในชื่อ Helios 1 และ Helios 2 หรือบางครั้งก็เรียก Helios-A และ Helios-B เป็นยานที่ถูกส่งออกไปเพื่อศึกษากระบวนการของระบบสุริยะ และดวงอาทิตย์เป็นหลัก โครงการเกิดจากการร่วมทุนของหลายประเทศ ปล่อยออกไปสู่ดาวฤกษ์แสนระอุ ในปี 1976 โดยเฮลิโอส 1 สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 238,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ เฮลิโอส 2 สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 247,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
1 ปาร์คเกอร์
สุดยอดแห่งยานสำรวจ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อรับมือกับทุกสภาพความเลวร้าย ต้องยกให้ Parker Solar Probe ภาระกิจศึกษาดวงอาทิตย์ที่กินเวลามาแล้วกว่า 7 ปี หรือ 24 รอบวงโคจร และมันยังเข้าใกล้ดาวแดงร้อนยักษ์ได้มากถึง 6.2 ล้านกิโลเมตร เข้าไปใกล้ยิ่งกว่าดาวพุธเสียอีก ยานปาร์คเกอร์ สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 343,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และยิ่งใกล้ดวงอาทิตย์เท่าไหร่ ความเร็วของมันก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น นักดาราศาสตร์คาดว่า ในปี 2024 ปาร์คเกอร์จะมีความเร็วถึง 692,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เชื่อเหลือเกินว่า วงการดาราศาสตร์ยังคงมีเรื่องตื่นตา ตื่นใจให้เราได้เรียนรู้กันอีกมากมาย ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ เราอาจจะได้เห็นความเร็วที่ค่อย ๆ ไต่ระดับไปจนขีดสุด หรือจนแสง อาจไม่ใช่โฟตอนที่เร็วที่สุด ก็เป็นได้
อ้างอิง
https://go.nasa.gov/3hdqCfm
https://bit.ly/3hj6p7T
https://bit.ly/3lbvgLV
https://bit.ly/2YHWH8M
กดไลค์ถ้าถูกใจ
แชร์หากเห็นว่ามีประโยชน์
คอมเมนท์เพื่อแนะนำติชม
blockdit.com/topranking
อัพเดทบทความสนุกแบบรัว ๆได้ที่
www.t0prank1ng.com
***พิมพ์ 1 แทนไอ ใส่ 0 แทนโอ
8 บันทึก
17
12
8
17
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย