11 ก.ย. 2021 เวลา 00:27 • หนังสือ
วันนี้ผมจะมารีวิวและสรุปหนังสือที่มีชื่อว่า ‘เกมมิฟิเคชัน จูงใจคนด้วยเกม’
หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณตรัง สุวรรณศิลป์
หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ และแชมป์บอร์ดเกม catan คนแรกของประเทศไทย เจ้าของเพจ Beyond Board
หนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของ Gamification
มันคืออะไร นำไปทำอะไรได้ สำคัญอย่างไร จะหาได้จากเล่มนี้ครับ
ด้วยความที่ชื่อเล่มว่า Gamification ก็คิดว่า
เอ้ เกี่ยวอะไรกับเกม มันคืออะไร
และลองได้อ่านดู พบว่าน่าสนใจเลยครับ
ต้องบอกก่อนว่าก่อนอ่านเล่มนี้ไม่ทราบเลยว่า
Gamification คืออะไร
แต่พอได้อ่านแล้วจะพบว่ามันอยู่รอบๆตัวเราเลยครับ
ความหมาย
Gamification = การนำความเป็นเกมหรือองค์ประกอบของเกมมาใช้ในบริบทอื่นที่ไม่ใช่เกมครับ
คุณตรังบอกไว้ว่า คำนี้ยังไม่เป็นที่นิยมในไทยเท่าไหร่ครับ แต่ต่างประเทศนิยมพอสมควร
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ผมจะยกตัวอย่าง เกมมิฟิเคชันให้ดูครับ
เช่น ในเว็ปไซต์ Khan Academy จะมีการแสดงผล ความคืบหน้าของการเรียนรู้ เพิ่มความอยากเรียนให้กับเรา
หรือ Dtac จูงใจให้พนักงานเรียนทักษะเพิ่มปีละ 40 ชั่วโมงผ่านการ เก็บชั่วโมงและแลกของรางวัล
หรือ Microsoft ทำ กิจกรรม Language Quality Game เพื่อให้คนที่พูดแต่ละภาษามารีวิวการแปลเป็นภาษาประเทศตนเองดีแค่ไหน
เป็นต้น
2
หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกัน
1 เกมมิฟิเคชันคืออะไร องค์ประกอบ แรงจูงใจของเกมคือ
2 เทคนิคพื้นฐานของเกมมิฟิเคชัน
3 หลักคิดในการออกแบบเกมมิฟิเคชัน
ส่วนที่ 1
เกมมิฟิเคชันคืออะไร องค์ประกอบ แรงจูงใจของเกมคือ
จากที่บอกไปว่าเกมมิฟิเคชันคือ การนำความเป็นเกมหรือองค์ประกอบของเกมมาใช้ในบริบทอื่นที่ไม่ใช่เกม
แต่เราก็ต้องมารู้องค์ประกอบของมันก่อนครับ มีอยู่ 4 ส่วนด้วยกัน
🎮1 เป้าหมาย(Goal) คือ สิ่งรวบยอดที่ทำให้รู้ว่าเราต้องทำอะไร
🎮 2 กติกา(Rules) คือ สิ่งที่บอกว่าทำได้และทำไม่ได้
🎮 3 การแสดงตอบสนองต่อการกระทำของผู้เล่น(Feedback System) คือ สิ่งที่บอกเราว่าเราทำดีหรือไม่ดี เช่น การเห็นคะแนนขณะเล่น
🎮 4 การให้ผู้เล่นมีส่วนร่วมด้วยความจริงใจ(Voluntary Participation) คือ ความรู้สึกที่ทำให้เราอยากเล่นตามกติกา เช่นการออกแบบให้มีความซับซ้อนไม่มากเกินไป
4
ต้องบอกถึงแรงจูงใจก่อนครับแบ่งเป็น
1 แรงจูงใจภายนอก เช่น การอยากได้รางวัล การไม่อยากถูกลงโทษ
2 แรงจูงใจภายใน เช่น ทำเพราะอยากทำ ทำเพราะเป็นความชอบส่วนตัว
เราอาจจะคิดว่าการที่เราชอบเล่นเกมและเล่นมันได้นาน เพราะแรงจูงใจภายนอกอย่างเดียว คือ การได้รางวัล การจัดอันดับ
แต่จริงแล้วมีแรงจูงใจภายในด้วยหมดเลยครับ เช่น การที่เราเลือกเล่นด่านไหนก็ได้ หรือการปรับแต่งตัวละคนครับ
ซึ่งเกมที่มันสนุก ทำให้เราเล่นได้นานๆ ก็เพราะมีทั้งแรงจูงใจภายในและภายนอกนั่นเองครับ
2
ส่วนที่ 2 เทคนิคพื้นฐานของเกมมิฟิเคชัน
จะมาต่อจากบทที่แล้วนะครับ
โดยนำส่วนปรับของเกมในข้อที่ 3 คือ การตอบสนอง
สิ่งนี้เป็นแกนกลางของการออกแบบเกมมิฟิเคชันเลยครับ
เพราะยิ่งมีการตอบสนองจะนำไปสู่แรงจูงใจครับ
โดยเทคนิคพื้นฐนของเกมมิฟิเคชันมี 3 อย่างเรียกว่า PBL
ย่อมาจาก แต้ม(Point) เหรียญตรา(badge)
และตารางจัดอันดับ(Leaderboard)
2
🎮 เทคนิคพื้นฐานที่ 1 แต้ม
แท้จริงแล้วแต้มในเกมมิฟิเคชันไม่ใช่รางวัลแต่มันการคือ
การเปลี่ยนพฤติกรรมให้อยู่ในรูปแบบจับต้องได้ เพื่อที่เราจะเห็นว่าเราทำอะไรไปบ้าง
และจะส่งเสริมการกระทำต่อไป แต่ระวังอย่าลบแต้มเพราะมันจะทำลายแรงจูงใจได้
1
🎮 เทคนิคพื้นฐานที่ 2 เหรียญตรา
คือ สิ่งที่เน้นให้ผู้เล่นเห็นว่าอะไรสำคัญ เหรียญตราที่ได้จะบอกเราว่าเราผ่านด่านใดไป
คล้ายๆกับการบอกว่าเราประสบความสำเร็จในเรื่องใดไปบ้างแล้วครับ
1
🎮 เทคนิคพื้นฐานที่ 3 ตารางอันดับ
ใช้บอกว่าผู้เล่นทำได้ดีเพียงใดเมื่อเทียบกับคนอื่น โดยจะเป็นการจูงใจให้เราทำอันดับให้มันสูงขึ้นครับ
1
ส่วนที่ 3 หลักคิดในการออกแบบเกมมิฟิเคชัน
หัวใจหลักมี 4 อย่างครับ
🎮 1 กำหนดพฤติกรรมที่พึงประสงค์
มันคือการกลับมาดูที่เราตั้งเป้าหมาย ว่าจริงๆแล้วเรามีจุดประสงค์อะไร เป้าหมายงานของคุณคืออะไรก่อนการออกแบบ
แต่ก็อย่าลืมคิดผ่านมุมมองของผู้เล่นด้วยครับ
1
🎮 2 ค้นหาความต้องการของผู้เล่น
หลังจากผ่านการกำหนดพฤติกรรม จะนำมาสู่การลงลึกว่าผู้เล่นต้องการอะไร
ผ่านการกำหนดผู้เล่น ทำรายการความต้องการของผู้เล่น และทำให้ครอบคลุมมากที่สุดครับ
1
🎮 3 ทำความเข้าใจทางเลือกของผู้เล่น
เป็นการทำความเข้าใจว่าผู้เล่นต้องผ่านทางเลือกและตัดสินใจสิ่งใดบ้างเรียกว่า Activity loop
ผ่านการเขียนขั้นตอน ความรู้สึกของผู้เล่น
ทำรายการสำคัญให้ผู้เล่นตัดสินใจเอง
ขั้นตอนไหนที่จะขัดพฤติกรรมที่พึงประสงค์(พฤติกรรมสำคัญ)
ก็ใส่เกมมิฟิเคชันได้เลย
เช่น ตอนเราจะรูบัตรเครดิต เราจะเกิดความลังเล เกมมิฟิเคชันจะเข้ามาช่วยให้เราตัดสินใจง่ายขึ้นผ่านการสะสมแต้มครับ
1
🎮 4 เลือกใช้เกมมิฟิเคชันให้เหมาะสม
ผ่านการนำข้อ 1 และ 2 มาทดลองดูว่าสอดคล้องกันมากแค่ไหน
และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม
และอย่าลืมในด้านแรงจูงใจและความสนุกด้วยครับ
โดยรวมแล้วเกมมิฟิเคชันจะเน้นการสร้างพฤติกรรมผ่านแรงจูงใจ
แต่อย่าลืมลูกค้าที่เป็นผู้เล่น ศูนย์กลางของเกมมิฟิเคชันครับ
บางอย่างอาจจะไม่เหมาะกับเกมมิฟิเคชัน
และไม่การันตีผลลัพธ์ด้วยครับ
และคุณตรังเชื่อว่า
การใช้เกมมิฟิเคชัน จะเป้นการทำให้เราปรับตัวกับยุคใหม่
ยุคที่สามารถสนุกสนานไปพร้อมกับการทำงานและการเรียนรู้ครับ
1
ขอบคุณสำหรับการรับชมครับ
โฆษณา