12 ก.ย. 2021 เวลา 14:42 • ข่าวรอบโลก
เมื่อพระทำโครงการอวกาศ Gounji โครงการส่งพระพุทธรูปไปอวกาศ และขาย NFT
2
ในขณะที่ พส. ไทยกำลังเถียงกันเรื่องเล่นมุกตลกได้มั้ย พส. ญี่ปุ่น กำลังทำโครงการอวกาศ ส่งพระประธานไปโคจรรอบโลก ให้ขอพรได้ทั่วโลกโดย Track ผ่านแอพ และทำ NFT กันอยู่
6
ศาสตร์ของการดูดาวและเฝ้ามองวัตถุบนท้องฟ้านั้นเก่าแก่ว่าศาสนาเสียอีก ไม่น่าแปลกที่เราจะพบมันในทุกวัฒธรรมทั่วโลก การมาพบกันระหว่างศานากับอวกาศจึงพบเห็นได้ทั่วไป ตั้งแต่ดวงดาวที่ปรากฎบนตราประจำศาสนา หรือมีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม เช่น Star of Bethlehem ในวันประสูติของพระเยซู แม้กระทั่งในพุทธศาสนา ก็ยังมีการพูดถึงจักรวาลวิทยาในความเชื่อของศาสนาพุทธ เช่นกัน แต่เมื่อบริบททางวิทยาศาสตร์เข้ามา ผู้คนเริ่มคิดอย่างเป็นหลักการตรรกะมากขึ้น ความเชื่อทางศาสนาเริ่มถูกแทนที่ด้วยแนวคิดยุคใหม่ แต่ก็ยังน่าตื่นเต้น ที่บางศานาและลัทธิ สามารถปรับตัวเข้ากับบริบทที่เปลี่ยนไปของอวกาศได้
เรากำลังพูดถึงพระกลุ่มหนึ่งแห่งสำนักวัด ไดโกจิ วัดเก่าแก่ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีคริตศักราช 1115 ในญี่ปุ่น ที่ทำโครงการสำรวจอวกาศที่ชื่อว่าโกอุนจิ เป็นโครงการสร้างดาวเทียม CubeSat ขนาด 6U ที่มี Payload สำคัญเป็นพระพุทธรูปและภาพเขียนมันดาลา โดยร่วมมือกับบริษัทอวกาศ Terra Space ซึ่งมีสาขาอยู่ที่เกียวโตด้วย โดยตั้งงบตั้งแต่การสร้าง พัฒนา จนถึงการปล่อยไว้อยู่ที่ประมาณ 60 ล้านบาท
2
ภาพจำลองของดาวเทียมที่มีพระประธานอยู่ด้านใน ที่มา – Terra Space
โดยแนวคิดเบื้องหลังของโครงการดังกล่าวก็เกิดจากการที่ทางวัดไดโกจิ เห็นปัญหาว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสได้ไหว้พระได้ทุกที่ สมมติเวลาเกิดภัยพิบัติหรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกลแล้วอยากขอพรก็ไม่รู้จะทำยังไง ก็เลยคิดโครงการว่าเราก็เอาพระพุทธรูปไปไว้บน Low Earth Orbit เอาซะเลย ทีนี้อยู่ที่ไหนบนโลกก็สามารถมองขึ้นไปบนท้องฟ้าและขอพรได้ โดยดูผ่านแอพว่าตอนนี้พระพุทธองค์ทรงโคจรอยู่ที่มุมเงยที่เท่าไหร่ (สรุปก็คือเป็น Starlink สำหรับวงการศาสนานั่นเอง – ฮา)
6
ในบทความที่ทางวัดได้ ให้สัมภาษณ์กับ Japan Times นั้นได้ระบุเอาไว้ว่า ทางวัดมีแผนที่จะทำโครงการอวกาศเพิ่มเติม รวมถึงหารายได้จากการขายสินค้าอย่างการขายเครื่องรางต่าง ๆ เพื่อนำรายได้มาทำนุบำรุงวัดเก่าแก่นับพันปีแห่งนี้ด้วย
2
และถ้าแค่นี้ยังล้ำไม่พอ ทางวัดยังมีโปรแกรมรับขอพร และส่งคำอธิธานผ่านการเก็บแบบ NFT (เชี้ยไรเนี่ย) เพื่อให้คำอธิฐานนั้นไม่ได้แค่ขอลอย ๆ แต่เป็นการขอพรแบบ Decentralize ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ด้วย คือคำอธิฐานของเราจะถูกบันทึกไว้ในทุกคำอธิฐานของคนอื่น
1
ทุกวันนี้เราสามารถสร้างดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นได้เองโดยใช้งบไม่มากนัก ผ่านการ Democratize การเข้าถึงอวกาศ ทำให้เด็ก ๆ มัธยมก็สามารถส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบโลกได้ ในตัวอย่างของไทยก็เช่น การสร้างดาวเทียม BCC-Sat 1 ของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน หรือ โครงการ MESSE ของ Spaceth ที่ส่งเพลงความฝันกับจักรวาลขึ้นสู่อวกาศผ่านการบรรจุลงใน DNA ซึ่งก็นับว่าเป็นจุดตัดระหว่างศิลปะ อวกาศ และดนตรี แต่สำหรับการส่งดาวเทียมของวัดไดโกจินั้น นับว่าเป็นการผนวกรวมครั้งใหม่ โดยนำเอาความเชื่อ ศาสนา ศิลปะ อวกาศ และเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ ทำให้ศาสนามีที่ยืนร่วมกับบริบทโลกปัจจุบัน
2
ยังไม่มีกำหนดว่าทางวัดมีแผนจะส่งดาวเทียมดังกล่าวเมื่อไหร่ แต่ก็นับว่าเป็นหนึ่งในโครงการอวกาศที่น่าติดตามมากที่สุดโครงการนึง โดยสามารถติดตามโครงการได้ผ่านทาง https://www.gounji.space
2
ทั้งนี้ พุทธศาสนานิกายมหายานนั้น ไม่ได้มีความเคร่งเท่ากับนิกายเถรวาทในประเทศไทย เพราะว่าโครงสร้างศาสนาในประเทศไทยนั้นมีความถูกติดกับรัฐเป็นหลัก (ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์) ทำให้การ Decentralize ศาสนาในประเทศไทยนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ (แนะนำให้ดูภาพยนตร์สารคดีเรื่อง เอหิปัสิสโก) เราจึงจะเจอพระมหายานทำอะไรที่เราไม่คุ้นกัน เช่น พระขับรถ พระมีเมีย พระเป็นดีเจ แต่ทั้งนี้เราก็ต้องย้อนกลับมาถามว่าแล้วศาสนาคืออะไร หน้าที่คืออะไร ขอบเขตของคำว่าศาสนาคืออะไร (จะบอกว่ามีศาสดา มีศาสนถาน มีพิธีกรรม ก็ไม่ถูกเพราะตำราเรียนของเราก็เพิ่งเขียนขึ้นมา)
2
สรุปก็คือ หลังจากนี้ เราจะเห็นโครงการข้ามศาสตร์มากขึ้น ซึ่งวัดโกอุนจิ วัดแรกในอวกาศแห่งนี้ ก็น่าจะแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ ความคิดสร้างสรรค์ และการนำศาสนาเข้ามาผูกโยงกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนไปทุกวัน พร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง Space Exploration, Blockchain และอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้น แถมยังเป็นการตอกย้ำว่าศาสตร์ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องถูกติดกับอำนาจโดยรัฐเพียงอย่างเดียว แต่ทุกคนควรมีเสรีภาพในการนิยาม สร้างสรรค์ศาสตร์ต่าง ๆ ตามแบบของตัวเอง
3
เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co
โฆษณา