14 ก.ย. 2021 เวลา 05:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วิกฤติตลาดแรงงานโลก คาดโควิดทำตกงานทะลุ 200 ล้านคน คนรุ่นใหม่เสี่ยงที่สุด
2
🔺ยูเอ็นคาดมีคนว่างงานทะลุ 200 ล้านคนในปี 2565 ตลาดแรงงานต้องใช้เวลาฟื้นตัว วิกฤติครั้งนี้ยังห่างไกลจากจุดจบ กินเวลายาวนานไปอย่างน้อยสองปีซ้ำเติมปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำ
4
🔺ผู้เชี่ยวชาญชี้ผู้หญิง และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ในประเทศรายได้ปานกลางเสี่ยงตกงานมากที่สุด ความหวังคือมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ
3
🔺ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่รัฐบาลทุ่มเงินช่วยเหลือรอด มีผู้ตกงานและประสบกับปัญหาการเงินน้อยกว่าประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง
1
ในหลายประเทศได้มีการเริ่มผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 พร้อมๆ กับการพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนให้อยู่ร่วมกับโรคระบาด ในทางกลับกันธุรกิจหลายแห่งได้ปิดตัวลง เลิกจ้างพนักงาน รวมถึงลดเวลาการทำงาน กระทบความเป็นอยู่ของแรงงานอย่างแสนสาหัส ด้านองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอเอลโอ ระบุว่าวิกฤติแรงงานที่ทั่วโลกต้องพบเจอนั้นยังไม่มีทีว่าว่าจะจบลงง่ายๆ หลังจากที่มีความพยายามแก้ปัญหาแรงงานที่มีรายได้ต่ำมายาวนาน 5 ปี แต่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทำให้ความพยายามต่างๆ ก้าวถอยหลังอีกครั้งจนแทบเรียกได้ว่าต้องกลับไปเริ่มแก้ปัญหากันใหม่ ซึ่งพื้นที่ที่ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบมากที่สุดได้แก่ ภูมิภาพลาตินอเมริกา, แคริบเบียน, ยุโรป และเอเชียกลาง
2
ในกรณีที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้นไม่รุนแรงมากไปกว่าเดิม คาดว่าการฟื้นเริ่มตัวของตลาดแรงงานโลกนั้น คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงท้ายปี 2564 แต่ความไม่เท่าเทียม ซึ่งเกิดจากความเหลื่อมล้ำจากการเข้าถึงวัคซีนต้านโรคโควิด-19 รวมถึงการช่วยเหลือจากรัฐบาลของแต่ละประเทศที่ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศตลาดเกิดใหม่ ที่มีงบประมาณการช่วยเหลือที่จำกัด
1
รายงานจากสำนักงานสถิติของสหรัฐอเมริกา ได้จัดอันดับประเภทงานที่มีผู้ตกงานมากที่สุดในเดือนธันวาคม ปี 2563
พบว่าอันดับที่ 1 ได้แก่ ภาคส่วนงานให้บริการ
เช่น ผับบาร์ และร้านอาหาร
อันดับที่ 2 ได้แก่ ส่วนงานสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมัน โดยพบว่าดีมานด์น้ำมันนั้นลดลงอย่างรวดเร็ว และการทำงานจากที่บ้านได้ทำให้ในหลายพื้นที่มีการเดินทางลดน้อยลง ทำให้บริษัทต้องเลิกจ้างพนักงานบางส่วน
ขณะที่อันดับที่ 3 ได้แก่ กลุ่มงานที่เกี่ยวข้างกับการเดินทางและการคมนาคม
เช่น งานสายการบิน เป็นผลกระทบจากการปิดพรมแดน ทำให้สายการบินต้องประกาศพักงาน หรือเลิกจ้างพนักงาน
1
ผู้หญิงและคนรุ่นใหม่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด
รายงานระบุว่าแรงงานผู้หญิงนั้นได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤติโควิด-19 โดยมีตัวเลขผู้ที่ถูกจ้างงานลดลง 5 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2563 เมื่อเทียบกับ 3.9 เปอร์เซ็นต์ ของแรงงานเพศชาย ขณะที่การล็อกดาวน์นั้นยังทำให้เพศหญิงมีงานในครัวเรือนเพิ่มขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการหวนกลับมาของบทบาททางเพศตามแบบดั้งเดิม ส่วนคนรุ่นใหม่หรือผู้ที่อยู่ในวัยเริ่มทำงาน ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการที่เศรษฐกิจดิ่งลงเหว โดยตัวเลขผู้มีงานทำตกลง 8.7 เปอร์เซ็นต์ โดยพบว่าประเทศที่มีรายได้ปานกลางได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งวิกฤตินี้อาจต้องใช้เวลาแก้ไขเป็นปีๆ และยังพบว่ามาตรการล็อกดาวน์ส่งผลกระทบต่อการหางานของคนรุ่นใหม่ด้วย
นอกจากแรงงานในระบบแล้ว ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบนั้นเป็นอีกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 พบว่ามีแรงงานเพิ่มอีก 108 ล้านรายทั่วโลกที่ถูกจัดว่า 'ยากจน' และ 'ยากจนอย่างมาก' ซึ่งนั่นหมายความว่าแรงงานเหล่านี้และครอบครัวของพวกเขาต้องใช้ชีวิตโดยใช้จ่ายต่ำกว่า 3.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 105 บาทต่อคน
ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่โครงการฉีดวัคซีนในหลายประเทศเริ่มเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่การฟื้นตัวนั้นมีแนวโน้มเป็นไปอย่างไม่เท่าเทียมและเปราะบาง นำไปสู่การคาดการณ์ว่าตลาดแรงงานโลกจะมีผู้ตกงานมากถึง 205 ล้านคนในปี 2565
โครงการช่วยเหลือจากภาครัฐคือความหวัง
วัยรุ่นในประเทศแถบยุโรปเป็นอีกภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ในประเทศที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งอย่างฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร สามารถพยุงสถานการณ์การว่างงานของวัยรุ่นได้ โดยใช้โครงการช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ช่วยเหลือด้านการเงิน เงินกู้ และภาษีต่อธุรกิจต่างๆ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถพยุงธุรกิจและแบกรับค่าแรงของพนักงานได้
ขณะที่ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อื่นๆ ต้องเผชิญกับตัวเลขการว่างงานของวัยหนุ่มสาวในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงแรก แต่มาตรการต่างๆ ของรัฐได้เป็นตัวช่วยกู้สถานการณ์และสามารถควบคุมวิกฤติแรงงานได้ในที่สุด ส่วนประเทศในเอเชียอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ตัวเลขการว่างงานของคนวัยหนุ่มสาวแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่สหรัฐอเมริกาได้ให้เงินช่วยเหลืออย่างเต็มที่จนสามารถแก้สถานการณ์วิกฤติแรงงานได้บางส่วน
ด้านนายกาย ไรเดอร์ ผู้อำนวยการองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ระบุว่า หากไม่มีการสร้างงานและให้การสนับสนุนกลุ่มที่มีความเปราะบางในสังคม และการฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจ ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะยังคงอยู่ไปอีกหลายปีในรูปแบบผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ความยากจน และความไม่เท่าเทียม.
 
ผู้เขียน: นัฐชา กิจโมกข์ (Nattachar K.)
ที่มา: UN, ILO, AARP, BBC, DW
โฆษณา