15 ก.ย. 2021 เวลา 05:12 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก อินดิเคเตอร์ที่รับความนิยมเป็นอย่างมาไม่ว่าจะตลาดใหน ตั้งแต่รายย่อยไปถึงระดับรายใหญ่ นั้นก็คือ Bollinger Band ที่ได้รับความนิยม เนื่องด้วยความสามารถที่ Bollinger Band มีความหลากหลาย และมีความสารพัดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น วัดความผัดผวนของราคา ,วัด overbought oversold , เป็นแนวรับแนวต้าน รวมไปถึงหาจังหวะในการเข้าซื้อได้อีกด้วย วันนี้เราก็จะทำความรู้จัก และความสามารถของ Bollinger Band ไปพร้อมๆ กัน
สูตรการคำนวณ Bollinger Band
สูตรของ Bollinger Band ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบ Moving Average องค์ประกอบ Upper Band และ องค์ประกอบ Lower Band โดยเราจะมาแสดงการคำนวณแยกกัน ดังนี้
Moving Average
สำหรับค่ามาตรฐานของ Bollinger Band คือ 20 ดังนั้น Moving Average ที่เราจะใช้คือ 20 โดยสูตรคือ
เส้น Upper Band และ Lower Band
เส้น Upper Band มันคือ การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือเส้นที่เบี่ยงออกจากศูนย์กลาง ซึ่งถ้าเส้นที่อยู่ตรงกลางของเราคือค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจึงเบี่ยงออกจากค่าเฉลี่ย โดยการคำนวณคือ เราใช้ค่า Standard Deviation โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้
โดยที่ เราจะแยกองค์ประกอบของสูตรออกมาเป็นดังนี้
ผลรวมของ (xi – xbar)2 ก็คือ
Xi = ราคาปิดของแท่งเทียนแต่ละแท่ง
Xbar = ค่าเฉลี่ยของราคาปิด หรือก็คือ เส้น MA นั่นเอง
นี้ก็คือรูปแบบการคำนวณของการกดหนด Bollinger Band หากอยากได้รายละเอียด สามรรถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://thaibrokerforex.com/bollinger-band
การใช้งาน Bollinger Band
1. ใช้วัดความผันผวนของตลาด Bollinger Bands โดยดูความห่างของเส้น Upper Band และ Lower Band
หากสองเส้นมีการถ่างออกจากกันมาก ก็แปลว่าตลาดมีความผันผวนสูง แต่ถ้า 2 เส้นนั้นบีบเข้าหากกัน ก็มีแนวโน้ที่ตลาดก็ไม่มีแรงซื้อแรงขาย หรือตลาดเงียบ หรืออีกนัยยะ คือเป็นรูปแบบ sideway
2.ใช้เป็นแนวรับแนวต้าน
เนื่องทั้ง 3 เส้น เป็นเส้นค่าเฉลียที่วิ่งตามราคา เราสามารถที่กำหนดตำแหน่งของเส้นนั้นเป็นแนวรับแนวต้านได้ ปล. หากใช้เส้น Bollinger Band เป็นแนวรับแนวต้านควรกำหนดให้มีค่าสูงขึ้นมากหน่อยเพือป้องกันความผันผวน หรือใช้งานรวมกับแนวรับแนวต้านจิงๆ เพื่อเพิ่มนัยยะสำคัญให้กับแนวรับแนวต้านจิง
3.ใช้แนวโน้มของเทรน
แนวโน้มขาขึ้น = ลักษณะของราคาจะอยู่บริเวณเส้นขอบบน และไม่ค่อยจะทะลุเส้นขอบกลางลงไปได้
แนวโน้มขาลง = ลักษณะของราคาจะอยู่บริเวณเส้นขอบล่าง และไม่ค่อยจะทะลุเส้นขอบกลางขึ้นไป
แนวโน้มของราคาที่อยู่ในรูปแบบ Sideway = เมื่อราคาเพิ่มขึ้นจนถึงเส้นขอบบน แล้วเกิดการกลับตัวเปลี่ยนจากขึ้นเป็นลง นั้นหมายถึงแนวโน้มราคากำลังจะลง (เป็นสัญญาณขาย) ในทางกลับกัน ราคาที่ลดลงจนชนเส้นกรอบด้านล่าง จากนั้นเกิดการกลับตัว เปลี่ยนจากลงเป็นขึ้น นั้นหมายถึง แนวโน้มราคากำลังจะขึ้น (เป็นสัญญาณซื้อ).
4.ใช้ดู Overbought, Oversold (ซื้อหรือขายมากเกินไป)
กรณีใช้ดูการซื้อหรือขายที่มากเกินไปนั้น ก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงแค่ดูจากเส้น ก็เข้าใจได้โดยง่าย วิธีการดูหรือแปลความหมายคือ เส้นขอบบน (Upper Band) หมายถึงการซื้อที่มากเกินไป เส้นขอบล่าง (Lower Band) หมายถึงการขายที่มากเกินไป ฉะนั้นเส้นขอบกลาง (Middle Band) ก็คือการซื้อหรืขายที่อยู่ในระดับปานกลางหรือเท่าเทียมกัน.
🙏🙏🙏
cr.อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
โฆษณา