16 ก.ย. 2021 เวลา 06:34 • ความคิดเห็น
เปิดโลก "ไอโอ" (IO-Information Operation)
2
Credits photo to www.sanook.com
“ไอโอ” หรือ “ปฏิบัติการข่าวสาร” ถูกนำมาใช้ชิงความได้เปรียบในการทำสงครามในอดีต
2
คอนเซ็ปต์คือ การเผยแพร่ความเชื่อของ “ฝ่ายเรา” ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบ และทำให้เกิดความคิดความเชื่อคล้อยตามความประสงค์ของ “ฝ่ายเรา”
3
ในทางตรงกันข้ามก็ต้องทำการขัดขวางศักยภาพด้านการ “ไอโอ” ของฝ่ายตรงข้ามด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้สามารถเผยแพร่ความเชื่อต่อกลุ่มเป้าหมายของ “ฝ่ายเรา” ได้
2
อ้างอิง: www.bangkokbiznews.com/news/868029 เพื่อการศึกษาเท่านั้น
2
ณ ปัจจุบัน รายการ "เถื่อน Talk" ของคุณวรรณสิงห์ (สิงห์) ประเสริฐกุล ที่หลายคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว ได้ทำการสัมภาษณ์ "IO ตัวจริงเสียงจริง" ซึ่งทางแอดมินท่านหนึ่งได้ทำสรุปไว้บางส่วนจากคลิปรายการเต็ม ซึ่งมีความน่าสนใจมาก ส่วนตัวจึงรู้สึกขอบคุณและอยากนำมาแบ่งปันเพิ่มอีกหนึ่งช่องทางหนึ่ง เพื่อให้ความรู้ได้เผยแพร่กว้างมากยิ่งขึ้น จะเลือกฟังหรืออ่านสรุปบางส่วนตามสะดวกดังนี้
2
Credits photo to https://hilight.kapook.com
อ้างอิง: www.youtube.com/watch?v=VCtnL_XNmPk เพื่อการศึกษาเท่านั้น
2
(1) คุณสิงห์สัมภาษณ์ไอโอที่ทำงานสังกัดหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่ง มีเงินเดือนหลักหมื่น ได้เบี้ยเลี้ยงหลักพัน ก็คล้ายกับคนที่รับราชการทั่วไป โดยลักษณะงานเป็น Content Creator แต่เป็นการทำคอนเทนต์เพื่อตอบโต้
2
(2) เขากล่าวว่ารัฐจะเน้นไปที่เฟซบุ๊ก (Facebook) และทวิตเตอร์ (Twitter) เขาคนเดียวใช้แอคเคานท์เฟซบุ๊ก 50 แอค และทวิตเตอร์อีก 40 แอค ซึ่งบางครั้งเขาต้องคุยกับตัวเองก็มี เช่น ใช้แอคหนึ่งตั้งประเด็น แล้วใช้อีกแอคเข้าไปตอบเพื่อเชิญชวนในคนสนใจ
2
Credits photo to https://ifttt.com
(3) บางแอคที่ไอโอสร้างขึ้นมีลักษณะคล้ายกับคนจริงมาก รูปโปรไฟล์จริง อาจจะเป็นการเอารูปคนอื่นมาใช้ เช่น เป็นรูปของคนในประเทศเพื่อนบ้านซึ่งดูคล้ายคนไทย การโพสต์จะคล้ายคนที่ใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น โพสต์ไปเที่ยว โพสต์ไปทำงาน เวลาเอาแอคนี้ไปตอบโต้จะมีน้ำหนักเสมือนเป็นคนบนโลกของความเป็นจริง
2
(4) เขายอมรับว่ารัฐใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลไปกับไอโอ ทุกหน่วยงานรัฐ กระทรวง ทบวง กรม มีไอโอหมด โดยค่าใช้จ่ายจะอยู่ในส่วนของ 'งบประมาณการใช้สื่อ' ที่ถูกเบิกจ่ายทุกปีงบประมาณ ซึ่งจะเขียนว่า "เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องของหน่วยงาน" บางครั้งไอโอทุกสังกัดปล่อยคอนเทนต์พร้อมกันทีเดียวเป็นพันคอนเทนต์ก็มี
2
(5) การใช้งานไอโอมีทั้งจ้างไอโอเอกชน และจ้างพนักงานราชการหรือข้าราชการในสังกัดมาทำไอโอเอง โดยตั้งเป็นวอร์รูมขึ้น มอนิเตอร์สื่อ เช่น เพจสำนักข่าว เพจใหญ่ที่มีชื่อเสียง และเพจที่ชอบโจมตีรัฐบาล การตอบโต้มีตั้งแต่ระดับให้ข้อมูลไปจนถึงมาตรการตอบโต้รุนแรง รุมสกรัม กดรีพอร์ต จากนั้นจะมีทีมเข้าเวรคอยเช็คฟีดแบกและเก็บข้อมูล
2
(6) การทำงานของเขาในแต่ละวันคือ ตื่นเช้ามาก็ดูว่าวันนี้โซเชียลมีเดียมีประเด็นอะไรบ้าง หรือบางเช้านายจะส่งประเด็นมาให้ดูเอง และบอกว่าอยากได้คอนเทนต์ตอบโต้แบบไหน โดยการทำคอนเทนต์ตอบโต้จะมี 3 ระดับ คือ ดำ เทา ขาว
2
• คอนเทนต์สีดำ เป็นคอนเทนต์ตอบโต้รุนแรง มีความดาร์ก อาจมีการใช้ภาษาหยาบคาย
2
• คอนเทนต์สีเทา ตอบโต้ด้วยการให้ข้อมูล แต่มีการจิกกัดเหน็บแนมด้วย จะไม่ใช้ภาษาราชการหรือภาษาเพราะ มีความเทาเหมือนมนุษย์ทั่วไป
2
• คอนเทนต์สีขาว ตอบโต้ด้วยการให้ความรู้ ให้ข้อมูลที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้รัฐบาลได้
2
(7) เพจที่ต้องมอนิเตอร์และลงไปตอบโต้ตลอด เช่น เพจสำนักข่าวดัง เพจใหญ่ต่าง ๆ เพจนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม และการที่ฝ่ายค้านออกมาแฉเรื่องไอโอก็ไม่มีผลใด ๆ กับพวกเขา เขายังทำงานตามปกติ
2
(8) เมื่อก่อนไอโอจะทำงานเหมือนบอท บางครั้งก๊อปปี้ข้อความไปโพสต์แบบเหมือนกันเป๊ะ แต่ตอนนี้จะแยบยลกว่าเดิมมาก เช่น ท็อปคอมเมนต์ของเพจนี้โจมตีรัฐบาลแรงมาก จะใช้ไอโอที่มีลักษณะเหมือนคนจริงเข้าไปตอบโต้ด้วยข้อมูล อาจมีอารมณ์บ้าง ตอกกลับจิกกัดบ้าง ก็แล้วแต่กลยุทธ์
2
(9) ไอโอจะทำงานกับม็อบเยอะ เพราะม็อบมีตลอด ตัวอย่างการใช้ไอโอกับม็อบ เช่น กรณีมีคนในม็อบขึ้นไปยืนบนตู้คอนเทนเนอร์แล้วทำท่ายืนฉี่ใส่เจ้าหน้าที่ ไอโอจะทำงานด้วยการแคปภาพให้ชัด นำไปแชร์ตามเพจต่าง ๆ พร้อมกับไปสืบว่าเขาเป็นใคร
3
ภาพตัวอย่างจากทวิตเตอร์รายหนึ่ง อาจจะไม่ใช่ "ไอโอ" ก็ได้ แต่มีลักษณะสอดคล้องกับเนื้อหา
(10) คอนเทนต์ที่ทำเกี่ยวกับบุคคลดังกล่าวมี 3 ระดับ คือ ขาว เทา ดำ แล้วนำไปใช้ในแต่ละเพจให้ตรงกลุ่ม เช่น กับเพจนี้เอาความดาร์กเข้าสู้ กับเพจนี้เอาข้อกฎหมายเข้าสู้ ด้วยการเอาบทสัมภาษณ์ของผู้บังคับบัญชาตำรวจควบคุมฝูงชนไปแชร์ว่าทำแบบนี้ผิดข้อกฎหมายข้อไหน กับอีกเพจหนึ่งไปเล่นประเด็นว่าคนนี้เป็นคนต่างด้าว และเล่นเรื่องนี้จนกว่านักข่าวจะหยิบไปทำข่าว
2
(11) เขาบอกว่าวงการไอโอมีมานานกว่า 30-40 ปีแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมามีในรัฐบาลนี้ การทำงานของไอโอที่เด่นชัดที่สุดในยุคก่อนคือเรื่องสถานการณ์ไฟใต้ มีการปล่อยข่าวลือ-ข่าวกรองสารพัด เพื่อให้ไปถึงหูนักข่าว
2
(12) แต่ไอโอทุกวันนี้เติบโตง่ายกว่าเพราะโลกโซเชียลมีเดีย (Social Media) และคนเข้าถึงอินเตอร์เน็ต (Internet) ง่ายขึ้น ย้อนกลับไป 7 ปีก่อนรัฐประหาร ตอนนั้นโซเชียลยังไม่บูมขนาดนี้ ไอโอของพรรคการเมืองบางพรรคก็ยังใช้โซเชียลไม่เก่งเหมือนไอโอยุคนี้ เพราะฉะนั้นไอโอมีมานานแล้ว แค่เปลี่ยนไปตามแพลตฟอร์มของยุคสมัย และต่อให้ผ่านรัฐบาลนี้ไป รัฐบาลหน้าก็มีไอโออยู่ดี แล้วก็ไม่ใช่แค่ประเทศไทย ทุกประเทศก็มีไอโอ
2
(13) เขาบอกว่ารัฐฉลาดกว่าที่เราคิดเยอะ เขารู้หมด แค่เขาจะทำหรือเปล่าเท่านั้น บางทีเขาทำตัวเหมือนโง่ ๆ เขาไม่ได้โง่ แต่เขาแยบยล
2
(14) ทางการเมืองไม่ใช่แค่ฝั่งรัฐบาล ฝ่ายค้านก็มีไอโอเหมือนกัน ลักษณะการทำงานก็ไม่ต่างกัน และบางครั้งไอโอเอกชนก็รับงานทั้งรัฐบาลทั้งฝ่ายค้าน
2
(15) เขายอมรับว่าบางครั้งก็รู้สึกขัดแย้งในใจเหมือนกัน บางอย่างเห็นด้วย บางอย่างไม่เห็นด้วย บางครั้งได้รับมอบหมายให้ทำคอนเทนต์ที่ในใจเขารู้อยู่แล้วว่ามันไม่จริง แต่ก็ต้องเขียนไป มองมันเป็นแค่งานที่รับมาแล้วก็ต้องทำให้เสร็จ ต้องมีความเป็นมืออาชีพ และตัวเขาเองก็มีพื้นที่ส่วนตัวที่บางทีก็โพสต์ด่ารัฐเหมือนกัน
2
ส่วนตัว พอจะสรุปได้ว่าเรื่องของ "ไอโอ" อาจจะไม่แปลกใหม่อะไรต่อจากนี้ไป ประเด็นที่ต้องจับตามอง ถ้าหากฝ่ายไหนได้ขึ้นมาเป็นรัฐบาล จะสามารถบริหารจัดการงบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชนไปในทิศทางใด และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างไร และถ้าหากมีการใช้ข่าวปลอมสร้างความเสียหายขึ้นกับบุคคล กลุ่มคน องค์กร ฝ่ายไหนก็ตาม หรือแม้กระทั่งข่าวปลอมที่มาจากหน่วยงานรัฐเอง กฎหมายจะมีความยุติธรรมเพียงพอในการตัดสินผิดถูกอย่างไร ต้องติดตามกันต่อไป
2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา