18 ก.ย. 2021 เวลา 11:59 • การศึกษา
10 เรื่องน่ารู้ เพราะโลกเราอยู่ในอวกาศ ตอนที่ 4
1 อาหารต้องห้ามสำหรับนักบินอวกาศ
อาหารสำหรับนักบินอวกาศ ที่ปฎิบัติภาระกิจในยานนั้น ถูกออกแบบมาในหลายลักษณะ แต่ทั้งหมดจำเป็นต้องอยู่ในรูปของเปียก ของเหลว หรือลักษณะเป็นก้อน ห้ามเป็นฝุ่นอย่างเด็ดขาด วัตถุดิบที่มีส่วนผสมของเกลือหรือพริกไทย จะไม่สามารถนำขึ้นไปบนยานได้ เนื่องมาจากสภาพไร้น้ำหนัก จะทำให้มันฟุ้งกระจาย ดังนั้น หากมีเกลือหรือพริกไทยบนยาน มันจะถูกเปลี่ยนสภาพให้อยู่ในรูปแบบของเหลว สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาหารในสภาวะไร้น้ำหนัก จะให้รสชาติที่จืดลง นั่นเป็นเหตุผลที่บนยาน มีซอสพริกมากเป็นพิเศษ ส่วนช่้อนและซ่อม จะถูกออกแบบมาให้ติดกับแผ่นแม่เหล็ก เช่นเดียวกับถุงบรรจุอาหาร มันจะมีแถบกาวตีนตุ๊กแกติดอยู่ด้วย
2
2 ดวงอาทิตย์ใหญ่เกินจินตนาการ
เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า ดวงอาทิตย์มีความร้อนระดับที่ยากเกินจะพรรณา และความใหญ่โตของมัน ก็ใหญ่โตจนเราสามารถมองเห็นได้จากบนผิวโลก (แต่ไม่ควรมอง) แม้ว่าระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ จะมีระยะทางไกลโขก็ตาม หากเทียบปริมาตรโลกของเรา กับดวงอาทิตย์ ดาวสีน้ำเงินของเรา จำนวน 1.3 ล้านดวง จะเท่ากับดวงอาทิตย์หนึ่งดวง แต่หากเทียบมวลของดาว ดาวสีน้ำเงินของเรา จำนวน 3.3 แสนดวง จะเท่ากับ ดวงอาทิตย์หนึ่งดวง
3 เชื้อเพลิงจรวด ร้อนกว่าลาวา
ในภาระกิจส่งยานอวกาศขึ้นสู่วงโคจร แน่นอนว่าวิศวะกรจำเป็นต้องพึ่งพาจรวด ที่อัดแน่นด้วยเชื้อเพลิงมหาศาล อุณหภูมิของการเผาไหม้จากเครื่องยนต์ จนกลายเป็นแรงผลัก นำจรวดพ้นจากผิวโลกนั้น มีความร้อนเป็นสองเท่าของลาวาขณะเดือด หรืออีกนัยหนึ่ง มันร้อนถึง 3,315 องศาเซลเซียส ร้อนพอที่จะหลอมก้อนหิน หรือละลายเหล็กได้เลย สำหรับความเร็วของจรวด มีความเร็วกว่า 12 มัค พูดง่าย ๆ ว่ามันเร็วกว่าเสียง 12 เท่านั่นเอง
1
4 แกนโลกร้อนกว่าพื้นผิวดวงอาทิตย์
ภายในใจกลางของโลก มีแกนโลกซึ่งมีลักษณะกลมคล้ายลูกบอลที่ร้อนระอุ แบ่งเป็นแกนโลกชั้นนอกและแกนโลกชั้นใน สำหรับแกนโลกชั้นในนั้น มีความร้อนสูงถึง 6,000 องศาเซลเซียส ความร้อนอันดับรองลงมาคือ พื้นผิวดวงอาทิตย์ 5,500 องศาเซลเซียส และแกนโลกชั้นนอก มีอุณหภูมิ 3,800 องศาเซลเซียส .. รู้หรือไม่ จุดหลอมเหลวของเพชร อยู่ที่ 3,500 องศาเซลเซียส ความร้อนรองลงมาคือ ความร้อนของท่อจรวดที่ใช้ส่งยานอวกาศ 3,300 องศาเซลเซียส จุดเดือดของทองคำคือ 2,900 องศาเซลเซียส จุดเดือดของเหล็กคือ 2,800 องศาเซลเซียส ส่วนจุดหลอมเหลวของเหล็กคือ 1,500 องศาเซลเซียส ลาวาที่ร้อนที่สุด วัดได้ 1,200 องศาเซลเซียส และจุดหลอมเหลวของทองคำคือ 1,000 องศาเซลเซียส ตามลำดับ
5 สมรภูมิบนอวกาศ
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด การแข่งขันด้านอวกาศของสองขั้วมหาอำนาจ อย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียตก็เกิดขึ้น นับจากปี คศ.1957 สหภาพโซเวียต ส่งดาวเทียมดวงแรกสู่วงโคจร ชื่อสปุตนิก 1 ต่อมาปี คศ.1961 สหภาพโวเวียตก็ส่งมนุษย์สู่อวกาศได้สำเร็จ คือ ยูริ กาการิน ในปีเดียวกัน สหรัฐฯ ส่งมนุษย์สู่อวกาศคนแรก ชื่อ อลัน เชปเพิร์ด สองปีต่อมาสหภาพโวเวียตมีนักบินอวกาศหญิงคนแรก ชื่อ วาเลนตีน่า เตเรชโควา ปีคศ.1965 สหภาพโวเวียตประสบความสำเร็จในโครงการท่องอวกาศ กับผู้บัญชาการที่ชื่อ อเล็กซี ลีโอนอฟ หนึ่งปีให้หลัง คศ.1966 สหรัฐฯ ส่งหุ่นยนต์สำรวจลงจอดบนดวงจันทร์สำเร็จ ชื่อยาน ลูน่าร์ 9 ในปี คศ.1968 สหรัฐฯ ก็มีมนุษย์กลุ่มแรกพร้อมยาน อะพอลโล่ 8 โคจรรอบดวงจันทร์ได้สำเร็จ จนสุดท้าย ในปีถัดมา คศ.1969 นีล อาร์มสตรอง และ บัซซ์ ออลดริน ก็ฝากรอยเท้าไว้บนดวงจันทร์ได้สำเร็จ
6 มีสายลับ ในอวกาศ
สายลับในห้วงอวกาศที่แฝงตัวมากับดาวเทียมนั้น มีอยู่มากมายกว่าที่เรารู้ มีรัฐบาลของหลายประเทศ แอบปล่อยดาวเทียมขึ้นไปเพื่อหวังเก็บภาพลับสุดยอด แห่งสุดยอด ยกกำลังสุดยอด จากนั้นทำการเข้ารหัสข้อม้อมูล ชนิดที่ใครหน้าไหน ก็ไม่สามารถถอดมันได้ส่งกลับมายังฐานลับ อย่าหวังที่จะไปตามหาดาวเทียมดวงดังกล่าว เพราะเมื่อไม่ได้ใช้งาน มันจะถูกปิดสัญญาณ ส่วนจะเปิดเมื่อไหร่ อันนี้คงแล้วแต่นายท่าน ในส่วนของภาระกิจปล่อยยาน หรือปฎิบัติการลับ ก็น้อยคนนัก ที่จะล่วงรู้ .. จะให้รู้ได้ไงล่ะ นี่มัน ท้อปซีเคร็ด
1
7 ในดาวฤกษ์ขนาดยักษ์ มีดาวฤกษ์ขนาดเล็ก
ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับดาวฤกษ์ขนาดยักษ์กันก่อน ดาวฤกษ์ขนาดยักษ์ หรือดาวแดง คือดาวฤกษ์ที่กำลังเย็นตัวลง พร้อมกันนั้นมันก็ขยายมวลออกไปเรื่อย ๆ จนกลืนกินดาวบริวาร ดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่โดยรอบจนราบคาบ หากบริเวณนั้น มีดาวนิวตรอน หรือซากของดาวเก่าแก่ ที่มีความหนาแน่นระดับสุด มันจะถูกดูดเข้าสู่ใจกลางของดาวแดง แต่ทว่าด้วยความหนาแน่นของดาวนิวตรอน ดาวแดงจะไม่สามารถทำลายมันลงได้ ส่งผลให้ดาวนิวตรอนเข้าสู่แกนกลาง และรวมร่างกันกลายเป็น วัตถุธอร์น ไซโคฟ ที่น่าทึ่งคือ วัตถุนี้ปล่อยพลังงานและสะสารปริศนาออกสู่ห้วงจักรวาลมากมาย สำหรับชื่อนี้มาจาก ชื่อของนักดาราศาสตร์ผู้นำเสนอการมีอยู่ นั่นคือ คิป ธอร์น และ แอนนา ไซโคฟ
8 รอเวลาพุ่งชน
เรารู้กันดีว่า ในแต่ละวันมีซากอุกกาบาต หรือวัตถุจากห้วงอวกาศพุ่งเข้าสู่โลกมากมาย นับสิบล้านชิ้น แต่อุกกาบาตขนาดเล็ก มักถูกเผาไหม้ จนหมดฤทธิ์ไปในชั้นบรรยากาศ หากมีหลงเหลือมาบ้าง ส่วนมากก็ตกลงสู่ก้นมหาสมุทรเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในทุก ๆ 1,200 ปี จะมีดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่พุ่งเข้าหาโลก นั่นน่าจะสร้างความตื่นเต้นให้ชาวโลกได้ไม่น้อย เรามานับดูดาวเคราะห์น้อย ที่พุ่งเฉียดโลก มากกว่าดวงจันทร์ด้วยซ้ำ
ในปี คศ.1914 ดาวเคราะห์น้อย KJ9 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 500 เมตร, ปี คศ.1925 ดาวเคราะห์น้อย CU11 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 730 เมตร, ปี คศ.1971 ดาวเคราะห์น้อย JE9 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 200 เมตร, ปี คศ.1976 ดาวเคราะห์น้อย UG1 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 150 เมตร, ปี คศ.2002 ดาวเคราะห์น้อย MN ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 73 เมตร, ปี คศ.2011 ดาวเคราะห์น้อย YU55 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 360 เมตร
เปรียบเทียบการชนของดาวเคราะห์น้อย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เมตร หากมันชนโลก อานุภาพทำลายล้าง จะเท่ากับระเบิดปรมาณู 1,000 ลูก
9 ทาสีให้ดาวเคราะห์น้อย
หากใครเคยดูภาพยนต์ พล็อตอุกกาบาตชนโลก ที่ระดมนักวิทยาศาสตร์ มาช่วยกู้วิกฤต เอาดัง ๆ เลยก็เช่น อามาเก็ตดอน ที่ส่งนักบินอวกาศขึ้นไปฝั่งระเบิด บนวัตถุจากอวกาศ เพื่อทำลายมันให้แตกเป็นจุล นั่นก็ไม่ใช่ไอเดียที่แย่ แต่รู้หรือไม่ว่า หากมีดาวเคราะห์น้อย กำลังทะยานเข้าหาโลก เราเพียงแต่ระดมช่างทาสี ขึ้นไปทาสีขาวบนนั้น รังสีจากดวงอาทิตย์ จะกระทบกับวัตุ เกิดเป็นแรงผลักเบา ๆ เรียกกันว่า แรงดันรังสี โดกยมันเกิดขึ้นกับวัตถุ หรือดาวเคราะห์น้อยที่มีโทนขาว เมื่อเวลาผ่านไป แรงผลักเล็กน้อยก็จะค่อย ๆ ทวีกำลังแรงขึ้น จนสามารถผลักมันออกจากวิถีโคจรเดิมได้
1
10 ความคมของฝุ่นบนดวงจันทร์
บนดวงจันทร์ปกคลุมไปด้วยหิน และผุ่นจำนวนมาก ซึ่งฝุ่นเหล่านั้นมีความละเอียดยิ่งกว่าแป้งเสียอีก ถึงจะละเอียดมาก แต่กลับให้ความคมอย่างเหลือเชื่อ จนสามารถสร้างความเสียหายแก่ชุดนักบินอวกาศได้ นักวิทยาศาสตร์พบว่า ฝุ่นบนดวงจันทร์ส่วนหนึ่ง เกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาต และบางส่วนก็แตกละเอียดเป็นเศษเล็กจิ๋ว รู้กันดีว่าบนดวงจันทร์ไม่มีลม ความคมของฝุ่นจึงไม่ถูกพัด ไม่ถูกเกลาเหมือนฝุ่นบนโลก ในทางกลับกัน มันยังเสียดสีกันเองอยู่ตลอดเวลา หลังจากนักบินอวกาศกลับขึ้นยานลูน่าร์ พวกเขาพบว่า รองเท้าของชุดนักบินบางส่วนเสียหายจากฝุ่น และฝุ่นที่ติดมากับชุด ทำให้พวกเขาเป็นไข้ละอองฟางครั้งแรกบนดวงจันทร์ บักบินอวกาศบอกว่า ฝุ่นเหล่านั้นมีรสชาติเหมือนกับดินปืนที่ถูกเผาไหม้
1
อ้างอิง
หนังสือ 100 เรื่องต้องรู้ก่อนโต อวกาศ
กดไลค์ถ้าถูกใจ
แชร์หากเห็นว่ามีประโยชน์
คอมเมนท์เพื่อแนะนำติชม
อัพเดทบทความสนุกแบบรัว ๆได้ที่
***พิมพ์ 1 แทนไอ ใส่ 0 แทนโอ
โฆษณา