21 ก.ย. 2021 เวลา 03:13 • หุ้น & เศรษฐกิจ
หากใครเทรดมาสักพัก และได้ลองศึกษาการใช้งาน Indicator พวกที่วัดความผันผวน เช่น RSI Stochastic ก็จะต้องเจอ Overbought และ Oversold นักเทรดมือใหม่หลายคนก็อาจจะไม้เข้าใจ หรือใช้งานไม่เป็น วันนี้เราจะทำความรู้จักให้มากขึ้นพร้อมวิธีการใช้งาน
ภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought)
ภาวะ “ซื้อมากเกินไป” หรือ Overbought คือ การที่ราคาพุ่งไปสูงมากๆ จนอาจจะไม่มีคนซื้อต่อ เพราะ คนเริ่มรู้สึกว่าหากซื้อที่ราคานั้นตนจะขายของไม่ออกนั่นเอง
ตัวอย่างก็เช่น การซื้อสินค้าแบรนด์เนมรุ่น limited หายากมาขายเก็งกำไร หากเราซื้อตอนเปิดตัวเราอาจจะได้ราคาตั้งต้น ณ ตอนนั้น แต่หากเวลาผ่านไปคนเริ่มหาของชิ้นนั้นได้ยากราคาจึงเพิ่มขึ้น โดยเราอาจจะขายต่อ ณ จุดนั้น แต่ในขณะเดียวกันคนที่ซื้อต่อเราไปหากนำไปขายต่อก็มีแนวโน้มจะไปขายต่อในราคาที่แพงขึ้นเช่นกัน เพราะซื้อมาในราคาที่แพงกว่าบวกกับการที่สินค้าเป็นของหายาก และด้วยราคาที่แพงขึ้นก็อาจจะทำให้ขายได้ยากขึ้นเช่นกัน
ภาวะขายมากเกินไป (Oversold)
ภาวะ “ขายมากเกินไป” หรือ Oversold คือ การที่ราคาลดลงมากๆ หรือมีแรงขายจำนวนมากจนราคาเริ่มถูก จนทำให้ผู้ที่ต้องการซื้ออยากซื้อ หากเปรียบเทียบง่ายๆ ก็เหมือนกับการที่เราแห่เข้าไปซื้อสินค้าอย่างของกิน ของใช้ ในช่วงที่มีโปรโมชั่นหรือการลดราคา มาตุนไว้ใช้ในภายภาคหน้า
สมมุติว่า ราคามีการปรับสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าเขต Overbought ที่หมายถึงซื้อมากจนเกินไปหรือราคาขึ้นมาสูงกว่าความเป็นจริง อาจจะทำให้มีแรงขายเข้ามาปะทะทำให้ราคานั้นอาจจะมีการปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วน Oversold ก็จะตรงข้ามกับ Overbought
ส่วนอินดิเคเตอร์(Indicator) ที่นิยมใช้ในการหา Overbought Oversold
1.RSI Relative Strength Index
-สัญญาณ Overbought เกิดขึ้นเมื่อมีการซื้อมาเกินไป เป็นสัญญาณว่า ราคาจะมีการปรับตัวลง หรือ เป็นจุดขาย โดยการอ่านสัญญาณ Overbought ใน RSI นั้นเกิดขึ้นเมื่อระดับค่า RIS อยู่ที่ระดับ 70 หรือสูงกว่า
-สัญญาณ Oversold เกิดขึ้นเมื่อมีการขายมาเกินไป เป็นสัญญาณว่า ราคาจะมีการปรับตัวขึ้น หรือ เป็นจุดซื้อ โดยการอ่านสัญญาณ Oversold ใน RSI นั้นเกิดขึ้นเมื่อระดับค่า RIS อยู่ที่ระดับ 30 หรือต่ำกว่า
2.Stochastic Oscillator
- Overbought ของตัว Stochastic ก็จะมีลักษณะการ Overbought คล้ายกับการใช้งาน RSI Relative Strength Index คือดู “ปริมาณการซื้อที่มากเกินไป” ของพฤติกรรมราคาช่วงเวลานั้นแต่ต่างกันที่ระดับค่า Overbought ของ RSI จะอยู่ที่ 70 – 100 แต่ Stochastic จะอยู่ที่ระดับ 80 – 100 ซึ่งหมายความว่ามีปริมาณการซื้อ มากเกินไป มีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวลงมาได้สูง
- Oversold ของตัว Stochastic ก็จะมีลักษณะการ Oversold คล้ายกับการใช้งาน RSI Relative Strength Index คือดู “ปริมาณการขายที่มากเกินไป” ของพฤติกรรมราคาช่วงเวลานั้นแต่ต่างกันที่ระดับค่า Oversold ของ RSI จะอยู่ที่ 0 – 30 แต่ Stochastic จะอยู่ที่ระดับ 0 – 20 ซึ่งหมายความว่ามีปริมาณการขาย มากเกินไป มีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นมาได้สูง
3.Bollonger band
Upper Band จะเป็นการแสดงถึงสภาวะการซื้อที่มากเกิน ไป Overbought มีโอกาศที่ราคาจะมีการพักตัวในไม่ช้า
Lower Band จะเป็นการแสดงถึงสภาวะการขายที่มากเกินไป Oversold มีโอกาศที่ราคาจะมีการพักตัวในไม่ช้า
💢💢ปล.ใช้งานร่วมกับแนวรับแนวต้าน เพื่อเพิ่มความนัยยะสำคัญในการเข้ามาขึ้น หรือใช้งานร่วมกันของ อินดิเคเตอร์ 3 ตัว Bollonger band ,Stochastic Oscillator, RSI Relative Strength Index แล้วเกิด Overbought Oversold พร้อมกันก็จะเพิ่มนนัยยะในการเข้ามาขึ้น
cr. อ่านเพิ่มเติม🙏🙏🙏
โฆษณา