23 ก.ย. 2021 เวลา 01:07 • สุขภาพ
ความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จากวัคซีนโควิด พบได้บ่อยแค่ไหน
news-medical.net
หลายรร.กำลังมีจม.ถึงผปค.เรื่องฉีดวัคซีน mRNA ไปเจองานวิจัยนี้เข้าพอดี เป็นผลงานจากทีมวิจัยจาก University of California Davis Sacramento เป็นฉบับก่อนได้รับการตีพิมพ์จากวารสารทางการแพทย์ (ดังนั้นจะยังไม่มีใครตรวจค้นความถูกต้องของข้อมูลทั้งหมด) แต่เป็นข้อมูลที่นำมาจาก CDC ดังนั้นก็น่าจะเชื่อถือได้พอควร
รวบรวมอุบัติการณ์ของกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแยกวิเคราะห์เฉพาะในผู้ป่วยเด็ก อายุระหว่าง 12 - 17 ปีทั้งหมด
พบการเกิดในเด็กชายมากกว่าหญิง
เด็กชาย 232 ราย เด็กหญิง 25 ราย จากจำนวนการฉีด 4,965,939 ราย
รวมทั้งเข็มที่หนึ่งและเข็มที่สอง โดยจะเกิดอาการมากที่สุดในสัปดาห์แรกหลังได้รับวัคซีนครบ ส่วนน้อยที่เกิดอาการหลังจาก 7 ถึง 28 วันหลังได้รับวัคซีน
วิเคราะห์ แยกเพศและช่วงอายุ รายงานอุบัติการณ์พบดังนี้
1
# หลังฉีดเข็ม 1
- เด็กชายอายุ 12 ถึง 15 ปี พบ 12 รายต่อการได้รับวัคซีนเข็มที่หนึ่ง 1,000,000 ราย
- เด็กหญิงอายุ 12 ถึง 15 ปี พบ 0 รายต่อการได้รับวัคซีนเข็มที่หนึ่ง 1,000,000 ราย
- เด็กชายอายุ 16 ถึง 17 ปี พบ 12 รายต่อการได้รับวัคซีนเข็มที่หนึ่ง 1,000,000 ราย
- เด็กหญิงอายุ 16 ถึง 17 ปีพบ 2 รายต่อการ ได้รับวัคซีนเข็มที่หนึ่ง 1,000,000 ราย
# หลังฉีดเข็ม 2
- เด็กผู้ชายอายุ 12 ถึง 15 ปีพบ 162.2 รายต่อการได้รับวัคซีนเข็มที่สอง 1,000,000 ราย
- เด็กผู้หญิงอายุ 12 ถึง 15 ปีพบ 13 รายต่อการได้รับวัคซีนเข็มที่สอง 1,000,000 ราย
- เด็กชายอายุ 16 ถึง 17 ปี พบ 94 รายต่อการได้รับวัคซีนเข็มที่สอง 1,000,000 ราย
- เด็กหญิงอายุ 16 ถึง 17 ปีพบ 13.4 รายต่อการได้รับวัคซีนเข็มที่สอง 1,000,000 ราย
นอกจากนี้การศึกษาได้ทำการเปรียบเทียบอุบัติการณ์ของกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบกับการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็กโรคโควิด-19 ในอายุเดียวกันพบว่าอุบัติการณ์ของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็กชายอายุ 12 ถึง 15 ปีและ 16 ถึง 17 ปีมีค่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่เป็นโรค โควิด-19 และไม่มีโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล (แต่ตปท ไม่ได้ admit ทุกรายเหมือนบ้านเรา)
สรุปผลการวิจัยคือพบ
- ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
- เด็กอายุ 12 ถึง 15 ปีพบมากกว่าอายุ 16 ถึง 17 ปี และพบในเข็มที่สองมากกว่าเข็มแรก โดยพบประมาณ 0.16%
1
มีการอ้างอิงถึงการศึกษาของอาการผู้ป่วยที่เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังจากการได้รับวัคซีน 15 ราย
พบว่าส่วนมากอาการไม่รุนแรง
- 1/15 พบความผิดปกติของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- 4ใน 15 รายพบว่ายังมีความผิดปกติหรือยังมีอาการอยู่หลังจากออกจากโรงพยาบาล
ส่วนสาเหตุนั้นยังไม่ชัดเจน ว่าเป็นจากอะไร กลไกอะไร ต้องทำการศึกษาต่อไป
ซึ่งข้อมูลข้่างบนคือข้อเท็จจริง ของวัคซีน mRNA ในเด็ก ส่วนจะฉีดหรือไม่ ก็ขึ้นการการชั่งความเสี่ยงกันอีกที
โฆษณา