23 ก.ย. 2021 เวลา 13:22 • ธุรกิจ
‘SCBX’ กับปรากฏการณ์ Big Transform สั่นสะเทือนทั้งวงการ Bank และ Non-Bank
3
เย็นวานนี้ (22 กันยายน) SCB ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรและจัดตั้งบริษัท Holding SCBX ผ่านการโอนย้ายธุรกิจจาก SCB ให้อยู่ภายใต้ SCBX จำนวน 9 บริษัท (Card X, SCB Securities, SCB 10X, SCB Abacus, MONIX, Purple Ventures, Digital Ventures, SCB Tech X และ Token X) และจัดตั้งบริษัทใหม่จำนวน 5 บริษัท (Auto X, Alpha X, CPG-SCB VC Fund, AISCB JV และ Data X) เพื่อพัฒนาองค์กรให้อยู่ในรูปแบบ Financial Technology Group
2
เพื่อการเปลี่ยนผ่านธุรกิจลุล่วง คณะกรรมการเตรียมเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเดือน พฤศจิกายนนี้ เพื่อพิจารณาจัดตั้งบริษัท SCBX (ปัจจุบันใช้ชื่อเป็น SCB Holding) หากผ่านมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทจะ Share Swap หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิของ SCB เดิม กับหุ้นสามัญของ SCBX ในอัตรา 1:1 (โดยต้องมีจำนวนหุ้นที่มีผู้แสดงเจตนาทา Share Swap มากกว่า 90%) และ SCBX จะเข้ามาเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแทน SCB เดิม (แต่ยังใช้ชื่อย่อว่า SCB เช่นเดิม)
3
จากนั้น SCBX จะกลายเป็น Holding Company ที่บริหารจัดการเงินลงทุนของกลุ่ม และธนาคาร SCB เดิมจะกลายเป็นบริษัทย่อยภายใต้ SCBX แทน ขณะเดียวกัน ธนาคาร SCB จะโอนธุรกิจสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งมีขนาดสินทรัพย์สุทธิราว 1 แสนล้านบาท ให้กับบริษัทลูกของ SCBX ชื่อว่า Card X
3
นอกจากนี้จะพิจารณาจ่ายปันผลระหว่างกาลรอบพิเศษจำนวนกว่า 7 หมื่นล้านบาทให้กับ SCBX ซึ่งสัดส่วนมากกว่า 70% จะถูกใช้เป็นเงินทุนสำหรับลงทุนในธุรกิจย่อยอื่นๆ ที่จะทยอยขยายธุรกิจมากขึ้นตามลำดับ และส่วนที่เหลือจำนวนหนึ่งจะถูกเก็บไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และจะพิจารณาจ่ายให้กับผู้ถือหุ้น SCBX ในช่วงกลางปี 2565
2
ธุรกิจ ‘ลีสซิ่ง-บัตรเครดิต’ เป้าถูก Disrupt
ฝ่ายวิจัย บล.เคทีบีเอสที ระบุว่า การปรับโครงสร้างของ SCB จะเป็นลบเล็กน้อยต่อผู้ประกอบการสินเชื่อกลุ่มการเงิน (Finance) โดยบริษัทย่อยของ SCBX ที่จะกระทบผู้ประกอบการ Finance ได้แก่
1.Card X ที่ได้แยกธุรกิจสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลจากธนาคารกระทบต่อ AEONTS และ KTC
2.Auto X จากการเริ่มดำเนินธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ โดยเบื้องต้นคาดว่า Auto X จะเน้นการปล่อยสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์และรถยนต์ที่ SCB มีความเชี่ยวชาญเดิม กระทบต่อ MTC, AMANAH, TIDLOR และ SAWAD
3.Alpha X ที่ได้ร่วมมือตั้งเป็น JV กับบริษัท มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด สำหรับการให้สินเชื่อเช่าซื้อรถ Supercar และ Big Bike กระทบ THANI
6
ในระยะสั้น ทุกๆ สินเชื่อที่ได้รับผลกระทบที่ลดลง -1% จะกระทบต่อกำไรสุทธิปี 2565 จากมากไปน้อย ได้แก่ AEONTS, MTC, AMANAH, TIDLOR, KTC, SAWAD และ THANI
2
ทั้งนี้ ผลประกบเชิงลบดังกล่าวสะท้อนสู่ราคาหุ้นกลุ่มลีสซิ่งและบัตรเครดิตในทันทีที่ตลาดเปิดการซื้อขายในวันนี้ (23 กันยายน) โดยราคาหุ้นปรับตัวลดลงยกกลุ่มทั้ง SAWAD และ MTC รวมถึง TIDLOR ที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ IPO (36.50 บาท) อีกครั้ง
2
ส่วนในระยะยาวยังต้องติดตามแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ Card X, Auto X และ Alpha X ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของกลุ่ม Finance ในด้านต้นทุนการกู้ยืมที่ต่ำ นโยบายการแข่งขันด้านราคา และช่องทางการหาลูกค้า
3
SCB ปลดล็อกมูลค่าผ่าน 3 เป้าหมายสำคัญ
กรกช เสวตร์ครุตมัต ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ Financial Technology เป็นการปลดล็อกมูลค่าครั้งใหญ่ของ SCB และเพิ่มความยืดหยุ่นของฐานทุน รวมถึงช่วยขยายน่านน้ำในการทำธุรกิจ
3
โดยเป้าหมายสำคัญในระยะสั้นที่ได้ฟังจากคณะผู้บริหาร SCB ประกอบด้วย
2
1.การขยายฐานลูกค้าสู่ตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้น จากเดิมให้บริการอยู่ 16 ล้านราย จะเพิ่มเป็น 200 ล้านรายผ่านการจับมือกับพันธมิตร (Partnership Model) ซึ่งเริ่มเห็นความเคลื่อนไหวตั้งแต่เมื่อ 2-3 วันที่แล้ว ที่ SCB แจ้งเรื่องการจับมือกับพันธมิตรรายใหญ่คือ ADVANC และเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CPG
2.เป้าหมายในเชิงมูลค่า โดย SCB ตั้งเป้ามาร์เก็ตแคปใน 5 ปีข้างหน้าเพิ่มเป็น 1 ล้านล้านบาท ผ่านการแยกหน่วยธุรกิจที่น่าจะเป็นยูนิคอร์น และนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าให้แก่ SCB เป็นอย่างมาก
3.เป้าหมายโครงสร้างกำไรที่จะมี Growth Potential มากขึ้น โดยปัจจุบัน สัดส่วนกำไรของ SCB นั้น 90% มาจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และใน 5 ปีจากนี้ สัดส่วนกำไรจาก Growth Business ต่างๆ จะเพิ่มขึ้นเป็น 1ใน 3 (ราว 35%)
3
“เราชื่นชอบหุ้น SCB มากขึ้นจากการปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งนี้ เพราะช่วยให้เกิดความสะดวกในการบริหารจัดการ จากเดิมธุรกิจอื่นๆ ที่ SCB ลงทุนถูกครอบด้วยความเป็นแบงก์ แต่เมื่อปรับโครงสร้างเป็น Financial Technology ความยืดหยุ่นต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย และคู่แข่งของ SCB ก็เปลี่ยนหน้าตาไปด้วยเช่นกัน จากที่แข่งกับแบงก์ดั้งเดิม ก็จะขยายน่านน้ำไปแข่งขันกับ Tech Company แทน”
6
ความเสี่ยง ‘ตั้งสำรอง’ ลดลง
กรกชกล่าวเพิ่มว่า การขยับฐานะจากแบงก์ดั้งเดิมเป็น Financial Technology ทำให้ฐานทุนคล่องตัวมากขึ้น โดยในอนาคต SCB จะไม่ต้องกังวลเรื่องตั้งสำรองมากนัก และสามารถผันเงินทุนที่มีไปสู่ธุรกิจที่มี Growth Potential ซึ่งเป็นธุรกิจที่สร้างผลตอบแทนได้เร็วและคล่องตัวมากกว่า ซึ่งผลลัพธ์จะสะท้อนสู่อัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE: Return on Equity) ระยะยาว โดยมองว่า เป้าหมายของผู้บริหาร SCB ที่ตั้งเป้า ROE ที่ 15% ใน 5 ปีข้างหน้า มีความเป็นไปได้สูงมาก
1
นอกจากนี้แนวโน้มราคาหุ้น SCB มีโอกาสที่จะซื้อขายด้วยอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชี (PBV: Price per Book Value) ที่สูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ ภายหลังจากขยับชั้นขึ้นเป็น Financial Technology แล้ว
1
การเปลี่ยนผ่านโครงสร้างธุรกิจของ SCB จะกระตุ้นให้แบงก์อื่นๆ มีการปรับตัวตามไปด้วย แต่จะออกมาในรูปแบบใดบ้าง ยังคงต้องติดตามกันต่อไป ทั้งนี้ มองว่าอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ของไทยมีการแข่งขันกันน้อย แม้ที่ผ่านมาจะมีการขยายธุรกิจไปสู่ดิจิทัลบ้าง แต่ก็เป็นการลงทุนเพื่อขยายช่องทาง (Channel) และยังอยู่ภายใต้ร่มแบงก์เหมือนเดิม ความคล่องตัวจึงไม่เกิดขึ้น แต่การขยับของ SCB สามารถคาดหวังได้ว่าจะทำให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลง
2
“กรณีแบงก์ที่มีการปรับโครงสร้างธุรกิจก่อนหน้านี้ก็คือ ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งก็ทำให้มูลค่าของทิสโก้ฯ เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว แต่ในตอนนั้นทิสโก้ฯ ยังไม่ได้ขยายไปสู่ฟินเทคมากนัก จึงน่าจะคาดหวังกับ SCB ได้มากกว่า” กรกชกล่าว
2
มอง ‘กลุ่มแบงก์’ เร่งปรับตัว – KBANK ตัวเต็ง
ภาดล วรรณรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านโครงสร้างของ SCB ครั้งนี้น่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมแบงก์ของไทย และประเมินว่าธนาคารกสิกรไทย (KBANK) น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เป็นแบงก์ถัดไป
สิ่งที่ SCB ประกาศ ทำให้นักลงทุนต้องพิจารณาภาพใหม่ของ SCB จากเดิมที่เป็นธนาคารหนึ่งที่มีธุรกิจอื่นๆ อยู่ใต้ร่มธนาคาร ทำให้ถูกครอบด้วยข้อกำหนดและกฎเกณฑ์ต่างๆ ของธุรกิจธนาคารที่ค่อนข้างรัดกุมและมีความยืดหยุ่นน้อย ผลลัพธ์คือ เงินลงทุนในธุรกิจอื่นๆ สร้างการเติบโตได้ช้า ขณะที่ธุรกิจแบงก์ดั้งเดิมก็โตช้าเช่นกัน
1
ขณะที่ SCB ภาพใหม่คือ Financial Technology หรือฟินเทค ที่มีองค์ประกอบของธนาคารเพียงส่วนเดียว ซึ่งแตกต่างจากภาพเดิมอย่างมาก
“สิ่งที่เคยอยู่ใต้แบงก์และโตไม่ได้เพราะติดข้อจำกัดและกฎระเบียบต่างๆ ของแบงก์ พอประกาศปรับโครงสร้าง SCB ก็คือฟินเทคที่มีแบงก์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะมีธุรกิจ Cash Cow อย่างประกัน, เวลท์, SCBAM ซึ่งเป็นธุรกิจที่อิ่มตัวแล้วคอยสร้างกระแสเงินสดให้ ส่วนธุรกิจใหม่ๆ จะออกไปสร้างการเติบโตด้วยโครงสร้างธุรกิจที่เป็น Light Asset หรือ Asset น้อย ซึ่งโดยหลักแล้ว เมื่อธุรกิจใหม่ๆ เติบโต ROE จะเพิ่มขึ้นเร็ว อีกทั้งธุรกิจใหม่ของ SCB ล้วนเป็นธุรกิจแห่งอนาคตเกือบทั้งหมด”
1
สปอตไลต์กองทุนไทย-ต่างประเทศส่องเพิ่ม
นอกจากนี้ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ สถาบันในประเทศและต่างประเทศล้วนอยากลงทุนในหุ้นฟินเทค ซึ่งในตลาดหุ้นไทยตอนนี้ยังมีแต่หุ้นฟินเทคครึ่งๆ กลางๆ แต่เมื่อ SCB ปรับเป็นฟินเทคเต็มตัวและด้วยกิจการขนาดใหญ่ นั่นหมายความว่า SCB จะเป็นเป้าหมายลงทุนของนักลงทุนสถาบันเพิ่มขึ้นอีกด้วย
1
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินเป้าหมายกำไรของ SCB ได้ เพราะยังต้องติดตามธุรกิจใหม่ๆ ว่าจะสร้างกำไรคืนกลับมาช้าหรือเร็วแค่ไหน แต่มุมมองต่อหุ้น SCB นั้นเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน
“บางครั้งกำไรเป็นแค่สิ่งที่ตามมา แต่ Growth Potential มีค่ามากกว่า สำหรับราคาหุ้นนั้น ตอนนี้หุ้นกลุ่มแบงก์ซื้อขายที่ระดับราคาต่ำกว่า P/VB แต่ธุรกิจฟินเทคนั้นมองว่าควรจะซื้อขายสูงกว่า P/VB ฉะนั้นหากมอง SCB ภายใต้ยานแม่ใหม่ ราคาหุ้นก็ไม่ควรจะต่ำกว่ามูลค่าหุ้นทางบัญชีต่อหุ้นที่ตอนนี้อยู่ที่ 124 บาท”
1
เรื่อง: ศนิชา ละครพล
โฆษณา