28 ก.ย. 2021 เวลา 04:10 • ความคิดเห็น
กะหรี่,แกงกะหรี่,กะหรี่ปั๊บ
กะหรี่เหมือนกัน แต่ที่มาไม่เหมือนกัน
บางอันเกี่ยวกัน บางอันก็ไม่เกี่ยวกัน
เอ่ยคำว่า"กะหรี่"โดด ๆ ใครฟังแล้วสะดุ้งโหยง เพราะดูเป็นคำที่รุนแรง หากหญิงใดโดนเรียกเข้ากับตัว
ความหมายของคำว่ากะหรี่
ก็เข้าใจตรงกันได้ว่าหมายถึงโสเภณีหรือหญิงขายตัว
แต่เมื่อคำว่ากะหรี่มีแกงนำหน้า กลายเป็นแกงกะหรี่ ค่อยดูดีมีรสชาติขึ้นมาหน่อย
แกงกะหรี่คือ แกงรสร้อนแรงที่มีส่วนผสมของเครื่องเทศสีเหลืองเข้ม เป็นสูตรอาหารที่มีต้นทางมาจากอินเดีย ดินแดนของชาวชาวภารตะ
2
และหากต่อท้ายกะหรี่ด้วยคำว่าปั๊บ กลายเป็น กะหรี่ปั๊บ ฟังดูยิ่งน่าอร่อยเข้าไปอีก
กะหรี่ปั๊บคือขนมไทยประยุกต์ที่ทานเล่นกับเครื่องดื่มช่วงเวลาอาหารว่าง รู้จักกันดีในฐานะของฝากขึ้นชื่อแห่งเมืองสระบุรี
...
อันว่ากะหรี่ แกงกะหรี่ กะหรี่ปั๊บ
ทุกคำต่างมีกะหรี่เหมือนกัน
แต่ทราบหรือไม่ว่า ที่มาของแต่ละกะหรี่นั้นต่างกัน....
1
...
1
ขอเริ่มต้นกันที่ แกงกะหรี่ ก่อน
แกงกะหรี่ เป็นคำที่คนไทยใช้ทับศัพท์มากจากคำว่า Curry ในภาษาอังกฤษอีกที
1
ส่วน Curry ในภาษาอังกฤษ บ้างก็ว่ามีรากศัพท์มาจากคำว่า Kari ในภาษาเปอร์เซียน บ้างก็ว่ามาจากคำว่า Khari ในภาษาทมิฬ
Kari หรือ Khari ออกเสียงว่า คารี หมายถึงเครื่องแกงที่มีส่วนผสมของลูกผักชี เม็ดยี่หร่า ขมิ้นและลูกซัดเป็นหลัก
เหตุที่คนอินเดียนิยมกินแกงกะหรี่ ก็เพื่อให้ฤทธิ์ร้อนแรงของเครื่องเทศช่วยขับเหงื่อในร่างกาย ทำให้รู้สึกสบายตัวมากขึ้น
..
ส่วนกะหรี่ปั๊บนั้น เป็นขนมโบราณที่สันนิษฐานว่า เริ่มคิดค้นโดยท้าวทองกีบม้า ภริยาของท่านเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ข้าราชสำนักชาวกรีกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ท้าวทองกีบม้าได้นำเอาวิธีการทำขนมของชาวโปรตุเกสที่เรียกว่า ปัสแตล มาประยุกต์เข้ากับผงกะหรี่แบบอินเดีย เดิมทีจึงเรียกขนมชนิดนี้ว่า Curry Puff เคอรี่ พัฟ
จากที่เคยเรียก เคอรี่ พัฟ เคอรี่ พัฟ นานวันเข้าก็เพี้ยนเปลี่ยนเป็นกะหรี่ปั๊บในที่สุด
..
มาถึงคำสุดท้ายคือคำว่า
กะหรี่ เฉย ๆ
คำว่ากะหรี่ที่แปลว่าหญิงโสเภณีนี้ หลายคนก็เข้าใจไปว่า คงมาจากการเปรียบเทียบว่าหญิงอาชีพนี้มีความร้อนแรงเช่นเดียวกับผงแกงกะหรี่
มิได้ครับ กะหรี่กับผงกะหรี่ มิได้เกี่ยวพันกันเลย..😌☝️
เรื่องนี้ ได้รับคำอธิบายจากข้อสันนิษฐานของอาจารย์จำนงค์ ทองประเสิรฐ ราชบัณฑิต
ท่านว่าคำว่ากะหรี่ น่าจะแปลงมาจากคำว่า ช็อคการี ที่เพี้ยนมาจากคำว่า โฉกกฬี (Chokari)ในภาษาฮินดีอีกทีนึง
2
ในภาษาฮินดี เขาจะเรียกเด็กผู้ชายว่าโฉกกฬา(Chokara)
และเรียกเด็กผู้หญิงว่าโฉกกฬี (Chokari)
อ้าว!! แล้วทำไมถึงต้องเรียกโสเภณีว่าโฉกกฬี ที่แปลว่าเด็กผู้หญิง ด้วยเล่า?
1
เหตุที่ใช้คำแทนความหมายของโสเภณีเป็นคำเดียวกับคำเรียกเด็กผู้หญิง เรื่องนี้ หากประมาณดูก็คงเหมือนกับการที่บรรดาอาเสี่ยบ้านเราชอบเรียกสาว ๆ อาชีพหญิงขายบริการทั้งหลายว่า"อีหนู"นั่นแหละครับ คุณผู้อ่านทั้งหลายเอ๋ย.....😁
..
เกร็ดความรู้ท้ายบทความ:
ฝรั่งใช้คำว่า Curry แทนความหมายของเครื่องแกงทุกชนิด
ซึ่งต่างจากรากศัพท์เดิมของอินเดียที่คำว่า Kari จะหมายถึงเฉพาะเครื่องแกงกะหรี่เท่านั้น
..
ติดตามอ่านบทความได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา