Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InfoStory
•
ติดตาม
29 ต.ค. 2021 เวลา 05:19 • ไลฟ์สไตล์
ชวนรู้จัก "หอยนางรม (Oyster)" สายพันธุ์ที่น่าสนใจ รอบโลก
หอยนางรม หรือ หอยอีรม หนึ่งในอาหารทะเลที่ถูกนิยมบริโภคกันทั่วโลก
หอยนางรม หอยทะเลกาบสอง 2 ฝา มีกาบหนาแข็ง ซึ่งฝาทั้งสองมีขนาดไม่เท่ากันที่มีกล้ามเนื้อยึดเปลือก (adductor muscle) เพียงอันเดียวเท่านั้น
บางสายพันธุ์ก็เนื้อแน่นเยอะ ละมุนลิ้น
บางสายพันธุ์ก็เนื้อไม่เยอะไม่แน่น แต่มีความเข้มข้นครบรส
อย่างไรก็ดี ในส่วนของรสชาติที่แน่นอนของหอยนางรม เช่น รสชาติความเค็ม ก็จะต้องขึ้นอยู่กับน้ำทะเลที่ใช้การเลี้ยง ถิ่นที่ทำการเพาะพันธุ์ อีกด้วยเช่นกัน
ถ้าอย่างนั้น วันนี้พวกเรา InfoStory ขอพาเพื่อน ๆ ไปส่อง "หอยนางรม (Oyster)" สายพันธุ์ที่น่าสนใจ รอบโลก
ต้องบอกว่า ตอนที่นั่งทำก็พยายามเลือกสายพันธุ์กันตาแฉะเลย
ใจหนึ่งก็อยากจะยัด หอยนางรมยอดนิยมเป็นสิบกว่าสายพันธุ์เข้ามา
แต่แบบนั้น ก็คงจะอัดกันมากจนเกินไป
เอาเป็นว่า พวกเราก็หยิบยกตัวอย่างสายพันธุ์ยอดนิยม มาสัก 5 ชนิด ละกันนะ
ไปดูกันเลย !
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากอ่านเรื่องราวต่อ ก็ขอเชิญทางนี้ได้เลยจ้า
จะว่าไปแล้ว เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่า เจ้าหอยนางรมที่พวกเราทานกันอยู่ มีวิวัฒนาการมายาวนานมากถึง 500 ล้านปีเลยทีเดียวละ
แต่ในสมัยนั้น หอยนางรม หรือ หอยที่เปลือกกาบ 2 ฝา ตามบันทึกในร่องรอยประวัติศาสตร์ มีขนาดที่ใหญ่มากเกือบ 1 เมตร มีน้ำหนักมากเกือบ 10 กิโลกรัม เลยทีเดียว
(จินตนาการไม่ออกเลยว่า ถ้าในปัจจุบันมีหอยนางรมที่ใหญ่ขนาดนี้ จะเป็นอย่างไร… หรือว่าอาจจะมีอยู่เพียงแต่เราไม่รู้กันนะ)
ในสมัยนั้น หอยนางรม หรือ หอยมีเปลือกต่าง ๆ ที่มีขนาดใหญ่และหนักมากขนาดนั้น แล้วมนุษย์เขาจะทานกันอย่างไรละ ?
เรื่องนี้ก็ตอบได้ไม่ยาก เพราะมีร่องรอยทางโบราณคดีจากฟอสซิลของหอยโบราณ
ว่ามนุษย์เนี่ย ไม่มีแรงเปิดอย่างแน่นอน จึงต้องใช้ไฟเผา เพื่อให้ปากหอย ค่อย ๆ เริ่มเปิด นั่นเอง
(แต่อร่อย ๆ ไม่อร่อยก็คงเป็นอีกเรื่อง)
แต่ถ้าในสมัยนี้ ถ้าเราจุดไฟเผาเพื่อให้เปลือกหอยนางรมเปิดออกเนี่ย ก็คงกลายเป็นเรื่องที่อาจดูแปลกไม่น้อย...
เพราะจะถูกมองว่า เป็นการทำให้เสน่ห์ของหอยนางรมหายไป
การจัดทำหอยนางรมในอังกฤษช่วงสมัยศตวรรษที่ 19
ว่าแต่ว่า ทำไมคนถึงชอบทานหอยนางรมดิบ ?
ทั้งที่เวลาเราทานอาหารประเภทอื่น หรือ หอยประเภทอื่น ๆ เราก็มักจะทานแบบสุก ๆ หรือ อย่างน้อยผ่านการลวกน้ำมาก่อน
(ที่อาจยกเว้นหอยแครง ที่บางคนอาจชอบทานดิบ แต่เราว่ามันแอบแกะยากนะ ถ้าพ่อครัวไม่ได้แกะมาให้ก่อน หรือว่าเราอาจจะแกะไม่เก่งเอง แห่ะๆ..)
โอเคกลับมาตอบคำถาม ว่าทำไมคนถึงชอบกินหอยนางรมดิบ
จริง ๆ ต้องใช้คำว่า ทำไมหอยนางรมดิบถึงมีความอร่อยที่มากกว่าจะดีกว่า
คือมันหยั่งงี้ โดยปกติอาหารให้สุก จะทำให้รสชาติอาหารดีขึ้น
ดีขึ้นได้ ก็เพราะว่า โปรตีนในอาหารที่แตกตัวเป็นหน่วยย่อยๆ ซึ่งก็คือกรดอะมิโน ซึ่งสามารถกระตุ้นต่อมรับรสของเรา รับรู้ถึงความอร่อย (แบบอูมามิ)
รวมถึงการที่เราสามารถรับรสหวานจากแป้งที่แตกตัวเป็นน้ำตาล ที่ทำให้สัมผัสของอาหารเนี่ย นุ่มนวลมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ดี เทคนิคการใช้ความร้อนจนทำให้อาหารสุกและมีรสชาติดีดีแบบนี้ กลับใช้ไม่ได้ผลกับหอยนางรม...
(รวมถึงหอยประเภทอื่น ๆ เพียงแต่อาจไม่นิยมทานดิบ เท่าหอยนางรม)
นั่นก็เพราะ หอยมีกรดอะมิโน “กลูตาเมต” ซึ่งเป็นกรดอมนิโนที่หอยทำการผลิต ออกมาสำหรับการป้องกันตัวมันเอง จากการเสียน้ำในการอาศัยอยู่ในน้ำเค็ม
ซึ่งเจ้า กลูตาเมตนี้ละ คือจุดที่ทำให้เกิดรสชาติอร่อย (คล้าย ๆ รสอูมามิจากผงชูรส)
และ การทำให้สุกนั้น ก็จะเท่ากับการทำให้ กลูตาเมตที่ทำให้เกิดรสอร่อย ไปจับกับโปรตีนในกล้ามเนื้อของหอย จนกลายเป็นทำให้เราไม่ได้รสอร่อย ไปซะอย่างนั้น
และถ้าเราเผลอให้ความร้อนกับหอยไปแล้ว แต่ก็อยากลิ้มรสอร่อย ๆ ก็คงจะต้องทำให้มันสุกมาก ๆ ไปเลย
อีกทั้งหอยนางรมดิบที่เพิ่งแกะออกมารับประทานเนี่ย
ก็จะมีกลิ่นของน้ำทะเล ที่เป็นแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ของหอยนางรมแต่ละสายพันธุ์ ที่เพิ่มทั้งรสชาติและอรรถรสของการทาน รวมถึงความเข้ากันอย่างดีกับน้ำซอส และการบีบมะนาวลงไป
แต่จะว่าไป หอยนางรมที่ทานแบบสุก ๆ ก็เป็นที่นิยมในบ้านเราเหมือนกันนะ
เช่น เมนูหอยทอด ออส่วน
เพียงแต่ว่าขนาดของเจ้าหอยนางรม จะหดเล็กลงเอาไปมาก สุกมากเกินไปก็อาจจะเหนียวแข็ง แล้วก็อาจไม่มีกลิ่นน้ำทะเล อันเป็นเสน่ห์ไป…
อย่างไรก็ดี ในบางคนที่ทานหอยนางรมดิบแล้ว มีอาการท้องเสียหนัก หรือ บางคนถึงขั้นอาเจียนออกมาก็มี
นั่นก็เป็นเพราะหอยนางรมสดแทบจะทุกตัวจะมีเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า “วิบริโอ (Vibrio)” ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียนได้ ภายใน 12-24 ชั่วโมง
แต่อันที่จริงแล้วนะเพื่อน ๆ แบคทีเรียที่ชื่อว่า วิบริโอ (Vibrio) เนี่ย มันก็มีอยู่ในหอยดิบทุก ๆ ตัวนี้ละ
คือทานดิบ อย่างไรก็อาจพบเจอได้อยู่ดี
และถ้าเราจะท้องเสีย ก็คงจะไม่ใช่เรื่องแปลก...
เป็นอันจบเรื่องราวสาระเบา ๆ กับหอยนางรมไป
หวังว่าเพื่อน ๆ จะรับประทานกันอย่างมีความสุข แต่ก็ ระวังในเรื่องของการทานอาหารกันด้วยนะ
เนื่องจากช่วงนี้หลายคนคงจะต้องทำงานอยู่บ้าน อาจไม่ได้ขยับร่างกายมาก แต่ว่าทานเยอะแทน สุขภาพอาจจะอ่อนแอลงได้ และ ได้น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมาเป็นของแถม (แบบเช่นพวกเรา) อิอิ 🙂
แหล่งอ้างอิง
https://www.nationalgeographic.com/.../inve.../facts/oysters
https://foodworthwritingfor.com/.../the-history-of.../
https://www.homestratosphere.com/types-of-oysters/
https://www.ginnginn.com/
oyster
หอย
อาหาร
5 บันทึก
3
4
5
3
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย