29 ก.ย. 2021 เวลา 01:00 • สุขภาพ
มีผลการวิจัยของ Charles Gerba นักจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัย Arizona ในสหรัฐอเมริกา พบว่า 📱🦠มีเชื้อโรคมากกว่า 17,000 ชนิดที่พบในโทรศัพท์มือถือ และจากการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ จิม ฟรานซิส ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขอนามัยแห่งสหราชอาณาจักร พบว่า 👇
‘มีเชื้อแบคทีเรียที่ยังมีชีวิต และเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อันตรายต่อมนุษย์ โดยเฉพาะในคนที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอ อยู่บน โทรศัพท์มือถือ’ ที่พวกเราหยิบจับกันทั้งวัน 😨🦠 โดยอาจลืมไปว่า เราหยิบมือถือในทุกๆ กิจกรรมของเรา ทั้งเข้าห้องน้ำ กินอาหาร วางบนโต๊ะ/ในที่สาธารณะ รวมถึงนำขึ้นเตียงนอนด้วย
จริงอยู่ที่ว่า การสัมผัสเชื้อโรคบนมือถือ อาจไม่ได้ส่งผลให้ร่างกายเราป่วยในทันที แต่ความสกปรกของเชื้อแบคทีเรียที่สะสมไว้จำนวนมากเป็นเวลานาน จะสะสมอยู่ในร่างกายของเราจนทำให้ป่วยได้ในที่สุด
🔎เชื้อแบคทีเรียที่พบ เป็นกลุ่มที่พบในลำไส้ของคนและสัตว์ เช่น Enterobacteriaceae, Salmonella sp. ดร. ไซมอน พาร์ก แห่งมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ ประเทศอังกฤษ 🧫ได้ทำการทดลองเพาะเชื้อจากโทรศัพท์มือถือ พบเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด รวมถึง Staphyloccus aureus เชื้ออันตรายที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรงแก่ชีวิต (โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ) 😱
📌3 เชื้อโรคอันตรายที่พบบนมือถือ
1. Escherichia coli ส่งผลให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษ และท้องร่วง ปกติจะพบเชื้อโรคนี้อยู่ในลำไส้ของมนุษย์ และสัตว์โดยไม่ก่อให้เกิดภาวะอื่นๆ แต่หากมีการสะสมปนเปื้อนบนมือในปริมาณที่เยอะ และสะสมไว้ 🤢 ก็จะส่งผลให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรงได้ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจนถึงปอดอักเสบได้
2. Staphylococcus aureus แม้ว่าจะพบเชื้อนี้ไม่มากนักบนมือถือ แต่เป็นเชื้อที่รุนแรง และอันตรายต่อภาวะอื่นๆ เช่น โรคติดเชื้อทางผิวหนัง เช่น สิว เป็นต้น นอกจากนี้ยังก่อให้เกิด อาหารเป็นพิษ เป็นฝี 🤦‍♀️ และยังมีสารพิษที่เกิดจากเชื้อตัวนี้คือ Enterotoxin ส่งผลให้เกิดอาการท้องร่วงได้
3. Coliform พบได้ในดิน อาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ รวมถึงขยะ และของเสียทั้งหลาย 😰 มีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการ เป็นไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว
✅ควรเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ที่มีส่วนผสมของ ไอโซโพรพานอล และ เอทิลแอลกอฮอล์ ที่มีความเข้มเข้น 70% 🙅ไม่ควรใช้ ‘รับบิ้งแอลกอฮอล์’ (Rubbing Alcohol) หรือ ‘แอลกอฮอล์ล้างแผล’ เช็ดโดยตรง เพราะจะให้ทำคุณสมบัติป้องกันน้ำของหน้าจอเสื่อมได้ หรือใช้แสง UV ในการฆ่าเชื้อโรคจากมือถือ
ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานสูง อาจไม่ได้รับความเสี่ยงจากเชื้อโรคเหล่านี้เท่าไหร่นัก 🙅‍♀️ แต่ในผู้ที่มีภาวะร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ หรือแม้กระทั่งในเด็ก 👧 อาจได้รับผลกระทบจากเชื้อโรคเหล่านี้ไม่มากก็น้อย ดังนั้นแล้วเราควรทำความสะอาดมือถือของเรา ทั้งด้านหน้าจอ ด้านหลัง 👍 รวมไปถึงเคสโทรศัพท์มือถือที่ใส่อยู่ให้สะอาด และปลอดภัยอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค และแบคทีเรียที่อันตรายต่อชีวิตของเรา
โฆษณา